เขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล

Mechanical Engineering Drawing

1.1 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการเขียนแบบตามเครื่องจักรที่ผลิต
1.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการกำหนดสัญลักษณ์ตามมาตรฐาน
1.3 เพื่อให้นักศึกษาเขียนแบบสั่งงานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
1.4 เพื่อให้นักศึกษาเขียนแบบสั่งงาน แบบภาพประกอบ แบบแยกชิ้น
1.5 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจโปรแกรมที่ใช้เขียนแบบทางวิศวกรรม
1.6 เพื่อให้นักศึกษาเขียนแบบสั่งงานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
1.7 เพื่อให้นักศึกษามีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความละเอียด สุขุมรอบคอบ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะด้านการเขียนแบบรวมถึงกระบวนการผลิต การกำหนดขนาดมาตรฐานผิว ระบบงานสวมความคลาดเคลื่อนทางเลขาคณิตของงานเขียนแบบเพื่อสั่งงาน การเขียนแบบสั่งงานชิ้นส่วนเครื่องจักรกล อาทิ เช่น เกลียวสกรู ลิ้ม สไปลน์ หมุดย้ำ รอยเชื่อม เฟือง สปริง ท่อ ข้อต่อ และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการเขียนแบบสั่งงาน
ศึกษาเกี่ยวกับแบบและกระบวนการผลิต การกำหนดขนาดรูปลักษณ์มาตรฐานมิติของขนาดตำแหน่งและความสัมพันธ์ ความหยาบของผิวงาน ระบบงานสวมและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนทางเรขาคณิต เกลียวสกรู อุปกรณ์ยึดที่เป็นเกลียว ลิ้มและสไปลน์ หมุดย้ำและการเชื่อม เฟือง สปริง งานท่อ ข้อต่อ การเขียนแบบสั่งงาน แบบภาพประกอบ แบบแยกชิ้น การศึกษาโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนแบบวิศวกรรม การใช้คำสั่งเขียนแบบ 2 มิติ 3 มิติ การศึกษาระบบโคออดิเนต การสร้างภาพ สามมิติ การสร้างใยตาข่าย การสร้างภาพสามมิติทรงตัน คำสั่งตกแต่ง แก้ไข การสร้างฟังก์ชั่นช่วยในการเขียนแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับกราฟฟิกวิศวกรรม
 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) ในวันพุธ เวลา 15.00-17.00 น.
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรมทางเครื่องกล อย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่องานที่รับผิดชอบ
1.1.2 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายและสาธิตพร้อมยกตัวอย่างรวมทั้งมอบหมายงานเป็นรายบุคคล กรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบและสร้างแบบ ไม่ควรนำซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายมาใช้
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และตรงเวลา
1.3.2 งานที่มอบหมาย
1.1.1 การเขียนแบบชิ้นส่วนเครื่องกลตามเครื่องจักรที่ผลิต
1.1.2 การกำหนดสัญลักษณ์ มาตรฐานงานเขียนแบบ
1.1.3 เขียนแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลตามลักษณ์แบบสั่งงาน
1.1.4 เขียนแบบสั่งงาน แบบภาพประกอบ และแบบแยกชิ้น
1.1.5 การเขียนแบบด้วยโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนแบบทางวิศวกรรม
บรรยาย และสาธิตพร้อมยกตัวอย่าง ถามตอบ
2.3.1 งานที่มอบหมาย
2.3.2 สอบกลางภาค
2.3.3 สอบปลายภาค
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ แยกแบบ และการเขียนแบบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง
3.2.1 มอบหมายงาน
3.2.3 นำเสนอวิธีการทำงาน ขั้นตอนการออกแบบ
3.3.1 งานที่มอบหมาย
3.3.2 การแก้ปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 มอบหมายงานรายบุคคล
4.2.2 การนำเสนองาน
4.3.1 ประเมินจากการนำเสนอ
4.3.2 ประเมินจากงาน
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอ
5.1.2 ทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข
5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGME115 เขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1-2.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 15% 15%
2 3.1-3.3, 4.1-4.3 และ 5.1-5.3 งานที่มอบหมาย 1 งานที่มอบหมาย 2 7 16 30% 30%
3 1.1-1.3 และ 4.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. มาตรฐานงานเขียนแบบของ DIN และ JIS
2. สุดยอดโปรแกรมสร้างชิ้นงานด้านวิศวกรรมด้วย Solid  works : วรวีร์  ไพฑูรย์รัตนชัย
3. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เล่มที่ 1 มอก.210-2520 –เล่มที่ 9 มอก. 210-2529. เรียบเรียง
    สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักพิมพ์ 1 ปีที่พิมพ์ กระทรวงอุตสาหกรรม1 2520-29.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทาโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ขอบเขตของงานที่นักศึกษาทำ
2.3 ทวนการประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจาหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ