โครงงานนวัตกรรมวิศวกรรมอาหาร 3

Food Innovation Engineering Practice 3

มุ่งเน้นการนำแนวทางการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้และตัดสินได้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำแนวทางการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมการผลิตอาหาร ในอุตสาหกรรมจริงได้
 
          The phase of implementation which the student should be able to apply and verify the possible solutions in food industry
เพื่อให้ตอบสนองต่อผลการเรียนรู้ของหลักสูตรและปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยมีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองควบคู่ไปกับการเรียนในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนตลอดจนให้นักศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
นักศึกษาสามารถนำแนวทางการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ และตัดสินใจในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมการผลิตอาหารในอุตสาหกรรมจริงได้ โดยสอดคล้องกับทฤษฎีในเนื้อหาวิชา โครงงานนวัตกรรมวิศวกรรมอาหาร 3 (ENGFI115)
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการในทุกวันอังคาร 10.00-12.00 น.)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย ตรงต่อเวลา รู้จักหน้าที่และบทบาทของตน  มีความซื่อสัตย์ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเคารพต่อกฎระเบียบข้อปฏิบัติต่าง
1.2.1    ให้ความรู้โดยการสอดแทรกเนื้อหาในการปฏิบัติการต่างๆ
1.2.2    ให้ผู้เรียนทำปฏิบัติการเป็นกลุ่มๆละ 2-3 คน และมีการอภิปรายกลุ่มและนำเสนอผลงาน
1.2.3    การประพฤติตนที่เหมาะสมไม่เบียดเบียนผู้เรียนคนอื่นในขณะที่ทำปฏิบัติการ
1.2.4    การตรงเวลา การแต่งกาย การมีวินัยในห้องปฏิบัติการ การรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.1    พฤติกรรมในขณะทำปฏิบัติการและการส่งงานที่ตรงตามเวลาที่กำหนด
1.3.2    ประเมินผลจากงานของนักศึกษา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3    ประเมินผลการนำเสนองานที่มอบหมาย
1.3.4    การตรงต่อเวลาและการแต่งกายที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการ
การวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Analytical Trouble Shooting) การทดสอบความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้อง (Test by IS & IS NOT) ของปัญหา การวางแผนการแก้ไขปรับปรุง (Action Plan) การบริหารข้อเท็จจริงเพื่อการแก้ปัญหา โดยใช้เครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเพื่อให้ได้แนวทางแก้ไขที่ดีที่สุด และการแก้ไขปัญหาที่บรรลุเป้าหมายและปัญหานั้นไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก
หลักการวิเคราะห์ปัญหาที่ตรงประเด็น เพื่อการแก้ปัญหา
การ               หมายถึง งาน ธุระ หน้าที่  
วิเคราะห์         หมายถึง สังเกต ใคร่ครวญ ยืดออก แผ่ออก แยกกระจายออกเป็นส่วน 
ปัญหา            หมายถึง ข้อสงสัย ข้อขัดข้อง  
ตรง               หมายถึง เที่ยง ไม่เอียง ไม่คด ไม่โกง 
ประเด็น          หมายถึง ข้อความสำคัญของเรื่องที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา   
แก้ไข             หมายถึง ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม หรือดัดแปลงให้ดีขึ้นกว่าเดิม
                    ปัญหา คือ ความแตกต่างระหว่าง
สิ่งที่เป็นอยู่ กับ สิ่งที่ต้องการหรือมาตรฐานที่ได้วางเอาไว้ 
สิ่งที่เป็นอยู่ กับ ความต้องการของลูกค้าที่มีความหลากหลาย ซับซ้อนและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
สิ่งที่เป็นอยู่ กับ นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 
สิ่งที่เป็นอยู่ กับ ความจำเป็นและความต้องการที่มีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
 
2.2.1    มีการบรรยายแนะนำขั้นตอนที่สำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาตามโจทย์ ที่ผู้สอนมอบ ให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ซักถามก่อนเข้าร่วมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำปฏิบัติงานด้วยความเข้าใจและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด
2.2.2    หลังจากทำการวิเคราะห์ปัญหาและส่งงานแก่อาจารย์ผู้สอนแล้ว จะมีการนำเสนองานที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ที่ทำในวันนั้น เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจยิ่งขึ้นและสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเองได้จากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่
2.2.3    ลงพื้นที่ศึกษาโจทย์จากผู้ประกอบการธุรกิจการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
2.2.1    มีการบรรยายแนะนำขั้นตอนที่สำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาตามโจทย์ ที่ผู้สอนมอบ ให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ซักถามก่อนเข้าร่วมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำปฏิบัติงานด้วยความเข้าใจและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด
2.2.2    หลังจากทำการวิเคราะห์ปัญหาและส่งงานแก่อาจารย์ผู้สอนแล้ว จะมีการนำเสนองานที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ที่ทำในวันนั้น เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจยิ่งขึ้นและสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเองได้จากสื่อต่างๆ ที่มีอยู่
2.2.3    ลงพื้นที่ศึกษาโจทย์จากผู้ประกอบการธุรกิจการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
2.3.1    การประเมินจากการสอบถามนักศึกษา หลังเนื้อหาที่ผู้สอนได้ถ่ายทอดในคาบเรียนนั้นๆ เพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความเข้าใจในลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์งานนั้นๆ
2.3.2    รายงานในการนำเสนอผลงานของกลุ่ม
2.3.3    การนำเสนองาน และส่งงาน Mini Project (Prototype) ของการแก้ปัญหาจากโจทย์ที่นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ได้รับมอบหมาย
พัฒนาความสามารถในการนำความรู้มาคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพและสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.2.1    ทำการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นระเบียบ
3.2.2    การเขียนรายงาน นำเสนองานด้วยตนเองและงานกลุ่ม
3.2.3    เน้นให้ผู้เรียนคิดด้วยตนเองและรู้จักวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการวิเคราะห์ ปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหา จากโจทย์ที่ผู้สอนได้มอบหมายให้วิเคราะห์
3.2.5    ให้ทำงานกลุ่มช่วยกันแก้ไขโจทย์ปัญหาตามกรณีที่กำหนด
3.3.1    เน้นการทดสอบแบบการปฏิบัติ โดยมีโจทย์ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และเลือกใช้วิธีการ
3.3.2    วัดผลจากการนำเสนอผลการแก้ปัญหาโดยใช้ Prototype ชิ้นงานในการนำเสนอ และ รูปแบบรายงานต่างๆ
4.1.1    พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนด้วยกัน 
4.1.2    พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3    พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
4.2.1    การทำปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม การแบ่งงานกันภายในกลุ่ม
4.2.2    การใช้และรับผิดชอบอุปกรณ์ในการทำ Prototype ชิ้นงาน ร่วมกับผู้อื่น
4.2.3    ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลบางส่วน เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา
4.2.4    มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มในการวิเคราะห์ปัญหาตามโจทย์ที่ผู้สอน
มอบหมาย เพื่อให้ทำงานกับบุคคลที่หลากหลายมากขึ้น
4.3.1    พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมในระหว่างการทำงานกลุ่ม
4.3.2    ประเมินจากการนำเสนอผลการวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย
5.1.1    ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการแก้โจทย์ปัญหา
5.1.2    พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน โดยการทำรายงานนำเสนอ
5.1.3    ทักษะในการนำเสนอรายงาน โดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1    มีการวิเคราะห์และคำนวณที่ฝึกทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
5.2.2    นำข้อมูล/ผลการทดลองบางส่วนมาอภิปรายร่วมกันกับผู้เรียนและผู้สอน
5.2.3    มีการเลือกใช้รูปแบบสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการนำเสนอ
5.3.1    ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2    ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1.1    มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่หลักสูตรฯ กำหนด
6.1.2    มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ
6.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ เพื่อการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากโจทย์จริง ในองค์กร บริษัท หรือธุรกิจทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
6.2.1    ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ร่วมกับรายวิชาอื่นๆ ในหลักสูตร เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันในโจทย์ทางการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
6.2.2    ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ
6.2.3    สร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมของการวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวคิด เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.2.4    จัดหาผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีประการณ์ด้านการใช้เครื่องมือต่างๆ ในการปฏิบัติการ หรือวิเคราะห์ และแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอาหาร ร่วมเป็นอาจารย์เกื้อหนุน (Facilitator) ในรายวิชา
6.3.1    พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ในงานที่ได้รับมอบหมาย ใน
รูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
6.3.2    ประเมินจากรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน และ
          การจดบันทึก 6.3.3    ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย และวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3
1 ENGFI115 โครงงานนวัตกรรมวิศวกรรมอาหาร 3
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-17 10
2 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 5.ทักษะพิสัย งานที่ได้รับมอบหมาย การจัดทำโครงงานในรายวิชา ชิ้นงานต้นแบบ 1-17 70
3 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน 1-17 20
1. Frank M.White, Fluid Mechanics, McGraw-Hill International Editions, Sixth Edition, 2008. 2. Yunus A.Cengel and John M.Cimbala, Fluid Mechanics Funndamentals and Applications, McGraw-Hill International Editions, 1st Edition, 2006. 3. Y. A. Cengel and M. A. Boles , Thermodynamics : An Engineering Approach, McGrawHill, NY, 1997.
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1      การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2      แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3      ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1      การสังเกตพฤติกรรมจากการทำปฏิบัติงานของนักศึกษา
2.2      การสรุปผลการปฏิบัติงาน
2.3      การส่งงาน Prototype ชิ้นงาน และการนำเสนอผลงาน
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1      ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษา โดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.2      การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจสอบรายงานผลปฏิบัติการ เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1      ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2      ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย
5.3      ปรับปรุง หรือเพิ่มเติมอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในห้องเรียน
5.4      นำข้อคิดเห็นจากการประเมินโดยผู้เรียนมาประมวล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม
ผลจากการประมวลจะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป