สัมมนาการจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่

Seminar in Modern Retail Business Management

1.1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในกระบวนการจัดสัมมนา องค์ประกอบของการจัดสัมมนา ขั้นตอนการจัด
สัมมนา การประเมินผลการสัมมนา และการประยุกต์ใช้การคิด และทำงานร่วมกับผู้อื่น
1.2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้ภาษาเชิงวิชาการในการสื่อสารได้ทั้งการเขียนการพูด
1.3. เพื่อฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตามอย่างสร้างสรรค์ ทำงานเป็นทีมได้ดี มีความสามารถในการบริหาร
จัดการโครงการ
1.4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาและสถานการณ์ที่ไม่คาดว่าจะเกิดได้
1.5.เพื่อเพิ่มพูนความรู้และฝึกฝนทักษะต่างๆ และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดสัมมนา กระบวนการคิดวิเคราะห์และอภิปราย โดยอาศัยการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางด้านการตลาดเพื่อการหาคำตอบและการแก้ปัญหาจากประเด็นสำคัญทางการตลาดที่น่าสนใจ ในปัจจุบัน
ศึกษาบทบาทของผลิตภัณฑ์และราคาในการบริหารการตลาดธุรกิจค้าปลีกแนวความคิดต่างๆ ของผู้บริหารในการวางแผนและการจัดการผลิตภัณฑ์และราคา การกำหนดส่วนประสมผลิตภัณฑ์ การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และราคาให้สอดคล้องกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในภายนอกที่มีต่อผลกระทบต่อการจัดการการผลิตภัณฑ์และราคา การเลือกใช้กลยุทธ์ราคาที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาส่วนแบ่งการตลาด จริยธรรมในการกำหนดนโยบายผลิตภัณฑ์และราคา
1-2 ชั่วโมง/สัปดาห์ สอนเสริมเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
ความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งหันทางธุรกิจ
การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
ภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
นำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม ความรู้ ปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา คุณธรรม มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งหันทางธุรกิจ มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
1 BBABA311 สัมมนาการจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน 1-15 10
2 ความรู้ ทดสอบย่อย สอบกลางภาค งานที่มอบหมาย 4-5 9 1-15 40
3 ทักษะทางปัญญา วิเคราะห์กรณีศึกษา จัดสัมมนา 2-7 14-15 50
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม สังเกตจากงานที่มอบหมาย 2-16
กษกานดา  สุภาพจน์. การจัดสัมมนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2536
เฉลิม  วราวิทย์ และสมคิด แก้วสนธิ . การสอนแบบกลุ่มย่อย  กรุงเทพมหานคร, 2553.
พิบูล  ทีปะปาล. การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย. กรุงเทพมหานคร : อมรการพิมพ์, 2545.
     เสรี  วงษ์มณฑา. ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิสิทธิ์พัฒนา, 2540
สิทธิ ธีรสรณ์. การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุและ สุธน โรจน์อนุสรณ์ . e-Marketing เจาะเทคนิคการตลาดออนไลน์, 2551
กันต์ฐศิษย์ เลิศไพรงาม. การตลาดทางตรงแบบอิเล็กทรอนิกส์, ไอ เอ็ม บุ๊คส์ กรุงเทพฯ:2551
บุสรินทร์ คูนิอาจ. เอกสารประกอบการสอนวิชาการสัมมนาการตลาด . มทร.ศรีวิชัย สงขลา
หนังสือหรือวารสารทางด้านการตลาด การโฆษณา /ประเด็นสำคัญทางการตลาด
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ

การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของผู้ร่วมทีมการสอน
2.2 ผลการสอบ
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.2 พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน โดยการอบรมสัมมนา
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
4.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2 การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4 การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.2 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ