การจัดการบริหารผลิตภัณฑ์และราคา

Merchandising Management and Price

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ นโยบายผลิตภัณฑ์นโยบายราคา มีทักษะการเรียนรู้ทางด้านการวางแผนกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ กลยุทธ์การกำหนดราคา และ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจของนักศึกษาในการนำความรู้ที่ได้เรียนมาปรับใช้กับสถานการณ์ทางการตลาด
เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารผลิตภัณฑ์ การจัดการผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์ นักศึกษาสามารถวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่ ในการใช้กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน
ศึกษาบทบาทของผลิตภัณฑ์และราคาในการบริหารการตลาดธุรกิจค้าปลีกแนวความคิดต่างๆ ของผู้บริหารในการวางแผนและการจัดการผลิตภัณฑ์และราคา การกำหนดส่วนประสมผลิตภัณฑ์ การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และราคาให้สอดคล้องกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในภายนอกที่มีต่อผลกระทบต่อการจัดการการผลิตภัณฑ์และราคา การเลือกใช้กลยุทธ์ราคาที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาส่วนแบ่งการตลาด จริยธรรมในการกำหนดนโยบายผลิตภัณฑ์และราคา
       Study roles of products and prices in retail business marketing management. Managers are concepts in planning and setting product and price. Set product mix, development marketing strategy for product and price related to product life cycle. Studying internal and external environment that influence and to set product and price policy. Selection of effective pricing strategy for development of market share; and ethics in determining product and price policy.
1-2 ชั่วโมง/สัปดาห์ สอนเสริมเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
·      บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา   ข้อ 1
-2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย  ข้อ 3
1.  การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม    ข้อ 1
2. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย  ข้อ 3
§  บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
·      บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
 
1. จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ   ข้อ 1 
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน  ข้อ 1,2
 
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน  ข้อ 2
2. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน  ข้อ 1
บัณฑิตมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล
1.  จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหา
     อย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา ข้อ 3
2. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง ข้อ 2 
1.  ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน   ข้อ 3
2. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา  ข้อ 2
บัณฑิตมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี
1. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม  ข้อ 2
2. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ   ข้อ 1
 
1. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา ข้อ 2
2. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน  ข้อ 1
§  บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-On)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA305 การจัดการบริหารผลิตภัณฑ์และราคา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบกลางภาค 8 สอบปลายภาค 17 สอบกลางภาค 30% สอบปลายภาค 30%
2 วิเคราะห์กรณีศึกษา รายงาน และการนำเสนอ - งานที่มอบหมาย / รายงาน (กลุ่ม) - แบบฝึกหัด / กรณีศึกษา (เดี่ยว, กลุ่ม) - การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน (กลุ่ม) ในการนำเสนอ การทำกิจกรรมกลุ่ม (Team-based Learning) และผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 16 30%
3 การเข้าชั้นเรียน - การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วม / การเข้าร่วมกิจกรรม และแสดงความคิดเห็น การเข้าชั้นเรียน - การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วม / การเข้าร่วมกิจกรรม และแสดงความคิดเห็น 10%
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดย พีรยา สมศักดิ์
คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาการจัดการผลิตภัณฑ์และราคา, เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการผลิตภัณฑ์และราคา.  กรุงเทพฯ:  สุโขทัยธรรมาธิราช, 2552.
ธวัชชัย  มงคลสกุลฤทธิ์, คัมภีร์การตั้งราคาสินค้า Power Pricing.  กรุงเทพฯ: ไอ เอ็ม บุ๊คส์, 2550.
          แนเกิล, โทมัส ที, กลยุทธ์การตั้งราคา.  กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
ผศ. นภวรรณ  คณานุรักษ์, นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพฯ: ซี.วี.แอล.การพิมพ์, 2549.
วิทยา  จารุพงศ์โสภณ, กลยุทธ์ราคา.  กรุงเทพฯ: แปลน สารา, 2556.
ผศ.ดร. สุดาพร  กุณฑลบุตร, หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
รศ. ศิริวรรณ  เสรีรัตน์,  นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพฯ:  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อุดม  สายะพันธุ์, การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อโครงการการตลาด.  กรุงเทพฯ:  แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น, 2553.
อดุลย์  จาตุรงคกุล, การจัดการผลิตภัณฑ์และราคา.  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547. 
Kotler, Philip and Kelvin Keller.  Marketing  Management.  12th edition.  New Jersey : Pearson Education, 2006.
หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ ฯลฯ
วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการตลาด และ เว็บไซด์ทางธุรกิจ
เว็บไซด์ทางธุรกิจ  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ
1.2 การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ
การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ
2.2  การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
2.3  การสังเกตการณ์สอนตามกิจกรรมการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.2  พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน โดยการอบรมสัมมนา
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
4.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2  การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4  การประเมินข้อสอบ  การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2 นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
5.3 นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร