ประวัติศาสตร์ศิลป์

History of Art

          1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของลักษณะทางภูมิศาสตร์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และงานหัตถกรรม ศิลปกรรมที่สำคัญ
          1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ลักษณะ รูปแบบ และวิวัฒนาการของศิลปะตามยุคสมัยงานศิลปะที่พบในประเทศไทยได้
          1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ 
       เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญา มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะทางภูมิศาสตร์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรมทางพุทธศาสนาตามยุคสมัย
      ลักษณะทางภูมิศาสตร์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และงานหัตถกรรม ศิลปกรรมที่สำคัญของโลก โดยเน้นภูมิภาคเอเชีย ลักษณะ รูปแบบ และวิวัฒนาการของศิลปะตามยุคสมัยงานศิลปะที่พบในประเทศไทย เน้นการสร้างงานเพื่อพุทธศาสนา
3.1  อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษา ผ่านทางป้ายประกาศของสาขาวิชาฯ
3.2  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
3.3 อาจารย์ประจำรายวิชาสามารถตั้งกลุ่มไลน์ เพื่อให้คำปรึกษาได้ทุกช่วงเวลา
 
1.1.1 มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.1.2  มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
1.1.3  มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการ พัฒนา มีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
1.1.4  มีวินัยในการทำงาน และปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.1  เน้นย้ำการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียน และความร่วมมือปฏิบัติกิจกรรมตามสถานการณ์ เกม บทบาทสมมุติ และการปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะสมและสันติ
1.2.2  อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน
1.2.3  สอดแทรกกรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
1.3.1 พิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา
1.3.2 พิจารณาจากการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผล และยกตัวอย่างที่น่าสนใจ และสร้างสรรค์
1.3.3 ประเมินผลการจากกรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 เช็คชื่อการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียน และความร่วมมือต่าง ๆ
2.2.1 มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของลักษณะทางภูมิศาสตร์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และงานหัตถกรรม ศิลปกรรมที่สำคัญ
2.2.2 สามารถวิเคราะห์ลักษณะ รูปแบบ และวิวัฒนาการของศิลปะตามยุคสมัยงานศิลปะที่พบในประเทศไทยได้
2.2.3 มีความรู้ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.2.1  บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง
2.2.2  อภิปรายหลังการทำกิจกรรม หรือสถานการณ์จำลอง
2.2.3  การทำงานกลุ่มและนำเสนอรายงานจากการค้นคว้า
2.2.4  การฝึกปฏิบัติจริง
2.2.5  การศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นหลักในการเรียนรู้  (Problem – based Learning)
2.3.1  ทดสอบกลางภาคและปลายภาค
2.3.2  ประเมินผลจากการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
3.3.1 มีความสามารถประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์กยุคสมัยของลักษณะทางภูมิศาสตร์ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และงานหัตถกรรม ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก
3.3.2 มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
3.3.3 มีความสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ (การท่องเที่ยวและการบริการ)
3.2.1 ร่วมกิจกรรม สถานการณ์จำลอง บทบาทสมมุติแล้วอภิปรายกลุ่ม  พร้อมกับรายงานทั้งด้านวาจาและการเขียน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.3.1  ปฏิภาณไหวพริบในการตอบข้อซักถามอาจารย์เมื่อมีสถานการณ์จำลองซึ่งเป็นข้อชี้วัดหนึ่งในการให้คะแนนปฏิบัติได้
3.3.2  พิจารณาจากการทำงานรวมกลุ่ม การประสานงานและรักษาอำนาจหน้าที่ในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี
4.1.1  มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม
4.1.2  มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องและตรงตามมาตรฐานสากล
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มหรือสถานการณ์จำลอง แล้ววิเคราะห์หาสาเหตุ
4.3.1  นักศึกษาประเมินผลตนเองและเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด  เกี่ยวกับการช่วยเหลือและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในงาน
4.3.2  ประเมินผลจากการทำงานเสร็จตรงเวลามีความรับผิดชอบทั้งต่ออาจารย์ และเพื่อนในกลุ่มได้
5.1.1 มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.5.2 มีความสามารถในการสื่อสารและเลือกใช้คำศัพท์ในเรื่องของประวัติศาสตร์ศิลป์กับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม
5.5.3 มีความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.5.4 มีความสามารถในการใช้ตัวเลขทางคณิตศาสตร์และสถิติในการทำงานได้
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  ทางเว็บไซต์  แล้ววิเคราะห์พร้อมกับนำเสนอ ทั้งแบบบรรยาย  และตารางตัวเลข  พร้อมกับบอกแหล่งอ้างอิง
5.2.2 นำเสนอผลการศึกษาข้อมูล พร้อมการวิเคราะห์ในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  ประเมินจากรายงานการเขียน และการนำเสนอผลงานในรูปของเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.2, 2.2, 3.1, 5.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 / 17 25% / 25%
2 1.1-1.2, 2.2, 3.1, 4.1, 5.3, 6.1 วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1-1.2, 3.1, 4.1, 6.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
สันติ เล็กสุขุม. 2542. ประวัติศาสตร์ศิลปะ. เอกสารการสอน ภาควิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภัทรดิศ ดิสกุล. 2535. ศิลปะประเทศใกล้เคียง (อินเดีย,ลังกา,ชวา,ขอม,พม่า). เอกสารการสอน ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. 2541. ศิลปะขอม,จาม. เอกสารการสอนภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
         การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 ในวันแรกของการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนอธิบายให้นิสิตเข้าใจถึงการปรับปรุงรายวิชานี้จากการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ผ่านมา และประโยชน์จากข้อคิดเห็นของนิสิตต่อการพัฒนารายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนารายวิชาในช่วงปลายของภาคการศึกษา
1.2 ให้นิสิตประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล-คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านไลน์กลุ่มที่อาจารย์ผู้สอนใช้เป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การออกแบบการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการแก้ผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิภาพผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 นำข้อคิดเห็นของนิสิตมาประมวล เพื่อจัดกลุ่มเนื้อหาความรู้ที่ต้องปรับปรุง วิธีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และรูปแบบของการศึกษาการปฏิบัติงานนอกสถานที่ ผลจากการประมวลจะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป
5.2 นำผลการประเมินการสอนของตนเอง มาจัดกลุ่มเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนิสิต เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสอบ
5.3 การใช้สื่อและเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้