การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ

Business Computer Programming Development

1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ การวางแผน การวิเคราะห์งาน การเขียนผังงาน การใช้คำสั่ง และฟังก์ชัน
1.2 มีทักษะในพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ
1.3 มีเจตคติที่ดีต่อการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ ขั้นตอน การวางแผน การวิเคราะห์งาน การเขียนผังงาน โครงสร้างของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การกำหนดตัวแปรและชนิดของข้อมูล การับค่าและแสดงผลข้อมูล การใช้คำสั่งเงื่อนไข การวนรอบ การใช้ฟังก์ชันสำเร็จรูป การสร้างโปรแกรมย่อยและฟังก์ชัน การใช้ข้อมูลชนิดโครงสร้าง ข้อมูลประเภทอาร์เรย์ การดำเนินการกับไฟล์ข้อมูล กรณีศึกษา การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญของงานที่ได้รับมอบหมายได้
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการใช้ความรู้ทางวิชาชีพ ที่มีต่อบุคคล องค์กร และสังคมได้
1.1.7 มีจิตสาธารณะและจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม
1.1.8 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษามี วินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตาม ระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
1.2.3 การมอบหมายงานกลุ่มโดยเน้นให้เป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
1.2.4 เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชั้นเรียน
1.3.1 ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชา
1.3.2 ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการทำงานที่มอบหมาย
1.3.4 พฤติกรรมการกระทำที่แสดงออก และการทุจริตในการสอบ
2.1.1 หลักการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิผล
2.1.2 หลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในงานอาชีพ
2.1.3 หลักการคิดวิเคราะห์ การหาเหตุผล เพื่อการแก้ปัญหาและการจัดการ
2.1.4 หลักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการปรับตัวในสังคม
2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา
2.2.2 เรียนรู้จากสถานการณ์หรือกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง โดยมอบหมายให้ทำรายงาน การค้นตว้าและ นำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.3จัดกิจกรรมในชั้นเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ และฝึกปฏิบัติติร่วมกัน
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 การสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
2.3.3 การค้นคว้าและการนำเสนองาน
2.3.4 งานมอบหมาย เช่น การบ้าน การทดสอบย่อย 
3.1.1 ทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.1.2 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อการทำงาน
3.1.3 ทักษะการคิดวิเคราะห์ การหาเหตุผล เพื่อการแก้ปัญหาและการจัดการ โดยใช้หลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3.1.4 ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการพัฒนาตน ตามหลักศาสนา วัฒนธรรม และหน้าที่ความเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมสมัยใหม่
3.1.5 ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดเชิงบวกเพื่อการพัฒนาตนอย่างยั่งยืน
3.2.1 การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.2 การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
3.3.1 ประเมินจากการนำเสนอรายงาน ผลการอภิปรายกรณีศึกษา
3.3.2 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบโดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหาอธิบายแนวคิดการแก้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา
3.3.3 ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงาน
4.1.1 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพ ได้อย่างมีประสิทธิผล
4.1.2 แก้ไข คิดวิเคราะห์ หาเหตุผล และจัดการกับปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนและเป็นนามธรรม ในงานอาชีพโดยใช้หลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
4.1.3 พัฒนาตนให้มีคุณลักษณะเหมาะสมกับงานอาชีพ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีคุณภาพตามหลักศาสนา วัฒนธรรม และหน้าที่ความเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมสมัยใหม่
4.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.2.2 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
4.2.3 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการ อภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
4.2.4 การมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน 
4.3.1 การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค 4.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่ม 4.3.3 การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน 4.3.4 สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
5.1.1 วางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการทางด้านเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ ความปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5.1.2 ปฏิบัติงานอาชีพ เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ตามหลักการและแบบแผนที่กำหนด โดยใช้/เลือกใช้/ปรับใช้กระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
5.1.3 เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในการงานอาชีพตามหลักการ และกระบวนการ โดยคำนึงถึงความประหยัด และความปลอดภัย
5.1.4 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ พร้อมรับ และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเรียนรู้ตลอดชีพ
5.2.1 มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.2 ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3.1 งานมอบหมาย และผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
5.3.2 ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การเขียนอ้างอิงในผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
ไกรศร ตั้งโอภากุล,กิตินันท์ พลสวัสดิ์, "คู่มือเรียนเขียนโปรแกรมภาษา C ฉบับสมบูรณ์". ไอดีซี พรีเมียร์, บจก., 2556.
ธีรวัฒน์  ประกอบผล, “คู่มือการเขียนโปรแกรมภาษา C ฉบับสมบูรณ์”  กรุงเทพฯ : ซิมพลิฟาย, 2556.
พิรพร  หมุนสนิท. พื้นฐานการโปรแกรมบนเว็บ. บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ม จำกัด.
ผศ.วัฒนา พันลำเจียก และคณะ.  การโปรแกรมคอมพิวเตอร์.  บริษัททริปเพิ้ล เซเว่น มัลติเทค จำกัด,   2547.
เอกพันธ์ คำปัญโญ, รศ.ธีรวัฒน์  ประกอบผล. หลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม.  บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด, 2552.
- นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมภายใน หรือภายห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา
- มีการประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการคณะจากการสังเกตการสอน และการสัมภาษณ์นักศึกษา
- ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามที่ สกอ.กำหนด ทุกภาคการศึกษา ให้ผู้สอนเข้ารับการอบรมกลยุทธ์การสอน การวิเคราะห์ผู้เรียน อย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง
- มีการประชุมผู้สอนเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
- มีคณะกรรมการประเมินข้อสอบ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา และความเหมาะสมของการให้คะแนนในแต่ละรายวิชาในหลักสูตร
- มีการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คณะกรรมการของหลักสูตร การรายงานรายวิชาหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา การทบทวนเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอน และเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชา ต่อหัวหน้าหลักสูตร และคณะกรรมการประจำหลักสูตรร่วมพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปเพื่อวางแผนปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป