กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี

Law for Accounting Profession

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษา ศึกษาลักษณะของกฎหมายที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งองค์กรธุรกิจด้านนิติบุคคล พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลและการออกหลักทรัพย์ การเสนอขายหลักทรัพย์ การกำกับควบคุม และกฎหมายที่เกี่ยวกับการบัญชี เช่น พระราชบัญญัติการบัญชี พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี เป็นต้น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรและเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 
1. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาลักษณะของศึกษาลักษณะของกฎหมายที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งองค์กรธุรกิจด้านนิติบุคคล พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลและการออกหลักทรัพย์ การเสนอขายหลักทรัพย์ การกำกับควบคุม และกฎหมายที่เกี่ยวกับการบัญชี เช่น พระราชบัญญัติการบัญชี พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี เป็นต้น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
จำนวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เวลา 15.30-16.30 น.
 
ด้านคุณธรรมจริยธรรม
คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ข้อ 1 (1) มีความรู้และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี
ข้อ 1 (2) สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
วิธีการสอน

เน้นความสำคัญของการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน ให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อตกลงของรายวิชา
วิธีการประเมินผล

สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงาน รวมถึงการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด

 
ด้านความรู้
ความรู้ที่ต้องได้รับ
ข้อ 2 (1) มีความรู้และความเข้าใจและมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
ข้อ 2 (3) มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
ข้อ 2 (4) มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
วิธีการสอน

เน้นหลักการทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้เป็นไปตามเนื้อหาสาระของคำอธิบายรายวิชา ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลโดยการทำงานเป็นกลุ่ม
วิธีการประเมิน

ประเมินจากการทดสอบกลางภาคและปลายภาค ประเมินจากงานที่มอบหมาย
ด้านทักษะทางปัญญา
ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
ข้อ 3 (1) มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
ข้อ 3 (2) มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
ข้อ 3 (3) มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
วิธีการสอน

ให้นักศึกษาเรียนรู้จากข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอและเสนอแนะข้อคิดเห็นในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์
วิธีการประเมินผล

ประเมินจากการนำเสนอข้อมูลของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน ประเมินจากการซักถาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
ข้อ 4 (1) มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคมและจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ วัฒนธรรมองค์กรและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ข้อ 4 (2) มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 4 (3) มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
วิธีการสอน

กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำเสนอ
วิธีการประเมินผล

ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อ 5 (3) มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียนโดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
วิธีการสอน

มอบหมายงานให้นักศึกษาและนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสม มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
วิธีการประเมินผล

ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายและรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ประเมินจากผลงานที่ได้สืบค้นทางอินเตอร์เน็ต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2. การประเมินผล กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ วิธีการประเมินผล สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล 1 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) ข้อ 3 (2) ข้อ 4 (1) (3) ข้อ 5 (2) (3) - ทำแบบทดสอบกลางภาคบทที่ 1 – 4 - ทำแบบทดสอบปลายภาคบทที่ 5 – 9 9 17 35 คะแนน 35 คะแนน 2 ข้อ 1 (2) ข้อ 2 (1) (2) ข้อ 3 (2) ข้อ 4 (1) (3) ข้อ 5 (2) (3) - ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน - ประเมินจากการส่งแบบฝึกหัด - ประเมินจากงานกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 30 คะแนน หมายเหตุ: 1) ประเมินผลการเรียนรู้ตามแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ใน มคอ.2 (Domain of Learning) 2) ประเมินในภาพรวมของ Domain of Leaning 3. เกณฑ์การประเมิน 1) นักศึกษาจะต้องเข้าเรียนไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเรียนตลอดภาคเรียน 2) รายวิชานี้ใช้การตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ โดยพิจารณาจากคะแนนรวม ดังนี้ คะแนนรวม เกรด / ผลการศึกษา ตั้งแต่ 80 คะแนน ขึ้นไป A (ดีเยี่ยม) 75 – 79 คะแนน B+ (ดีมาก) 70 – 74 คะแนน B (ดี) 65 – 69 คะแนน C+ (ดีพอใช้) 60 – 64 คะแนน C (พอใช้) 55 – 59 คะแนน D+ (อ่อน) 50 – 54 คะแนน D (อ่อนมาก) ต่ำกว่า 50 คะแนน F (ตก)
1. หนังสือ/ตำรา/เอกสารประกอบการสอนหลัก
รวบรวมจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานที่กำกับดูแลกฎหมายในแต่ละด้าน
2. หนังสือ/ตำรา/เอกสารประกอบการสอนที่สำคัญ
วารสาร FAP Newsletter, สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ:, 2560.
1. สภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th 2. กรมสรรพากร www.rd.go.th 3. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ www.sec.or.th 4. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th 5. ธนาคารแห่งประเทศไทย www.bot.or.th 6. กรมศุลกากร www.customs.go.th 7. กรมสรรพาสามิต www.excise.go.th 8. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th Web ต่างประเทศ 1. International Accounting Standards Board www.iasb.org 2. The American Institute Of Certified Public Accountants www.aicpa.org 3. The International Federation Of Accountants www.ifac.org 4. U.S. Securities Exchange Commission www.sec.gov