การสัมมนาทางการท่องเที่ยวและการบริการ

Seminar on Tourism and Hospitality

เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ เข้าใจหลักการและวิธีการศึกษาค้นคว้าและดำเนินการสัมมนา สามารถดำเนินการสัมมนาตามหลักการและวิธีการที่ถูกต้องอย่างเต็มรูปแบบ โดยการเรียนรู้และนำแนวคิด หลักการ ทฤษฎีต่างๆ มาบูรณาการเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการโรงแรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดสัมมนาตามหลักการและวิธีการที่เป็นสากล
ศึกษาวิธีการ และกระบวนการจัดสัมมนาเต็มรูปแบบ ศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โรงแรมและงานบริการทั้งภาครัฐ  และเอกชน โดยการเรียนรู้และนำแนวคิด หลักการ ทฤษฎีต่าง ๆ มาบูรณาการเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข โดยให้มีการจัดสัมมนา   อย่างน้อยหนึ่งครั้ง
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านทางป้ายประกาศของสาขาวิชาฯ  -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
การพัฒนามาตรฐานผลการเรียนรู้   ด้านคุณธรรมจริยธรรม   1. มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาด้านจริยธรรมความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ       2. มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ     3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนา เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่นและมีภาวะผู้นำ   
 4. มีวินัย มีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม  
 
1. กำหนดให้มีวิชาจรรยาบรรณโดยเฉพาะและทำรายงาน  2. สอนคุณธรรม จริยธรรม สอดแทรกในบทเรียนวิชาเฉพาะ
3. สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน     
4. สอนโดยการอ้างอิงประมวลกฎหมาย (Ethic Code) ที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณ     
5. การบรรยายพิเศษโดยผู้มีประสบการณ์หรือพระในศาสนาต่างๆ   
6. การแสดงออกอันเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สอน  
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2   ประเมินจากพฤติกรรมที่มีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น การตั้งคำถาม การตอบคำถาม การเสนอแนะความความคิดเห็นเป็นต้น 1.3.3ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1. มีความรู้เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการอนุรักษ์ แนวทางและวิธีการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ 2.มีความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่สำคัญในประเทศไทย มรดกโลก และมรดกโลกในประเทศไทย 3.มีความรู้ความรู้ด้านการบูรณะโบราณสถานในประเทศไทย กฎหมายเกี่ยวกับโบราณสถาน และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทั้งในและต่างประเทศ
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น และมีการศึกษาดูงานนอกสถานที่
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลหรือกรณีศึกษา 2.3.3  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 2.3.4   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 2.3.5   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 2.3.6   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่ทราบในชั้นเรียนหรืองานที่มอบหมายให้ค้นหาคำตอบเพื่อได้ให้แนวทางในการแก้ปัญหานั้นๆ 
ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน  การสอบย่อย (Quiz)  การสอบกลางภาคและปลายภาค  และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอน และผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา 4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล 4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3   ประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
5.1.1   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.2   พัฒนาทักษะในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์และการประมวลผล 5.1.3   พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.4   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1,3.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 3 8 12 16 5% 25% 15% 25%
2 1.3.3,3.3, 4.3.2,5.2.1, 5.2.2,5.3.1 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.3.1,1.3.2, 2.3.2,4.3.3, 5.3.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เกษกานดา  สุภาพจน์ .การจัดสัมมนา. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ: กรุงเทพฯ : 2546     ไพพรรณ   เกียรติโชติชัย.หลักการสัมมนา. บริษัทการศึกษาจำกัด : กรุงเทพฯ  : 2546       นิรันดร์ จุลทรัพย์ . จิตวิทยา การประชุม อบรม สัมมนา. ภารกิจเอกสารและตำรา       มหาวิทยาลัยทักษิณ:สงขลา: 2547
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ