ช่างกลโรงงาน

Machine Shop Technology

1. เพื่อให้มีความเข้าใจในหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
2. เพื่อให้มีทักษะและความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดที่จำเป็นกับเครื่องมือกล
3. เพื่อให้มีความเข้าใจในหลักการทํางานที่เกี่ยวกับเครื่องมือกลพื้นฐานในงานอุตสาหกรรมและเครื่องกล ซี เอ็น ซี
4. เพื่อให้มีความเข้าใจในการคำนวณหาค่าต่าง ๆ ที่จำเป็นในงานเครื่องมือกล
5. เพื่อให้มีทักษะและความสามารถในการตะไบ, เจาะ, เลื่อย, เจียระไนลับคมตัด, กลึง, กัด, ไสและการใช้เครื่องมือวัดละเอียด
6. มีกิจนิสัยที่ดีในการทำงาน ประณีต รอบคอบ ตรงต่อเวลา สะอาด ขนาดเที่ยงตรง ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม
จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะการเรียนการสอน กับนักศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างเหมาะสม
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับงานเครื่องมือกลการผลิต การกลึง การกัด การไส การเจียระไน การเลื่อย การเจาะ การทำเกลียวและการทำเฟืองชนิดต่างๆ เครื่องจักรกลอัตโนมัติเบื้องต้น คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบและการผลิตเบื้องต้น ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือกลการผลิต และการบำรุงรักษาปฏิบัติเกี่ยวกับงานลับเครื่องมือตัด งานกลึงปาดหน้า กลึงปอกผิว กลึงตกร่อง กลึงโดยใช้หัวจับแบบสี่จับ งานเจาะบนเครื่องกลึง งานกัดราบ กัดร่อง กัดมุม งานไสราบ ไสร่อง ไสมุม งานเจาะรู งานผายปากรูทรงกรวย งานผายปากรูทรงกระบอก
อาจารย์สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษา โดยสามารถปรึกษาอาจารย์ได้ผ่านช่องทางใดทางหนึ่งดังต่อไปนี้
1. อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษานักศึกษาแบบ Face to Face ให้นักศึกษาสามารถเข้ามาปรึกษาอาจารย์ในห้องพักอาจารย์ ในช่วงเวลาหลังเลิกเรียนในรายวิชาเพื่อให้คำปรึกษาสำหรับนักศึกษารายบุคคลที่มีปัญหา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
2. อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่าน Social Media โดยการตั้งกลุ่มสนทนา ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่มที่ประกอบด้วยอาจารย์และนักศึกษา และให้คำปรึกษาผ่านแอพลิเคชั่นต่างๆ เช่น Line, Facebook เป็นต้น โดยจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความ
ต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
3. อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่านทางโทรศัพท์ โดยสามารถโทรศัพท์เพื่อปรึกษาอาจารย์ประจำวิชาได้เป็นรายบุคคล
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัยมีความซื่อสัตย์และ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริตมีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.3 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.2.2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม
1.2.3 ผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
1.3.1 การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
1.3.2 พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
1.3.3 การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
มีความรู้ในเรื่องหลักการทำงานของเครื่องมือกลพื้นฐานสำหรับงานวิศวกรรม ความรู้ทางด้านการคำนวณหาค่าความเร็วตัด ความเร็วรอบ สำหรับงาน กลึง งานเจาะ งานกัด และงานไส และงานเชื่อม การอ่านค่าและการใช้เครื่องมือวัดละเอียด ตลอดจนวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องจักรเครื่องมือกล ที่มีใช้อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม ฝึกปฏิบัติงานพื้นฐานทางวิศวกรรม
2.2.1 การบรรยาย ถาม- ตอบ เกี่ยวหัวข้อการเรียนรู้
2.2.2 มอบหมายให้ทำรายงานเรื่อง เครื่องจักรกล พื้นฐาน ในโรงงานอุตสาหกรรม และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.3 การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหา ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 ประเมินจากแบบทดสอบย่อย สอบกลางภาคและ สอบปลายภาค
2.3.2 พิจารณาจากรายงานที่มอบหมาย
2.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล
พัฒนาความสามารถในการนำความรู้มาคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพ
3.2.1 ปลูกฝูงให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
3.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล ตามใบงานที่กำหนดให้
3.3.1 ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
3.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3.3.3 พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตาม
4.2.1 ปลูกฝูงให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล ตามใบงานที่กำหนดให้
4.3.1 ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room
5.1.6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1 สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง 6.2 สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 6.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
ปฏิบัติการในห้องทดลอง ปฏิบัติภาคสนาม/สถานประกอบการ สหกิจศึกษา/ฝึกงาน โครงงาน ส่วนการปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการ หรือการใช้เครื่องมือ การวิจัย เป็นทักษะทางปัญญา
1.งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง 2.สถานการณ์จำลอง 3.การสังเกต 4.การนำเสนองาน 5.แบบทดสอบวัดด้านการปฏิบัติ 6.การประเมินตนเอง 7.การประเมินโดยเพื่อน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ภาคทฤษฎี - ภาคทฤษฎี 1. ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 2. สอบกลางภาค 3. ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 4. สอบปลายภาค - ภาคปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 4 , 8 , 12 ,16 - ภาคทฤษฎี 1. ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 = 10% 2. สอบกลางภาค = 15% 3. ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 = 10% 4. สอบปลายภาค = 15% - ภาคปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา = 40% - จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา = 10%