สำรวจโลกวิศวกรรมอาหาร

Exploring Food Engineering World

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและอธิบายลักษณะอาชีพวิศวกรและหน้าที่ในอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้นักศึกษาอธิบายความแตกต่างและความสำคัญของอาหารฟังก์ชั่น อาหารออร์แกนิค เนื้อสัตว์จากพืช ในอุตสาหกรรมอาหาร   เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจการทำงานในอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน 
รายวิชาดังกล่าวเป็นรายวิชาที่เปิดการเรียนการสอนเป็นครั้งแรก 
แนะนำสู่อาชีพวิศวกรในอุตสาหกรรมอาหาร ศึกษาหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารที่พบในปัจจุบัน ฟาร์มผลิตอาหารและการเก็บเกี่ยว อุตสาหกรรมอาหารประเภทต่างๆ ผลิตภัณฑ์อาหารในปัจจุบันและอนาคต เช่น อาหารฟังก์ชั่น อาหารออร์แกนิค เนื้อสัตว์จากพืช เทคโนโลยีใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร  
 -   อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าห้องพักอาจารย์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.2 (หลัก) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม*
1.3  (หลัก) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์*
1.4 (หลัก) สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม*
1.5 (รอง) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1. สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในระหว่างการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย
2. เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3. เน้นความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม ฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ระบุให้มีการสอนเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพในรายวิชา รวมถึงส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และมีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือคัดลอกงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เป็นต้น
1. ประเมินคุณภาพผลงานที่ได้มอบหมาย รวมถึงการกระทำทุจริตในการสอบ
2. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียนการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
3. ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติงานกลุ่ม และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
4. ประเมินจากการทดสอบในรายวิชาที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
2.1  (หลัก) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 
2.3 (รอง) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. ใช้การเรียนการสอนโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการยกตัวอย่างกรณีศึกษา โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
2. จัดให้มีการสอนร่วมระหว่างรายวิชาเพื่อให้เกิดการบูรณาการความรู้ นอกจากนี้ จัดให้มีการสอนผ่านกรณีศึกษาโดยนำโจทย์ปัญหาจากอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการมาให้นักศึกษาเชื่อมโยงองค์ความรู้ วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหานั้น ๆ รวมถึงจัดให้มีการสอนทีี่มีการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ ผ่านความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในด้านต่างๆของหลักสูตร
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
(1) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน และการทดสอบย่อย
(2) ประเมินจากงานที่มอบหมายที่นักศึกษาจัดทำ
(3) ประเมินจากผลงานที่นำเสนอในชั้นเรียน
(4) ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
 
(3.1) (หลัก) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
(3.2) (รอง) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
(3.5) (หลัก) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
  
จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวจากสื่อหรือสังคมปัจจุบันและกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดในมุมมองที่แตกต่างอย่างมีวิจารณญาณ จัดให้มีการเรียนการสอนผ่านกรณีศึกษาที่ต้องมีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริง และแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ จัดให้มีการเรียนรู้ผ่านโครงงานทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ต้องมีการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้
สังเกตพฤติกรรม ประเมินตามสภาพจริงของนักศึกษา เช่น การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การอภิปรายระหว่างกลุ่ม การทำงานที่ได้ร้บมอบหมาย
4.1  (หลัก)สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.2 (รอง) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณาเชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
4.3 (รอง) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.4 (รอง) รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.5 (หลัก) มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
จัดให้มีการเรียนหรือร่วมกิจกรรมกับกลุ่มคนที่หลากหลายส่งเสริมให้เกิดการฝึกปฏิบัติการคิดวิเคราะห์ และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษผ่านการเรียนการสอนในรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานกับผู้อื่นได้มีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในรายวิชาต่างๆ
 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในระหว่างชั้นเรียน และการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน 
 
 
 
5.3 (หลัก) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.4 (รอง) มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูดการเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
 
 
(1) สอดแทรกการใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ากับการเรียนในรายวิชา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาทางวิชาชีพ
(2) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศทำการค้นคว้าข้อมูล นำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ผ่านการประยุกต์ใชการสื่อสารที่ทันสมัยในหลากหลายสถานการณ์ รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมในการแก้ปัญหา
 
 (1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
(2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
ุ6.1 (รอง) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
 
 
(1) จัดให้กิจกรรมที่มีการบูรณาการความรู้และการค้นคว้าข้อมูล ในประเด็นที่ต้องการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางอาหาร
(2) จัดการสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและการจัดการ เน้นทฤษฎีและการปฏิบัตรกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอุตสาหกรรรมอาหาร
 
(1) ประเมินจากคุณภาพของผลงานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษา
(2) สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมและงานที่ได้รับมอบหมาย
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 5.3 5.4 5.1 5.2 5.5 6.1 6.2
1 ENGFI122 สำรวจโลกวิศวกรรมอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 (2) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม (3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (4) สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม (1) ประเมินคุณภาพผลงานที่ได้มอบหมาย รวมถึงการกระทำทุจริตในการสอบ (2) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม (3) ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติงานกลุ่ม และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร (4) ประเมินจากพฤติกรรมและแนวคิดของนักศึกษาในการตอบสนองต่อเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม สัปดาห์ที่ 1-16 20%
2 (1) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (1) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน และการทดสอบย่อย (2) ประเมินจากงานที่มอบหมายที่นักศึกษาจัดทำ สอบกลางภาคสัปดาห์ที่ 8 สอบปลายภาคสัปดาห์ที่ 17 สอบย่อย สัปดาห์ที่ 5 และ 12 30%
3 (1) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี (5) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ สังเกตพฤติกรรม ประเมินตามสภาพจริงของนักศึกษา เช่น การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การวิเคราะห์แลกเปลี่ยนภายในกลุ่ม สัปดาห์ที่ 1-16 10%
4 (1) สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม (5) มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในระหว่างการศึกษาดูงานนอกสถานที่ ประเมินจากจำนวนกิจกรรมที่เข้าร่วมและพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ สัปดาห์ที่ 1-16 15%
5 (3) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ (1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง (2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 1-16 15%
6 (1) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ (2) พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย สัปดาห์ที่ 1-16 10%
อ้างอิงตามเนื้อหาในแต่ละบทเรียน
เอกสารประกอบการสอนรายวิชา สำรวจโลกวิศวกรรมอาหาร 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
3.2   การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก      การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ