เขียนแบบเบื้องต้น

Introduction to Drafting

 มีความรู้และเข้าใจวิธีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เขียนแบบ  การใช้เส้นสัญลักษณ์ต่าง ๆ  ในการเขียนแบบ  การเขียนภาพฉาย ภาพสามมิติ และภาพตัด
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในวิชาเขียนแบบเบื้องต้น โดยมีการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในหลักสูตร มีการเพิ่มโจทย์และหัวข้อที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองทำและเห็นภาพงานที่สามารถต่อยอดในระดับชั้นปีต่อไปได้ และใช้ความรู้มาเป็นพื้นฐานในการเรียนรายวิชาต่างๆ จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการเขียนแบบ หลักการใช้เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบเบื้องต้น การใช้เส้นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการเขียนแบบ การกำหนดขนาดและมาตราส่วน การเขียนภาพฉาย ภาพสามมิติ และทัศนียภาพ ประยุกต์ใช้การเขียนแบบในงานออกแบบต่าง ๆ
Study and practice history and background of drafting; principles of using tools, materials, and equipment for basic drafting; using various lines and symbols in drafting; dimensioning and scaling; orthographic projection; pictorial view and perspective; applying to draft for various design works.
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 2. มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพในรายวิชาสอน ให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
1. รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 2. มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
สอนหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงาน บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง
1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2. ประเมินจากการปฏิบัติงาน
1. สามารถค้นคว้า รวบรวม และประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ 2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
1. บรรยาย และการให้นักศึกษาปฏิบัติโครงงานที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
2. เน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการเขียนแบบ
3. วัดผลจากการประเมินชิ้นงาน
4. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1. สอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการเขียนแบบ
2. วัดผลจากการประเมินชิ้นงาน
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1. มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 2. มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
1. บรรยาย-ถามตอบ
2. การมอบหมายงานในห้องเรียน
1. ประเมินจากการถาม-ตอบ
2. ประเมินจากงานที่มอบหมาย  
1. สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. บรรยาย-ถามตอบ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการสอน แจกเอกสารการสอน
2. มอบหมายงานภาคปฏิบัติ ทอดลองเขียนให้ดูเป็นตัวอย่าง
1. ประเมินจากผลการสอบภาคทฤษฏี
2. ประเมินจากผลงานภาคปฏิบัติงาน
3. ประเมินจากการอธิบาย และการนำเสนอ
1. สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ ในการสร้างสรรค์ผลงานตน
บรรยาย และมอบหมายงานบุคคลพร้อมฝึกปฏิบัติ
ประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ สามารถค้นคว้า รวบรวม และประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ ในการสร้างสรรค์ผลงานตน
1 BAACC407 เขียนแบบเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8, 17 30%
2 1-6 การปฏิบัติงานและผลงาน ตลอดภาคการศึกษา ปลายภาคการศึกษา 60%
3 1 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. กฤษฎา  อินทรสถิตย์. การเขียนแบบสถาปัตยกรรมภายใน. กรุงเทพฯ : เอ็ม เอ เอช พริ้นติ้ง, 2546.
2. ดอกธูป  พุทธมงคล, ชนิด  สุมังคะโยธิน, สมชาย  เกตพันธุ์ และวรินทร์  รอดโพธิ์ทอง. เขียนแบบเทคนิค 1,2. ม.ป.ท. :
               วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี, 2529.
3. ธวัช  ชัยวิศิษฐ์. เขียนแบบเครื่องกล. พิมพ์ครั้งที่ 2. ม.ป.ท. , 2539.
4. ประเวช  มณีกุต. เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จิตรวัฒน์, 2541.
5. อำนวย  อุดมศรี. เขียนแบบทั่วไป. กรุงเทพฯ : สยามสปอร์ต ซินดิเคท, 2537.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับการเขียนแบบ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1. บอกคะแนนที่นักศึกษาได้ รอบกลางภาคและปลายภาค ก่อนกรอกคะแนน เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สอบถามปัญหาของคะแนน 2. นักศึกษาประเมินตนเอง และประเมินอาจารย์
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน