การใช้คอมพิวเตอร์ และการบำรุงรักษาเบื้องต้น

Basic Computer Usage and Maintenance

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน ฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์โปรแกรมอรรถประโยชน์ องค์ประกอบของการติดตั้งระบบปฎิบัติการและการกําหนดค่าเริ่มต้นการใช้งานแบบต่างๆ เบื้องต้น อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ต่อพ่วง การบํารุงรักษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ เบื้องต้นได้รวมถึงการสํารองข้อมูล
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนําความรู้ความเข้าใจ ใน ด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
การทํางานของไมโครคอมพิวเตอร์โครงสร้างและส่วนประกอบภายในของไมโครคอมพิวเตอร์การติดตั้ง ระบบปฏิบัติการ การใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน การปรับแต่งการทํางานของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์การติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วง และการ บํารุงรักษาไมโครคอมพิวเตอร์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 คาบต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียน โปรแกรมอย่างมีคณภาพ ุ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
(1) เคารพสิทธิและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
(2) มีวินัย ตรงต่อเวลาซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
(3) มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ 
(4) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
(1) ผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
(2) ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น
(3) เน้นเรื่องการแต่งกาย มีวินัย ตรงต่อเวลา ทํางานที่ได้รับมอบหมายด้วยตนเอง ส่งงานภายในเวลาที่ กําหนด และปฏิบัติตนเหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
(4) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม
(5) ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดจิตสํานึกความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทําการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้าน ของผู้อื่น
(6) บรรยายพร้อมยกตัวอยางกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เช่น การ Download ซอฟต์แวร์จากอินเทอร์เน็ตมาทดลองใช้หลีกเลี่ยง การใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้มาจากผู้ผลิต
(1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรประเมินการประพฤติตนเป็นแบบอย่างและการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมจากแบบสอบถามและสัมภาษณ์
(2) พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
(3) สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
(4) ประเมินปริมาณการทุจริตในการสอบและการลอกการบ้านผู้อื่น
(5) ประเมินจากการอ้างอิงเอกสารที่ได้นํามาทํารายงาน ว่าได้มาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
(6) ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน พฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงานตาม กําหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการนําเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการ ความสําคัญ องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์เพื่อนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจําวันในด้านการใช้จรรยาบรรณ จริยธรรมของผู้ที่เรียนรู้ส่งผล กระทบกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ต่อวงการธุรกิจ หรือภัยจากการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์โดย ครอบคลุมรายละเอียด ดังนี้
(1) มีความรู้ความเข้าใจและสามารถอธิบายได้ถึงหลักการและทฤษฎีที่สําคัญในเนื้อหาด้านธุรกิจและ เทคโนโลยีสารสนเทศ
(2) สามารถพัฒนาทักษะการใช้งาน หรือการฝึกปฏิบัติกับเครื่องคอมพิวเตอร์ 
(3) สามารถวิเคราะห์ความต้องการและแก้ไขปัญหาโดยการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ
(4) สามารถศึกษา ค้นคว้า ติดตามการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและนําไป พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
บรรยาย อภิปราย การทํางานกลุ่ม การนําเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ ข้อมูลที่ เกี่ยวข้อง โดยนํามาสรุปและนําเสนอ การศึกษาโดยค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและลงมือปฏิบัติกับเครื่อง และระบบจริง
(1) การทดสอบย่อย หรือการทดสอบปฏิบัติด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
(2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(3) ประเมินจากการนําเสนอรายงาน และการซักถามของนักศึกษาในชั้นเรียน
(4) สังเกตพฤติกรรมและประเมินความเข้าใจในเนื้อหาของนักศึกษาจากการถาม-ตอบในชั้นเรียน
พัฒนาความสามารถในการคิด มีการวิเคราะห์เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีอย่าง เหมาะสม ดังนี้
(1) สามารถวิเคราะห์ปัญหา สถานการณ์อย่างมีวิจารณญาณ และสรุปประเด็นปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมทั้งในและนอกชั้นเรียน
(2) สืบค้นข้อมูล ความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และประเมินคุณภาพสารสนเทศที่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
(3) สามารถใช้ความรู้ทางทฤษฏีเพื่อการวิเคราะห์และออกแบบได้อย่างเป็นระบบ
(1) การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL)
(2) ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาและระดมสมองในการแก้ไขปัญหา
(3) มอบหมายงานหรือกรณีศึกษาที่ส่งเสริมการคิด และนําเสนอเทคโนโลยที่ทันสมัยมาใช้ในปัจจุบัน
(4) การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์หรือวิเคราะห์แนวคิดในการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
(1) สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะกับเวลาและสถานที่และสามารถ พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
(2) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นําและผู้ตามในการ ทํางานเป็นทีม
(3) สามารถใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเหลือกิจกรรมทางสังคม
(4) พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกําหนดเวลา
(1) จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิจารณ์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 
(2) มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ําของเทคโนโลยีการนําตัวอย่างการ ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียน หรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
(3) การนําเสนอรายงาน
(1) ประเมินผลจากการนําเสนอรายงานกลุ่ม และพฤติกรรมการทํางานเป็นทีม
(2) สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
(3) ประเมินพฤติกรรมภาวะการเป็นผู้นําและผู้ตามที่ดี
(4) การตอบคําถามในรายงานที่นําเสนอ
(5) รายงานการศีกษาด้วยตนเอง
(1) พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การอ่าน การฟัง การแปล การเขียน โดยการทํารายงาน และ นําเสนอในชั้นเรียน
(2) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ติดตามข้อมูลข้าวสาร ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ และถ่ายทอดสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาและทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
(4) ทักษะในการนําเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
(1) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจาก Website สื่อการสอน e-learning และทํารายงาน โดย เน้นการนําตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
(2) นําเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
(3) ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนําเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสําคัญในการ อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
(1) สังเกตจากพฤติกรรมการทํางานภายในกลุ่ม การจัดทํารายงาน และนําเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
(2) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-6 การทำงานกลุ่มและนำเสนอผลงานครั้งที่ 1 7 20
2 สอบกลางภาค (ทฤษฏี + ปฏิบัติ) สอบกลางภาค (ทฤษฏี + ปฏิบัติ) 8 25
3 9-16 การทำงานกลุ่มและนำเสนอผลงานครั้งที่ 2 17 20
4 9-16 สอบปลายภาค (ทฤษฏี + ปฏิบัติ) 17 25
5 1-17 การเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย 1-17 10
อนิรุทธิ์รัชตะวราห์, วศิน เพิ่มทรัพย์, พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร, ภาสกร พาเจริญ. (2550). คู่มือช่าง คอมพิวเตอร์ 2007 ฉบับสมบูรณ์. บริษัท โปรวิชั่น จํากัด.
เว็บไซต์รายวิชา http://www.itschool.siam.edu
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ที่จัดทําโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนําแนวคิดและความเห็น จากนักศึกษาได้ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังนี้
- ผลการสอบ
- การแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนหลังสอบกลางภาค
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาค และหลังการออก ผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ เพื่อให้นักศึกษามีมุมมอง ในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับระบบงานปัจจุบัน