แคลคูลัสมูลฐานสำหรับวิศวกร

Fundamental of Calculus for Engineers

เข้าใจฟังก์ชัน ลิมิตและความต่อเนื่อง แก้ปัญหาการหาอนุพันธ์และบทประยุกต์ คำนวณการหาปริพันธ์และเทคนิคการหาปริพันธ์ แก้ปัญหาการประยุกต์ของปริพันธ์จำกัดเขต เข้าใจปริพันธ์ไม่ตรงแบบ เข้าใจเมทริกซ์และแก้ปัญหาระบบสมการเชิงเส้นด้วยเมทริกซ์ เป็นวิชาในการศึกษาวิชาแคลคูลัสชั้นสูงและวิชาด้านวิศวกรรม เป็นการส่งเสริมประสบการณ์ของผู้เรียนในด้านการฝึกสมองอันเป็นแนวทางให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  และแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง
ให้เข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชัน ลิมิตและความต่อเนื่อง การหาอนุพันธ์ การประยุกค์ของอนุพันธ์ การหาปริพันธ์เทคนิคการหาปริพันธ์ การประยุกต์ของปริพันธ์จำกัดเขต ปริพันธ์ไม่ตรงแบบ เมทริกซ์และการแก้ระบบสมการเชิงเส้น
ศึกษาเกี่ยวกับการแก้ระบบสมการเชิงเส้นด้วยเมทริกซ์ ฟังก์ชัน ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน การหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันและการประยุกต์ การหาปริพันธ์ ปริพันธ์จำกัดเขตและการประยุกต์ และปริพันธ์ไม่ตรงแบบ
อาจารย์จัดชั่วโมงให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา (เฉพาะรายที่ต้องการ) 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร นี้ดัง - มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม  
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างการคำนวณในแต่ละวิธีในเนื้อหาที่เรียน พร้อมทั้งในสูตรในการคำนวณ - ซักถามข้อสงสัย - มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดส่งตามกำหนด   
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา - การเลือกใช้วิธีการในการแก้ปัญหาโจทย์ได้ถูกต้อง  
- มีความรู้และเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างการคำนวณในแต่ละวิธีในเนื้อหาที่เรียน พร้อมทั้งในสูตรในการคำนวณ
- ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบข้อเขียน วิเคราะห์ และแก้ปัญหาโจทย์โดยพิจารณาจากการซักถามในห้องเรียน สอบปากเปล่า
 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
- มอบหมายให้ทำโจทย์ปัญหา - เสนอแนวคิดที่ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค และสอบปากเปล่า โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างการคำนวณในแต่ละวิธีในเนื้อหาที่เรียน พร้อมทั้งในสูตรในการคำนวณ - แบ่งกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายชั่วโมง
- การเลือกใช้วิธีการในการแก้ปัญหาโจทย์ได้ถูกต้อง - ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
-บรรยายเนื้อหาโดยมีโปรแกรมออนไลน์ช่วยประกอบ เช่น geogebra desmos 
-มอบหมายงานให้ทำ
- การเลือกใช้วิธีการในการแก้ปัญหาโจทย์ได้ถูกต้อง - ประเมินผลงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 FUNMA110 แคลคูลัสมูลฐานสำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ผลการเรียนรู้ทุกหัวข้อที่สอนในแต่ละสัปดาห์ สอบถามในระหว่างเรียนโดยให้นักศึกษาสมัครใจและวิธีการสุ่มถาม ตรวจสอบจากใบงานที่มอบหมาย ในสัปดาห์ที่เรียนสอบถามในระหว่างเรียน ใบงานประเมินหลังจากที่มอบหมาย ร้อยละ 10
2 ผลการเรียนรู้ ฟังก์ชัน และลิมิตของฟังก์ชัน อนุพันธ์ของฟังก์ชัน สอบย่อยครั้งที่ 1 4 ร้อยละ 20
3 บทประยุกต์ของอนุพันธ์ ปริพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ปริพันธ์ที่ให้ผลลัพธ์เป็นฟังก์ชันลอการึทึม ปริพันธ์ฟังก์ชันชี้กำลัง สอบกลางภาค 9 25
4 ปริพันธ์ฟังก์ชันตรีโกณมิติและฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิก เทคนิคการปริพันธ์ ปริพันธ์โดยวิธีแยกส่วน ปริพันธ์โดยการแทนค่าด้วยฟังก์ชันตรีโกณมิติและการหาปริพันธ์ฟังก์ชัน ปริพันธ์โดยใช้เศษส่วนย่อย ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 13 ร้อยละ 20
5 ปริพันธ์จำกัดเขตและการประยุกต์ ปริพันธ์ไม่ตรงแบบ เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนท์ สอบปลายภาค 17 ร้อยละ 25
เอกสารประกอบการสอนวิชา แคลคูลัสมูลฐานสำหรับวิศวกร FUNMA110, 2565. 
Anton, H., Bivens, I.C., Davis, S. Calculus Late Transcendentals. New York: John Wiley and Sons, Inc., 2010.
John Thomas, Thomas’ Calculus, Pearson education Indochina ltd , 2005.
Monty J. Strauss, Gerald L. Bradley and Karl J.Smith., Calculus. 3rd Edition, Prentice-Hall Inc., 2002.
Stewart, J., Calculus: Early Transcendentals, Seventh Edition, Brooks/Cole, Cengage Learning, CA, 2008.
 
- การถาม ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียน - การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน - ผลการสอบ - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ - แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของทีมผู้สอน  
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ - การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ