การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

E-Marketing

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ และเข้าใจ ของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เครื่องมือที่ใช้ในการทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน และในชีวิตประจำวันได้
3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ถึงกระบวนการบริหารจัดการ การวางแผนการทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ ทั้งด้านการวางแผนงาน กลยุทธ์การตลาด การวิเคราะห์ตลาดผู้บริโภค และการตลาดของธุรกิจทั้งภายในและต่างประเทศ
ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของการตลาดในยุคดิจิทัล โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ความรู้ มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ สามารถตอบคำถามเบื้องต้น หรืออธิบายประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรายวิชาการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ โดยอ้างอิงจากคำอธิบายรายวิชาเป็นสำคัญ
ศึกษาความสำคัญและพัฒนาการของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้งานทางการตลาดโดยเน้นที่อินเทอร์เน็ตเป็นสำคัญ ชนิดของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนและกลยุทธ์ทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งตลาดผู้บริโภค และตลาดธุรกิจทั้งภายในประเทศและการตลาดต่างประเทศ
ให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่มและรายบุคคลตามช่องทางที่ผู้สอนกำหนด
- ช่องทางที่ 1 ให้คำปรึกษาผ่านทางไลน์
- ช่องทางที่ 2 ให้คำปรึกษา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ ณ ห้องพักอาจารย์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา พิษณุโลก  
1.1.1 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
1.1.2 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมได้
1.1.4 มีจรรยาบรรณในวิชาชีพทางธุรกิจ
1.2.1 ปลูกฝังการเคารพกฎระเบียบโดยอิงมหาวิทยาลัยเป็นเกณฑ์ รวมถึงมารยาททางสังคมที่พึงปฏิบัติ โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมระหว่างการสอน
1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้อง ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.3 การเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น
1.2.4 สร้างความเข้าใจ และปลูกฝังความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ โดยต้องไม่ทำการทุจริตในการสอบ การคัดลอกงานมอบหมาย หรือผลงานต่าง ๆ ของผู้อื่น
1.3.1 การเข้าชั้นเรียน โดยประเมินผลจากการเช็ครายชื่อเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การแต่งกาย และความรับผิดชอบส่วนบุคคล ประเมินผลโดยการสังเกต และใช้ดุลยพินิจของผู้สอน
1.3.2 พฤติกรรมในการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การส่งงานเป็นประจำสม่ำเสมอ ครบถ้วน ตามหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ
1.3.3 ปริมาณการทุจริตในการสอบ
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มีทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบาย ความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 ประยุกต์ใช้ความรู้ตามสาระการเรียนรู้ในคำอธิบายรายวิชาได้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเหมาะสม
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ เข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
2.2.1 บรรยายแนวคิดและทฤษฎี ประกอบการยกตัวอย่าง และการทำกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน และเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี
2.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละหน่วยเรียน ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ทั้งในลักษณะเดี่ยว หรือกลุ่ม
2.2.3 อธิบายการประยุกต์ใช้ทฤษฎีที่ศึกษา โดยให้สามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ได้
2.3.1 การสอบกลางภาค และปลายภาค
2.3.2 ผลของงานที่ได้รับมอบหมาย
2.3.3 การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน เช่น การตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น ฯลฯ
2.3.4 การนำเสนอรายงาน และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
3.1.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
3.1.2 มีกระบวนการความคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสร้างสรรค์ด้วยการใช้เหตุและผล
3.2.1 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ และสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา
3.2.2 ยกตัวอย่างประกอบการใช้ทฤษฎี โดยสอดแทรกสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว โดยอิงจากข่าวและสถานการณ์จริงในปัจจุบัน
3.2.3 จัดกิจกรรมในชั้นเรียนให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนทัศนคติร่วมกัน
3.3.1 ความถูกต้องของงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3.2 การตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น ทัศนคติ จากงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3.3 สังเกตความตั้งใจรายบุคคลในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
4.1.1 มีความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไข ปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมใน ประเด็นที่เหมาะสม
4.1.3 สามารถประสานงานที่ได้รับมอบหมายตามบทบาทหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วง ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
4.2.1 จัดกิจกรรมในรายวิชา โดยให้นักศึกษาเรียนรู้แบบร่วมมือกันปฏิบัติ ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม ซึ่งต้องใช้กระบวนการวิเคราะห์ ค้นหา ตัดสินใจ และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
4.3.1 ความรับผิดชอบในการทำงานมอบหมายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
4.3.2 ความถูกต้องของเนื้อหา และการส่งงามตามระยะเวลาที่กำหนด
4.3.3 พฤติกรรมการแสดงออกจากการนำเสนองาน การตอบคำถาม และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
5.1.1 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิค วิธีการ เครื่องมือสื่อสาร และเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์
5.1.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
5.2.2 การนำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
5.2.3 ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลเสมอ
5.3.1 ตรวจสอบการนำเสนอเนื้อหาจากงานมอบหมาย การใช้ภาษาเขียนเพื่อสื่อความหมาย
5.3.2 เทคนิคการนำเสนองาน เช่น ลูกเล่นการนำเสนอ การใช้สื่อประกอบทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.3 ประเมินจากความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และการตอบคำถาม
6.1.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
6.1.2 สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมการทำงาน ได้เป็นอย่างดี
6.2.1 เรียนรู้เนื้อหา หลักการ และศึกษากรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง จากสถานการณ์ปัจจุบัน
6.2.2 จัดกิจกรรมในชั้นเรียน ที่เกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการทางบริหารธุรกิจ หลักการตลาด เช่น ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
6.3.1 สังเกตการเตรียมความพร้อม พฤติกรรม และความตั้งใจในการร่วมทำกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นรายบุคคล
6.3.2 ประเมินผลจากการนำเสนองาน และงานที่ได้รับมอบหมาย
6.3.3 สังเกตการใช้เทคนิคเพื่อประยุกต์ใช้ความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจใน ในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นรายบุคคล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA622 การตลาดอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-3 - แบบทดสอบกลางภาค 9 25%
2 หน่วยที่ 4-7 - แบบทดสอบปลายภาค 17 30%
3 ทุกหน่วยการเรียนรู้ - รายงาน และการนำเสนองาน - ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย - การวิเคราะห์กรณีศึกษา - การมีส่วนร่วมในการอภิปรายผลในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 35%
4 ทุกหน่วยการเรียนรู้ - คุณธรรม จริยธรรม และการเคารพกฎระเบียบในชั้นเรียน - การแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน - การมีส่วนร่วม ความสนใจ และการตอบสนอง ในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2556). E-Commerce และ Online Marketing. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
- สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2562). การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- อิทธิวัฒน์ รัตนพองบู่. (2555). E-Marketing การตลาดอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ-บุ๊ค ดิสทริบิวชั่น จำกัด.
ไม่มี
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
- นักศึกษาประเมินประสิทธิผลรายวิชา ทั้งด้านการสอน การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพื่อการปรับปรุงรายวิชา
- แบบประเมินความพึงพอใจในรายวิชา
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
- การประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการจากคณะ ทั้งการสังเกตการณ์สอน การสัมภาษณ์จากนักศึกษา และอื่น ๆ
- ระดับความพึงพอใจ ผลการเรียน และความสนใจของนักศึกษา
- ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลในรายวิชา
- การปรับปรุงเนื้อหา และพัฒนาสื่อการสอนให้เป็นปัจจุบัน
- มีการประชุมพูดคุย หรือสอบถามคำแนะนำจากผู้สอนท่านอื่น เพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไขเป็นรายกรณี
- มีคณะกรรมการประเมินข้อสอบ และประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยพิจารณาทั้ง การให้คะแนน การออกข้อสอบ และอื่น ๆ
- การทวนสอบผลคะแนน และประเมินผลสัมฤทธิ์ โดยนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และกรรมการ
- ทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คณะกรรมการประเมินของหลักสูตร
- ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะจากผลการประเมิน
- การทบทวนเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอน และเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาโดยปรับการเรียนการสอน หรือหัวข้อบางประเด็นตามผลการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะที่ได้รับ