สหกิจศึกษาในงานอุตสาหกรรมอาหาร

Co-operative Education in Food Industry

2.1 เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาการ วิชาชีพ และตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน 2.2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์วิชาการ และวิชาชีพ จากการไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการ 2.3 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถานประกอบการและสถาบันการศึกษาอันจะนาไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาทางวิชาการอย่างยั่งยืน 2.4 เพื่อให้มีการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และตอบสนองกับความต้องการของสถานประกอบการและตลาดแรงงาน
มีการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนการออกฝึกสหกิจศึกษา  
การฝึกปฏิบัติงานเชิงวิชาการหรือวิชาชีพเต็มเวลาเสมือนเป็นพนักงานชั่วคราว ณ สถานประกอบการ 1 ภาคการศึกษาสหกิจศึกษาตามที่หลักสูตรกำหนด เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานแล้วนักศึกษาจะต้องส่งรายงานการปฏิบัติงานและนำเสนอผลการไปปฏิบัติงาน โดยการประเมินผลจะวัดจากผลประเมินการปฏิบัติงานและรายงานการปฏิบัติงานโดยคณาจารย์นิเทศ และพนักงานที่ปรึกษา และผลการเข้าร่วมกิจกรรมการสัมภาษณ์และสัมมนาสหกิจศึกษาหลังกลับจากสถานประกอบการ
อย่างน้อยจำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สำหรับนักศึกษาที่ต้องการคำปรึกษาและคำแนะนำทางวิชาการ
นักศึกษาต้องมีคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่นและประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมอาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
3.1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
3.1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
3.1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
3.1.1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
3.1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพ
ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและด้านอื่นๆๆ 
ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา
3.2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอาหาร
    3.2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาของสาขาวิชาเฉพาะด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
        3.2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
        3.2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
        3.2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ 
ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและด้านอื่นๆๆ 
   3.2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอการฝึกสหกิจศึกษา
   3.2.3.6 ประเมินจากรายงานปฏิบัติสหกิจศึกษา และรายงานโครงงานสหกิจศึกษา
3.3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ
          3.3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
          3.3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมการผลิตและนวัตกรรมอาหารได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          3.3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
          3.3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและด้านอื่นๆๆ 
   3.2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอการฝึกสหกิจศึกษา
   3.2.3.6 ประเมินจากรายงานปฏิบัติสหกิจศึกษา และรายงานโครงงานสหกิจศึกษา
3.4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
        3.4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำและผู้ร่วมทีมทำงาน
        3.4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
        3.4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
        3.4.1.5 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและด้านอื่นๆๆ 
ประเมินจากแบบประเมินสหกิจศึกษา จากสถานประกอบการ 
3.5.1.1 สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
3.5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
 3.5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
3.5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
3.5.1.5 สามารถนำเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและด้านอื่นๆๆ 
3.2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอการฝึกสหกิจศึกษา
3.2.3.6 ประเมินจากรายงานปฏิบัติสหกิจศึกษา และรายงานโครงงานสหกิจศึกษา
3.6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ
3.6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3.6.1.3 มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง
ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและด้านอื่นๆๆ 
ประเมินจากสถานประกอบการ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4.1 4.2 4.4 4.3 4.5 5.3 5.4 5.5 5.1 5.2 6.1 6.2 6.3
1 ENGFI121 สหกิจศึกษาในงานอุตสาหกรรมอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม การเข้าฝึกสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ จากรายงานการปฏิบัติงาน และโครงงานสหกิจศึกษา 1-16 20
2 ความรู้ ประเมินจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติในสถานประกอบการ การจัดทำ รายงานโครงงานสหกิจศึกษาในส่วน เอกสารและทฤษฎี การรายงานผลและวิจารณ์ผล 1-16 20
3 ทักษะทางปัญญา การแก้ไขปัญหาในระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา การค้นคว้าหาหัวข้อโครงงานสหกิจศึกษาและรายงานผลในรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ รายงานผลการประเมินนักศึกษาจากสถานประกอบการ 1-16 20
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประเมินผลจากแบบฟอร์มการประเมินการฝึกสหกิจศึกษาจากสถานประกอบการ 1-16 15
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอผลงานนักศึกษาในระหว่างการนิเทศ การนำเสนอจบสหกิจศึกษา การจัดทำโปสเตอร์ และรายงานโครงงานสหกิจศึกษา 1-16 15
6 ทักษะพิสัย ประเมินจากการฝึกสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ (แบบประเมินการฝึกสหกิจศึกษา CO 14) และการสอบถามจากพี่เลี้ยงที่รับผิดชอบในระหว่างการนิเทศนักศึกษา สัปดาห์ที่ 8-10 ในการออกนิเทศ 10
คู่มือสหกิจศึกษา หลักสูตรการผลิตและนวัตกรรมอาหาร
 
 
  การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อทบทวนผลการเรียนรู้จากการฝึกสหกิจศึกษา 1.2 แบบประเมินอาจารย์นิเทศ อาจารย์ที่ปรึกษาในระหว่างการฝึกสหกิจศึกษา และแบบประเมินรายวิชาเป็นรายบุคคลโดยนักศึกษา
รายวิชานี้ไม่มีการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาฝึกสหกิจศึกษาเต็มเวลา 16 สัปดาห์ ณ สถานประกอบการ แต่มีการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินภาพรวมของการเป็นที่ปรึกษา อาจารย์นิเทศ ดังนี้  2.1   การสังเกตการให้คำปรึกษาของอาจารย์นิเทศนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา โดยประยุกต์ใช้แบบฟอร์มการนิเทศผู้สอนอย่างน้อย 2 ครั้งต่อรายวิชาในภาคการศึกษานั้นๆ  2.2   ผลการประเมินของนักศึกษาจากสถานประกอบการ และการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ ผ่านแบบฟอร์มประเมินในแต่ละสัปดาห์ที่นักศึกษาได้บันทึกในรายงานการปฏิบัติงาน
จากผลการประเมินกในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุง โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการให้คำปรึกษา การนิเทศ ดังนี้ 3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิเทศ ตลอดจนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 3.2   การวิจัยในสถานประกอบการ
 
 มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก  การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากบันทึกการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบรายงานโครงการสหกิจศึกษา และผลการประเมินจากสถานประกอบการ
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิเทศ เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ