การภาษีอากร 2

Taxation 2

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของผู้ประกอบการประเภทบุคคลธรรมดา และความเกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษีที่เกี่ยวข้อง และการยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของผู้ประกอบการประเภทนิติบุคคล และความเกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษีที่เกี่ยวข้อง และการยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ และความเกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษีดังกล่าว และการยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อให้นักศึกษาสามารถ ค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอ เกี่ยวกับประเด็นภาษีของภาคธุรกิจจริง ติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีและผลกระทบต่อการบัญชีของธุรกิจ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษา ให้มีทักษะด้านการคำนวณภาษีสรรพากร การบันทึกรายงานบัญชีและการจัดทำเอกสารให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปและข้อกำหนดของกรมสรรพากร เพื่อพัฒนานักศึกษาเข้าใจและตระหนักถึงการใช้ความรู้เกี่ยวกับภาษีในการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ศึกษาแนวคิดและความแตกต่างระหว่างเกณฑ์การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีและการภาษีอากร การจัดทำกระดาษทำการเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร การปรับปรุงกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษีอากร การจัดทำรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพากรและการยื่นแบบแสดงรายงานภาษีสรรพากรเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีให้ครบถ้วนถูกต้อง รวมทั้งศึกษาภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษีระหว่างประเทศ การวางแผนภาษี และจริยธรรมของวิชาชีพ
7
1.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 1.1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม 1.1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม  
- บรรยาย โดยการใช้ MS Power Point หนังสือ บทความวิชาการ และตำราอื่นๆ
- พูดคุย โต้ตอบ
- สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
- ให้นักศึกษา Self-study 
- ให้นักศึกษาเขียนตอบและตอบปากเปล่า
- การพูดคุยโต้ตอบระหว่างนักศึกษาและผู้สอน 
- ประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมายงาน
- การสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 2.1.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 2.1.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
- บรรยาย โดยการใช้ MS Power Point หนังสือ บทความวิชาการ และตำราอื่นๆ
- พูดคุย โต้ตอบ
- ทำแบบฝึกหัดและกรณีศึกษาร่วมกัน
- ให้นักศึกษา Self-study 
- ให้นักศึกษาเขียนตอบและตอบปากเปล่า
- การพูดคุยโต้ตอบระหว่างนักศึกษาและผู้สอน 
- ประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมายงาน
- การสอบ
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะ              ทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 3.1.3  สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
- บรรยาย โดยการใช้ MS Power Point หนังสือ บทความวิชาการ และตำราอื่นๆ
- พูดคุย โต้ตอบ
- ให้นักศึกษา Self-study 
- ให้นักศึกษาเขียนตอบและตอบปากเปล่า
- การพูดคุยโต้ตอบระหว่างนักศึกษาและผู้สอน 
- ประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมายงาน
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
- บรรยาย โดยการใช้ MS Power Point หนังสือ บทความวิชาการ และตำราอื่นๆ
- มอบหมายให้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
- พูดคุย โต้ตอบ
- ให้นักศึกษา Self-study 
- ให้นักศึกษาเขียนตอบและตอบปากเปล่า
-การพูดคุยโต้ตอบระหว่างนักศึกษาและผู้สอน 
-ประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมายงาน
- การสอบ
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
 
  5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบ  การนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน 5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
- บรรยาย โดยการใช้ MS Power Point หนังสือ บทความวิชาการ และงานวิจัย
- พูดคุย โต้ตอบ
- ให้นักศึกษา Self-study 
- มอบหมายให้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
- ให้นักศึกษาเขียนตอบและตอบปากเปล่า
- การพูดคุยโต้ตอบระหว่างนักศึกษาและผู้สอน 
- ประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมายงาน
- วัดคะแนนการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษาะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านการวิเคราะห์ ตัวเลข การสื่อสาร และ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BACAC136 การภาษีอากร 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2,4,5 ทดสอบย่อย 1 ทดสอบย่อย 2 ทดสอบย่อย 3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 6 12 15 9 17 5% 7.5% 7.5% 30% 35%
2 2,3,4,5 การทำงานกลุ่มและรายงานผลงานกลุ่ม การส่งงานตามที่มอบหมาย 8,16 10%
3 1,2,3,4,5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย ความกล้าแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 5%
หนังสือ การบัญชีภาษีอากร ปรับปรุง   2560  โดย รองศาสตราจารย์ยุพดี  ศิริวรรณ
หนังสือ การบัญชีภาษีอากร อื่น ๆ
หนังสือภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร 2560
ประมวลรัษฎากร
พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
มาตรฐานการบัญชี และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
หนังสือ วิชาการบัญชีชั้นกลาง 1, 2  การบัญชีชั้นสูง 1
เว็บไซด์ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th
เว็บไซด์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th
เว็บไซด์ กรมสรรพากร www.rd.go.th
ให้นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ตามแบบประเมินของมหาวิทยาลัย
     2.1 พิจารณาจากผลคะแนนการสอบ
     2.2 พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้
     2.3 พิจารณาจากพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
     นำผลการประเมินประสิทธิผลการสอนรายวิชาโดยนักศึกษามาพิจารณาปรับปรุงการสอน
     สรุปผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากผลการสอบ การทำกรณีศึกษา ปรับปรุงการสอนโดยเน้นในเรื่องที่นักศึกษาขาดทักษะ
     การทวนข้อสอบและเกณฑ์ที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้
     นำผลการประเมินจากข้อ 1 ข้อ 3 และ ข้อ 4 มาพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา ในเรื่อง
อาจารย์ผู้สอน การจัดตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนและปรับปรุงเนื้อหา มาตรฐานข้อสอบ