การพัฒนาทักษะชีวิตและสังคม

Life and Social Skills Development

1.1 เพื่อเสริมสร้างแนวคิด เจตคติที่ถูกต้องในการดำรงชีวิตของตนเอง การอยู่ร่วมกัน ในสังคม ตลอดจนการทำงานพร้อมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 เพื่อนำเอาหลักเกณฑ์ เทคนิควิธีไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต และการประกอบสัมมาชีพ 1.3 เพื่อพัฒนาพฤติกรรม และลักษณะนิสัยในการทำงานของนักศึกษาให้สามารถเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี 1.4 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพ ตลอดจนมีระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
 
2.1 เพื่อพัฒนาพฤติกรรม และลักษณะนิสัยในการทำงานของนักศึกษาให้สามารถเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี 2.2เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์
ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาและหลักธรรมในการดำรงชีวิตและการทำงานของบุคคล การสร้างแนวคิดและเจตคติ ธรรมะกับการสร้างคุณภาพชีวิต บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น การบริหารตนให้เข้ากับชีวิตและสังคม และการปรับตนเพื่อร่วมกิจกรรมทางสังคม ศึกษาเทคนิคการครองใจคน และการสร้างผลิตผลในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  กำหนดเวลาในการให้คำปรึกษา  -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล มีความซื่อสัตย์มีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้ 1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 3. มีความกล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อสังคม 4. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 5. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 6. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1. บรรยาย นำเหตุการณ์และ/หรือบุคคลในสังคมมาใช้เป็นกรณีศึกษา 2. อภิปรายกลุ่ม 3. จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 4. กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1. การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักใน   คุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลางานที่ส่งมีคุณภาพและไม่ คัดลอกงานของผู้อื่น  3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ความเข้าใจขอบเขตเนื้อหา และแนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาเบื้องต้น โครงสร้างทางสังคมและการจัดระเบียบทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม บทบาทและหน้าที่ของสถาบันสังคมต่างๆ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ประชากรและชุมชน และสภาพของสังคม ตลอดจนสามารถนำไปพัฒนาตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
 บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหาต่างๆ ในสังคม
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2. ร่วมกิจกรรมแสดงความคิดเห็น กิจกรรมกลุ่ม และอภิปรายในชั้นเรียน 3. มอบหมายงานตามเนื้อหาในแต่ละสัปดาห์ 4. ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถมองปรากฏการณ์ทางสังคมในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ได้อย่างมีเหตุผลและมีจิตสาธารณะต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
1. การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อจิตสาธารณะ ที่ให้วิเคราะห์สถานการณ์ของสังคมและแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 2. อภิปรายกลุ่ม 3. วิเคราะห์กรณีศึกษา
1. สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสังคม 2. วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน 3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
 
1. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป 3. มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
1. ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 3. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
1. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 2. พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 3. ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
 
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 2. นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
 
เน้นคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ที่นักศึกษาควรเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันในห้องเรียน เช่น การเคารพกฎเกณฑ์ กติตาของกลุ่ม การเข้าเรียนทุกครั้ง ความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา มีจิตสาธารณะ และมีจิตสำนึกร่วม
สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก เช่นการมีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็น ความสามัคคี
การสังเกตพฤติกรรม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ด้านความรู้ 3 ด้านทักษะทางปัญญา 4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 5 ด้านทักษะการวเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 1 1 2 1 2
1 GEBSO501 การพัฒนาทักษะชีวิตและสังคม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 Unit 1-2 Unit 3-5 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 17 20% และ30%
2 1-5 การเข้าชั้นเรียนและความประพฤติ ผลงานปฏิบัติงานกลุ่ม ผลงานภาคทฤษฎี (กลุ่ม-เดี่ยว) ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1-5 ตลอดภาคการศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาและการลงพื้นที่บำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน 10%
- วันดี สุธารัตนชัยพร, การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. - ผศ. วิภาพร มาพบสุข,การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม.รหัส1122001 กรุงเทพฯ 2550
- ทรงสิริ วิชิรานนท์ และคณะ, การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: 2548 - วิภาพร มาพบสุข, การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ดำเนินการดังนี้
นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1 สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน 2.2 สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน 2.3 ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจเนื้อหา 2.4 ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย 3.1   ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน 3.2   สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียนและปรับปรุงแบบกิจกรรมให้เหมาะสม 3.3   สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งเพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อๆ ไป
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ 5.3 ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน 5.4 ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม ให้มีความหลากหลาย และสนองต่อรูปแบบการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สังเกตเห็น