การฝึกงานทางวิชาชีพ

Job Internship

จุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งต่อไปนี้ -เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ทางด้านการบัญชีและอื่นๆที่ได้ศึกษามาในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง - เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานด้านการบัญชีและอื่นๆรวมทั้งการแก้ไขปัญหาในการทำงาน - เพื่อให้นักศึกษาฝึกการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร และมีวินัยในการปฏิบัติตนตามข้อบังคับการ ปฏิบัติงานในฐานะพนักงานของสถานประกอบการจริง - เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี
 
- เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงานพี่เลี้ยงและนักศึกษาเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริง และมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน -เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงานพี่เลี้ยงและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล กระบวนการการฝึกงานทางวิชาชีพอย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารายวิชา
 
คำอธิบายโดยทั่วไปของประสบการณ์ภาคสนามหรือคำอธิบายรายวิชา เน้นการปฏิบัติงานทางด้านวิชาชีพบัญชีในองค์กรต่างๆ เช่น นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจด้านวิชาชีพองค์กรระหว่างประเทศหรือหน่วยงานของรัฐนักศึกษาจะเข้าฝึกปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานนั้นโดยมีพนักงานที่ปรึกษาที่องค์กรมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของนักศึกษา มีการกำหนดลักษณะงานแผนการปฏิบัติงานให้นักศึกษาเพื่อการประเมินผลการศึกษา
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริย มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
1.1.3 สามารบริหารเวลา และปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.1.4 มีจิตใต้สำนึกและพฤติที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตรอย่างมีคุณธรรม
 
กระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ จัดทำแผนปฏิบัติงานโดยการกำหนดภาระงาน ขอบเขตของงาน ตารางเวลาปฏิบัติงานและการบันทึกเวลาปฏิบัติงาน จัดทำคู่มือการทำโครงงานวิชาชีพเพื่อให้นักศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ จัดปฐมนิเทศนักศึกษา เพื่อสร้างวามเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับการฝึกงานวิชาชีพ มีการประสานงานการควบคุมการจัดทำโครงงานทางวิชาชีพระหว่างผู้รับผิดชอบรายวิชา  จัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาการทำโครงงานทางวิชาชีพบัญชีประจำตัวนักศึกษา
1.3.1   ประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดย อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร 1.3.2   ประเมินตนเองโดยนักศึกษา ด้านทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านคุณธรรมจริยธรรม
 
ความรู้ที่จะได้รับ/หรือผลการเรียนรู้ มีความรู้และความเข้าใจหลักการ และวิธีการทางการบัญชี สามารถบูรณาการความรู้ด้านการบัญชีและด้านอื่นในการปฏิบัติงาน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติทางบัญชีจากงานที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษา
กระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลการเรียน ทำความเข้าใจกับสถานประกอบการถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริงและมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน ประสานงานกับสถานประกอบการในการมอบหมายงานและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการพัฒนาความรู้และทักษาวิชาชีพ
2.3.1 การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยง 2.3.2 การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความรู้
3.1.1 สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองโดยใช้ความรู้ทางด้านบัญชีและอื่นๆ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 3.1.2สามารถรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกงานทางวิชาชีพและจัดทำเป็นรายงาน
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงาน สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพซึ่งได้รับจากการฝึกงานทางวิชาชีพ 3.2.2ให้นักศึกษาจัดทำบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันโดยมีรายละเอียดดังนี้ งานที่ได้รับมอบหมายปัญหาที่เกิดจากการทำงานและแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหา
3.3.1 การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยง 3.3.2 การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความรู้
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.1.3 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน
 
4.2.1 จัดปฐมนิเทศนักศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับการฝึกงานวิชาชีพ(วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณลักษณะทีดีของนักวิชาชีพบัญชีและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 4.2.2 ทำความเข้าใจกับสถานประกอบการถึงจุดมุ่งหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริงและ มาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน 4.2.3 ประสานงานกับสถานประกอบการในการมอบหมายงานและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษา ให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการพัฒนาทักษะ มนุษย์สัมพันธ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.3.1 การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศและพี่เลี้ยง 4.3.2 การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความรู้
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปล ความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหรือข้อโต้แย้ง 5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน 5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงาน สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพซึ่งได้รับจากการฝึกงานทางวิชาชีพ 5.2.2 ให้มีการนำเสนอรายงานด้วยวาจาโดยมีการใช้เทคโนโลยีและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมต่างประเทศ
คุณภาพของรายงาน และการนำเสนอประเมินโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำหลักสูตร
ทักษะทางพฤติกรรมเกี่ยวกับความสามารถทางด้านการปฏิบัติ อาศัยการฝึกฝน ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญแต่ละบุคคลที่ต้องพัฒนา โดยนักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ตามคุณลักษณะของนักวิจัยที่พึงประสงค์โดยวัดจาก
6.1.1 คุณภาพของงาน ได้แก่ จุดเด่นของผลงาน ความเหมาะสมในการนำไปใช้ ความสามารถในการปฏิบัติงานทางวิชาชีพบัญชีได้อย่างถูกต้องเรียบร้อย
6.1.2 คุณภาพด้านปริมาณงาน ได้แก่ ผลสำเร็จของงานที่ได้ภายใต้เวลาที่กำหนด
6.1.3 ทักษะการปฏิบัติงาน และปรับปรุงงาน ได้แก่ การพัฒนาผลงานในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
6.2.1 แนะนำให้ผู้เรียนเห็นถึง คุณภาพของกระบวนการจัดทำบัญชีและสรุปรายงานที่ดี โดยมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลจากสถานประกอบการจริงที่เปิดเผยข้อมูล
6.2.2 ให้นำเสนอผลงานที่ได้จากการจัดทำโครงงานวิชาชีพ โดยผู้สอนเสนอแนะข้อดี ข้อเสียเพื่อให้กลับไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นตามเวลาที่กำหนด
6.2.3 ตรวจสอบผลงานตามกำหนดเวลาที่ระบุและดูความก้าวหน้าและพัฒนาการของผลงาน
6.3.1 ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่มอบหมายรวมถึงการสืบค้นข้อมูล ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล ในรูปแบบที่ถูกต้องเหมาะสม
6.3.2 ประเมินทักษะการนำเสนองานและการมีพัฒนาที่ดีขึ้นตามข้อเสนอแนะ
6.3.3 ประเมินการสอบข้อเขียนและสอบปากเปล่าเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีรานสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC137 การฝึกงานทางวิชาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หลักเกณฑ์การประเมิน การประเมินผลนักศึกษาให้ค่าระดับคะแนนเป็น พ.จ. หรือ S-พอใจ(Satisfactory) และ ม.จ. หรือ U-ไม่พอใจ(Unsatisfactory) การประเมินผลนักศึกษาให้ค่าระดับคะแนนเป็น พ.จ. หรือ S-พอใจ(Satisfactory) และ ม.จ. หรือ U-ไม่พอใจ(Unsatisfactory) 1-17 5%
2 กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา 1. ประเมินโดยที่ปรึกษาโครงงานโดยใช้เกณฑ์ให้เป็นไปตาม ข้อกำหนดของการฝึกงานทางวิชาชีพ 2. ประเมินโดยอาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกงานทางวิชาชีพและรายานผลการประเมินตามที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนากำหนด 3-17 5%
3 สรุปผลการประเมินจากที่ปรึกษาโครงงาน ต่อการประเมินนักศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งระหว่างฝึกงานและเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงานตามแบบฟอร์ม ประเมินผลนักศึกษาหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานตามแบการประเมินโดยพิจารณาจาก 1. ผลการประเมินตนเองของนักศึกษา 2. บันทึกผลการนิเทศของอาจารย์ที่ปรึกษา 3. รายงานโครงงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงาน 4. การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง อาจารย์ผู้รับผิดชอบการฝึกงานวิชาชีพ และหัวหน้าสาขาประชุมร่วมกันเพื่อทำความ เข้าใจในผลการประเมินหากเกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 8-17 20%
4 ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบประสบการณ์ภาคสนามต่อการประเมินนักศึกษา ประเมินผลนักศึกษาหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานตามแบการประเมิน โดยพิจารณาจาก 1. ผลการประเมินตนเองของนักศึกษา 2. บันทึกผลการนิเทศของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน 3. รายงานโครงงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงาน 4. การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงงานวิชาชีพ อาจารย์นิเทศและหัวหน้าสาขาประชุมร่วมกันเพื่อทำความ เข้าใจในผลการประเมินหากเกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 8-17 30%
5 5. การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงงานวิชาชีพ อาจารย์นิเทศและหัวหน้าสาขาประชุมร่วมกันเพื่อทำความ เข้าใจในผลการประเมินหากเกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 17 40%
ศึกษาจากเอกสาร ตำรา หนังสือเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี และศึกษาค้นคว้าจากสื่อออนไลน์
สรุปรูปแบบรายงานโครงการการปฏิบัติวิชาชีพบัญชี
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ทาง online 
การอธิบาย การนำเสนอโครงงานวิชาชีพได้อย่างเข้าใจและถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพบัญชีรวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นักศึกษาอธิบายและนำเสนอโครงงานวิชาชีพได้อย่างถุกต้องตามหลักและมาตรฐานการบัญชีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ปรับปรุงตามสถานการณ์และเหตุการณ์ปัจจุบันให้สอดคล้องตามประกาศของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สอบถามนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอบ
โดยทีมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรร่วมกันทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาโดย ทำการสอบถามจากนักศึกษาที่ลงเรียนในรายวิชาฝึกงานในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 และนำข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ มาดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในรายวิชาต่อไป