การจัดการโมเดลทางธุรกิจในยุคดิจิทัล

Business Model Management in the Digital Era

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดโมเดลธุรกิจ 2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการสร้างและพัฒนาโมเดลธุรกิจ 3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจดิจิทัลแบบไฮบริดและนวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิทัล 4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์องค์ความรู้ในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ภาษาและการสื่อสาร รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
แนวคิดเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจ การสร้างโมเดลธุรกิจ การพัฒนาโมเดลธุรกิจ ความหมายของโมเดลธุรกิจดิจิทัล โมเดลธุรกิจดิจิทัลแบบไฮบริด นวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิทัลกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโมเดลธุรกิจในปัจจุบันที่น่าสนใจ
 1.อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษา  2.อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามเวลาต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
- มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
- มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
มีการปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มีการมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น
- ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
- ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
- มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
- มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
- มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ โดยมอบหมายให้ทำรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
- รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบ ในแบบทดสอบ
- ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงหรือสถานการณ์จริง
- ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
- ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
- ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
- ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้านงานที่มอบหมายรายงานการทดสอบย่อยการนำเสนอรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
- สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
- สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้านมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
- คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
- กรณีศึกษาทางการจัดการโครงงานงานวิจัยและกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม
- การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
- การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
- จัดให้ในรายวิชามีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
ประเมินจากการนำเสนอรายงานอภิปรายกรณีศึกษาและประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบโดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหาอธิบายแนวคิดการแก้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
- มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
- มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
- ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
- จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
- จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
- มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
- มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
- การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
- ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
- ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
- สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
- ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการทำสหกิจศึกษา
- สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
- สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
- มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
- บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟท์แวร์หรือสื่อต่าง ๆ ในทุกรายวิชาที่สามารถทำได้
- การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค
- ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
- ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
- สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
- สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิด
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือ สถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
- จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
- ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
- พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
- การนำเสนอผลงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBABA237 การจัดการโมเดลทางธุรกิจในยุคดิจิทัล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า - การทดสอบย่อย - การอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์กรณีศึกษา และหาแนวทางแก้ไขปัญหา - การทำงานกลุ่มตามมอบหมาย - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา
2 -สอบกลางภาค 9 30%
3 -สอบปลายภาค 17 30%
4 การเข้าชั้นเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมทางมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล.(2563) Digital Transformation Canvas โมเดลทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่.วิช กร๊ป (ไทยแลนด์)
2.รุ่งรัศมี บุญดาว.(2559). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการธุรกิจในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ:ลัคกี้บุ๊ค
3.อนุพงศ์ อวิรุทธา.(2559).Business 4.0 พลิกธุรกิจสู่เศรษฐกิจดิจิทัล.กรุงเทพฯ:GREAT idea
4.พยัต วุฒิรงค์.(2557).  การจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา.(2562). คู่มือสร้างโมเดลธุรกิจ : Business Model Generation (ฉบับปรับปรุง).กรุงเทพฯ:วีเลิร์น .
6.เดชา โควเอี่ยมไพโรจน์.(2562).พลิกโมเดลธุรกิจด้วยดิจิตอล new edition. กรุงเทพฯ:DECHA.K
-
    -เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด และห้องสมุดมหาวิทยาลัย
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาหลักการบริหารที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและ ข้อแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา ดังนี้ 1.การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 2.แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
 ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้    1.ผลการเรียนของนักศึกษา     2.การทบทวนผลการประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการปรับปรุงการสอน
-
-