ระบบสารสนเทศทางการเกษตร

Agricultural Information System

เพื่อให้นักศึกษา สามารถพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเกษตรที่สอดคล้องกับ การทำธุรกิจการเกษตรได้ โดย สามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อหาความจริง ด้วยเทคนิควิธี และเครื่องมืองต่างๆ เช่น Internet of Things สำหรับระบบธุรกิจการเกษตร และวิศวกรรม ผ่านระบบเครือข่ายท้องถิ่นและเครือข่ายระยะไกล
ระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศทางการเกษตร และระบบสารสนเทศธุรกิจทางการเกษตรและวิศวกรรมเกษตร การรวบรวมข้อมูล และเทคนิคการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนอด้วยหลักการสถิติพื้นฐาน การทำความเข้าใจระบบการทำงานของธุรกิจด้วยหลักการแผนภาพกระแสข้อมูล (Data flow diagram) พื้นฐานการวิเคราะห์และทำนายโอกาสทางธุรกิจเกษตรด้วยการประมวลผลแบบจำลองด้วยวิธีการเหมืองข้อมูล การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบการสื่อสารท้องถิ่นและเครือข่ายทางไกล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แนวคิดของระบบการสื่อสารระยะใกล้ด้วยอุปกรณ์และแนวคิดของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ทสรรพสิ่ง (IOT)
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของระบบสารสนเทศ การสร้างการวิเคราะห์และการออกแบบ เทคนิคการรวบรวมข้อมูล เพื่อหาความจริงของระบบ แผนภาพกระแสข้อมูล การประมวลผลแบบจำลองสำหรับระบบธุรกิจทางการเกษตรและวิศวกรรมเกษตร เครือข่ายสารสนเทศระบบเครือข่ายท้องถินและเครือข่ายทางไกล การจัดการและการควบคุมการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์เครือข่าย อินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ต
ปรึกษาทาง online ด้วยกลุ่ม Line
1) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการ เข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความ รับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้น ากลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความ ซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน จัดกิจกรรมส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามก าหนด ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
2) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
 
1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติใน เนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2) สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้ เครื่องมือที่เหมาะสม
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทาง ปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
1) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2) ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ
3) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1) มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ใน การพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
2) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอด ชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและ งานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึง สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงาน กับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความ คาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
1) สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4) มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
5) ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1) ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
2) ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึก พฤติกรรม เป็นรายบุคคล
3) ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
1) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
2) สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพใน สาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได
1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยี สารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
2) ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี สารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์
2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือ ต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
3) สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
1) มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
2) มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือ กันเป็นอย่างดี
1) สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
2) สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
3) สนับสนุนการทำโครงงาน
1) มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
2) มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
3) มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG204 ระบบสารสนเทศทางการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 นักศึกษาทราบถึงความสามารถของตนเอง ณ ปัจจุบัน Dialogue 1
2 นักศึกษาสามารถ ค้นหาความรู้ ด้านระบบสารสนเทศทางการเกษตรได้ Short Paper Test 6 20
3 นักศึกษา สามารถใช้ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการเกษตร ที่สอดคล้องกับ การทำการเกษตรที่ต้องการได้ Presentation 8 30
4 นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดบกพร่อง ของระบบที่ตนเองพัฒนาได้ จากการทดสอบ Think Pair Share 11 10
5 นักศึกษาสามารถแก้ไข พัฒนา ข้อบกพร่อง ของระบบที่พัฒนาขึ้นได้ One by one Presentation 14 20
6 นักศึกษาสามารถสรุป ภาพรวมของการออกแบบและพัฒนา ระบบสารสนเทศเพื่อการเกษตรได้อย่างเหมาะสม Team Presentation 15 20
1) ประเมินผลจากการบันทึกกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา 2) ประเมินผลจากการนำเสนอของนักศึกษา 3) ประเมินผลจากการทำงานร่วมกันของนักศึกษา
1) ประเมินผลจากพฤติกรรมตอบโต้กลับของนักศึกษา 2) ประเมินด้วยกิจกรรมสะท้อนความคิดเห็น
ประเมินจากการสอบถามปัญหา และผลงานของนักศึกษา