วิศวกรรมเครื่องมือ

Tools Engineering

1. เข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานในงานวิศวกรรมเครื่องมือ
2. เข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์ในงานวิศวกรรมเครื่องมือ
3. เข้าใจเกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตทางวิศวกรรม
4. เข้าใจเกี่ยวกับทฤษฏีและหลักการออกแบบเครื่องมือในงานวิศวกรรม
การผลิต คือ เครื่องมือตัด อุปกรณ์นำเจาะและจับงาน แม่พิมพ์โลหะ
แม่พิมพ์พลาสติก และ งานเครื่องมือกลชั้นสูง
5. มีทักษะเกี่ยวกับงานเขียนแบบ งานเครื่องมือตัด
งานอุปกรณ์นำเจาะและจับงาน งานแม่พิมพ์โลหะ
งานแม่พิมพ์พลาสติก และงานเครื่องมือกลชั้นสูง
6. เห็นความสำคัญของวิชาวิศวกรรมเครื่องมือ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในงานวิศวกรรมเครื่องมือ หลักเศรษฐศาสตร์ในงานวิศวกรรมเครื่องมือ กรรมวิธีการผลิตทางวิศวกรรม ทฤษฏีและหลักการออกแบบเครื่องมือในงานวิศวกรรมการผลิต คือ เครื่องมือตัด อุปกรณ์นำเจาะและจับงาน แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์พลาสติก และ งานเครื่องมือกลชั้นสูง งานเขียนแบบ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ  ในกรรมวิธีการผลิต เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางกลที่ช่วยงานสำหรับการผลิต สำหรับการจัดวางตำแหน่ง ตลอดจนจับยึดตำแหน่งชิ้นงาน และการเคลื่อนที่ในแนวที่ต้องการ เพื่อช่วยงานการตัด การวัด การประกอบ กระบวนการเชื่อม หรือการควบคุมอุปกรณ์ เครื่องมือถูกออกแบบตามขนาดของชิ้นงานต่างๆ และมีพิกัดการเผื่อขนาด เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดพลาดของ ขนาดและระยะพิกัด การเผื่อหรือยอมให้ได้ของรูปร่างชิ้นงาน ระยะพิกัดการเผื่อของการประกอบเป็นรูปร่างชิ้นงาน การเลือกใช้และการคำนวณชิ้นส่วนเครื่องกลแบบต่างๆ เพื่อใช้สำหรับการส่งผ่านแรง เช่น ผลกระทบจากการใช้ลิ่ม ลูกเบี้ยว สกรู สลัก เป็นต้น ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์นำเจาะและจับชิ้นงาน
Study of the Mechanical devices to support for Production to desired position, includingfixed position and moving in desired pathway, to assist in cutting, measuring, assembling,welding processes or handling equipments. ; tools designed from work piece dimensionsand their tolerances to avoid errors of dimensions and shape tolerances; stacking tolerances; selections and calculations of various mechanical components to use for force transmissions e.g. wedge effect, cams, screws, toggles etc; complete samples such as jigs and fixture.
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ   -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต  1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม  1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กรสังคมและสิ่งแวดล้อม  1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ 
(1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม  (2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร  (3) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ  (4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  แก้ไข
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี  2.1.2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมแม่พิมพ์  2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  2.1.5 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ  แก้ไข
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ  (1) การทดสอบย่อย  (2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน  (3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ  (4) ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ  (5) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน  (6) ประเมินจากรายวิชาสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางวิศวกรรม 
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี  3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์  3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
(1) กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิชา  (2) การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน  (3) ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง 
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา เป็นต้น
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม  4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัว และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ  4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง  4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ  4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้  (1) สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี  (2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย  (3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี  (4) มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป  (5) ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  แก้ไข
(1) ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  (2) ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึก พฤติกรรมเป็นรายบุคคล  (3) ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา  (4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง  แก้ไข
 
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี  5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์  5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์  5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้  แก้ไข
(1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ  (2) ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล  แก้ไข
(1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์  (2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน  (3) สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ 
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้             (1) สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน             (2) สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ             (3) สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิศวกรรมแม่พิมพ์กับหน่วยงานภายในและภายนอก             (4) จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา             (5) สนับสนุนการทำโครงงาน             (6) สหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรมในสถานประกอบการ  แก้ไข
(1) มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน  (2) มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน  (3) มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ  (4) มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา  (5) มีการประเมินนักศึกษาในวิชาสหกิจศึกษา/ฝึกงานทางวิศวกรรมแม่พิมพ์  แก้ไข
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGIE201 วิศวกรรมเครื่องมือ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.2, 3.5 สอบปลายภาค และสอบปลายภาค 8, 17 60
2 1.2, 1.3, 4.2, 4.3 รายงานและงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30
3 1.2, 1.3, 4.2, 4.3 จิตพิสัย - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
เจริญ  นาคะสรรค์. กระบวนการแปรรูปพลาสติก. จังหวัดปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2542. ชาลี  ตระการกูล. การออกแบบแม่พิมพ์ฉีด 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สมาคมส่งเสริม-เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2538. ชาลี  ตระการกูล. การออกแบบแม่พิมพ์ฉีด 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สมาคมส่งเสริม-เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2537. ชาญ  ถนัดงาน. เอกสารประกอบการสอนเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2542 ชาญชัย  ทรัพยากร, ประสิทธิ์ สวัสดิสรรพ์และวิรุฬ  ประเสริฐวรนันท์. การออกแบบแม่พิมพ์. กรุงเพทมหานคร : โรงพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทยญี่ปุ่น), 2543 ดำรง  ไชยธีรานุวัฒศิริ. การขึ้นรูปโลหะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน). ดำรง ไชยธีรานุวัติศิริ. การออกแบบแม่พิมพ์พลาสติก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท    ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2539. ทศพล  สังข์ยุทธ์. ทฤษฏีเครื่องมือกล1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัทปากเพรียวการ-ช่าง จำกัด, 2537. ธวัช ชัยวิศิษฐ์ และชวกร ศุภรักษ์จินดา. เทคนิคการเขียนแบบเครื่องกล. จังหวัดเชียงใหม่ : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ, 2534. ธเนศ  เมฆลาย, ชานนท์  สุขตาอยู่ และสมพงษ์  ธีระคานนท์. พื้นฐานการออกแบบแม่พิมพ์-ปั๊มขึ้นรูปโลหะ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ. ธเนศ  เมฆลาย, สมพงษ์  ธีระคานนท์ และชานนท์  สุขตาอยู่. ทฤษฏีการดึงขึ้นรูปลึก. กรุง-เทพมหานคร : สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ, 2539 บรรเลง ศรนิล และประเสริฐ ก๋วยสมบูรณ์. ตารางงานโลหะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2524. _________________ . ชิ้นส่วนมาตรฐานแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ. สมุทรปราการ: บริษัท อินเตอร์-ทูลเทคโนโลยี จำกัด, 2546. บุญศักดิ์  ใจจงกิจ. ทฤษฏีเครื่องมือกล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท ซี.ยอล เวสเตอร์-มานน์ จำกัด 1994, 2518. พิชิต  เลี่ยมพิพัฒน์. พลาสติก. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ หจก. ป.สัมพันธ์-พาณิชย์, 2542. มานพ ตันตระบัณฑิตย์. เขียนแบบวิศวกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท ประชาชน จำกัด, 2539. วชิระ  มีทอง. การออกแบบจิ๊กและฟิกซ์เจอร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สมาคมส่งเสริม-เทคโนโลยี (ไทย – ญี่ปุ่น), 2536. วิฑูรย์   สิมะโชคดี. วิศวกรรมความปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ หจก.สำนัพิมพ์-ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, 2540 วันชัย   ริจิรวนิช และชอุ่ม   พลอยมีค่า. เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรง-พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 ศุภชัย  รมยานนท์. การออกแบบอุปกรณ์นำเจาะและจับงาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), 2539. ศุภชัย รมยานนท์และฉวีวรรณ รมยานนท์. ทฤษฏีเครื่องมือกล 4. กรุงเทพมหานคร : โรง-พิมพ์ บริษัทไทยวัฒนาพาณิช จำกัด, 2529. ศุภชัย รมยานนท์และฉวีวรรณ รมยานนท์. ทฤษฏีเครื่องมือกล 5. กรุงเทพมหานคร : โรง-พิมพ์ บริษัทไทยวัฒนาพาณิช จำกัด, 2531.
1. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ. เทคโนโลยีแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกและการออกแบบเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่อง- จักรกลและโลหะการ, 2534.
2. สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเรื่องประสิทธิผล-ของคาร์ไบด์ในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์. กรุงเทพมหานคร : สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย.
3. สุวิช มาเทศน์. เอกสารประกอบการสอนการทำแม่พิมพ์. จังหวัดเชียงใหม่ : สถาบัน-เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ, 2547.
4. อำนาจ แก้วสามัคคี. เทคนิคการซ่อมบำรุงออกแบบแก้ไขและการตัดเฉือนแม่พิมพ์. กรุงเพท-มหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทยญี่ปุ่น), 2545.
       3.1 www.google.com
       3.2 www. altavista.com
       3.3 www.youtube.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ