สถิติและคณิตศาสตร์เพื่อการเกษตร

Statistics and Mathematics for Agriculture

1.1 รู้และเข้าใจระบบจำนวนจริง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ
1.2 เข้าใจและใช้ความรู้พื้นฐานทางสถิติ
1.3 คำนวณหาความน่าจะเป็น
1.4 เข้าใจตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม
1.5 เข้าใจการสุ่มตัวอย่างและการแจกแจงค่าสถิติ
1.6 แก้ปัญหาการประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียวและสองกลุ่ม
1.7 แก้ปัญหาการวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับสถิติและคณิตศาสตร์ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และฝึกให้เป็นคนมีเหตุผลและรอบคอบ โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับระบบจำนวนจริง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ความรู้พื้นฐานทางสถิติ ความน่าจะเป็น การแจกแจงของตัวแปรสุ่มที่สำคัญ การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียวและสองกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์การถดถอยและสหสัมพันธ์ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการเกษตร
ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มนอกเหนือจากเวลาเรียน ตามความต้องการของนักศึกษา จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ทุกวันพุธ ในคาบกิจกรรม เวลา 15.00-17.00 น. ของทุกสัปดาห์ ณ ห้องพัก SC814 และนักศึกษาสามารถติดต่อสื่อสาร/สอบถามกับผู้สอนได้ทางกลุ่ม Line ชื่อกลุ่ม “1/65สถิติและคณิตศาสตร์เพื่อการเกษตร”
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- ให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
- ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน
- มอบหมายงาน/แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน ตามวันเวลาที่ได้กำหนด
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่างๆ ได้แก่
1. การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
2. ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
3. ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
4. ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ให้นักศึกษาตอบคำถามในเนื้อหาที่สอน
- ให้นักศึกษายกตัวอย่างเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่สอน
- ทำข้อสอบประจำบทเรียน
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. งานที่ได้มอบหมาย
3.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
- ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน
- มอบหมายงาน/แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน ตามวันเวลาที่ได้กำหนด
- ทำข้อสอบประจำบทเรียน
ประเมินจากสภาพจริงจากการทดสอบโดยใช้ข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา
4.1.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดข้องได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- ให้นักศึกษาได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนขณะเรียน เช่น การตรวจสอบคำตอบของแบบฝึกหัดแต่ละข้อร่วมกัน
ประเมินจากสภาพจริงจากพฤติกรรมของนักศึกษาที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
5.1.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
5.1.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
- ให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมโดยใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
ประเมินจากสภาพจริงจากความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 FUNMA118 สถิติและคณิตศาสตร์เพื่อการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.1, 3.2 การทดสอบย่อย (Quiz1) หน่วยที่ 1 และหน่วยที่ 2 4 14%
2 2.1, 2.2, 3.1, 3.2 การทดสอบย่อย (Quiz2) หน่วยที่ 3 6 8%
3 2.1, 2.2, 3.1, 3.2 การสอบกลางภาค หน่วยที่ 4 และหน่วยที่ 5 9 16%
4 2.1, 2.2, 3.1, 3.2 การทดสอบย่อย (Quiz3) หน่วยที่ 6 และหน่วยที่ 7 14 22%
5 2.1, 2.2, 3.1, 3.2 การสอบปลายภาค บทที่ 8 และบทที่ 9 18 20%
6 1.3, 4.3, 5.1, 5.2 งานที่มอบหมาย 1-8, 10-17 10%
7 1.3, 4.3, 5.1, 5.2 เจตคติ การเข้าชั้นเรียน และความรับผิดชอบในรายวิชา 1-8, 10-17 10%
วิโรจน์  มงคลเทพ.  (2562).  เอกสารประกอบการสอนวิชาสถิติและคณิตศาสตร์เพื่อการเกษตร รหัสวิชา ฺBSCCC206. น่าน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 264 หน้า.
-
1. กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2. คณาจารย์ภาควิชาสถิติ. (2541). สถิติเบื้องต้น. เชียงใหม่: หน่วยพิมพ์เอกสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
3. จุลทรรศน์ คีรีแลง, วิโรจน์ มงคลเทพ, เลิศลักษณ์ จิณะไชย, และสุดาพร ตงศิริ. (2561). ผลของการใช้กระเจี๊ยบเขียวในสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลากาดำ. ใน การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5 (น.24). ตาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก.
4. ธีรศักดิ์ อุรัจนานนท์. (2546). ความน่าจะเป็นและสถิติประยุกต์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สยามสปอร์ต ซินดิเคท.
5. นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพรส (1989).
6. บันเทิง แก่นสาร, ธัญกร ขุนทอง, และพิมพ์พร ฟองหล่ำ. (2548). คณิตศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง.
7. พิสมัย หาญมงคลพิพัฒน์. (2560). หลักสถิติ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
8. พิษณุ เจียวคุณ. (2545). สถิติเบื้องต้นสำหรับสังคมศาสตร์ 1. เชียงใหม่: ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
9. พิษณุ เจียวคุณ. (2550). การวิเคราะห์การถดถอย. เชียงใหม่: สถานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
10. มงคล ทองสงคราม. (2542). คณิตศาสตร์พื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รามาการพิมพ์.
11. มนตรี สังข์ทอง. (2557). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นซ์ (1991).
12. มานพ วงศ์สายสุวรรณ, พงศธร เศรษฐีธร, เทียนชัย ประดิสถายน, และลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ. (2553). ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับวิศวกรรมไฟฟ้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
13. วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2552). สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นซ์ (1991).
14. วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2552). สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นซ์ (1991).
15. ศรีเพ็ญ ทรัพย์มนชัย. (2547). สถิติธุรกิจ โจทย์ปัญหาและคำเฉลย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
16. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
17. ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, และดิเรก ศรีสุโข. (2547). การเลือกใช้สถิติที่เมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.
18. สรชัย พิศาลบุตร. (2556). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
19. สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2552). สถิติเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
20. สุภาพร ทินประภา. (2551). การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ก.พล (1996).
21. Anderson, D. R., Sweeney, D. J., & Williams, T. A. (2012). Essentials of statistics for business and economics (7th ed.). USA: South-Western Cengage Learning.
22. Elon University. (2019). Excel functions. Retrieved May 2, 2019, from http://org.elon.edu/econ/sac/Excelfunctions.htm
23. Healey, J. F. (2009). Statistics: A tool for social research (8th ed.). USA: Belmont.
24. Kirk, R. E. (2008). Statistics: An introduction (5th ed.). California: Thomson Higher Education.
อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษารายงานตนเองเพื่อสะท้อนถึงความรู้ความเข้าใจต่อการเรียนรายวิชานี้ โดยเขียนบรรยายลงบนกระดาษที่แจกให้ในชั้นเรียน
การประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ซึ่งนักศึกษาจะต้องทำการประเมินผลการสอนออนไลน์ในระบบทะเบียนกลางของมหาวิทยาลัย
แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ได้แก่ ด้านการสอน ด้านสื่อ ด้านประเมิน และด้านปกครอง
4.1  ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา จากการตั้งคำถามต่างๆ เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักศึกษา
4.2  ทวนสอบงานที่มอบหมายของนักศึกษา ผลการสอบกลางภาค และผลการสอบปลายภาค
4.3  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจข้อสอบ คะแนนสอบ และคะแนนพฤติกรรมการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1  ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินการโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา
5.2  วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
5.3  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหา โดยวิธีการสอนที่หลากหลายและ/หรือจากงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอน (ถ้ามี)