การเพิ่มผลผลิต

Productivity

1.รู้ความหมาย ความสำคัญ และ ประโยชน์ของการเพิ่มผลผลิต
2.เข้าใจแนวคิด วิวัฒนาการและองค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต
3.เข้าใจเทคนิคการวัดการเพิ่มผลผลิตในภาคการผลิต ภาคบริการ ตลอดถึงเทคนิคสมัยใหม่ในการวัดและประเมินผล
4.เข้าใจเทคนิคพื้นฐานในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในหน่วยงาน
5.อธิบายแนวทางการเพิ่มผลผลิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
6.เข้าใจแนวทางในการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์กรในบางประเทศได้
7.นำเทคนิคการเพิ่มผลผลิตไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันได้
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรบริหารธุรกิจ  สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ  และเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาทฤษฎีของการเพิ่มผลผลิตได้อย่างถูกต้อง โดยสามารถนำแนวคิดทฤษฎีมาใช้ในการวางแผน และการประยุกต์แก้ปัญหาในเชิงธุรกิจภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในสภาวะปัจจุบัน
ศึกษาความหมายและความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต แนวคิดและวิวัฒนาการด้านการเพิ่มผลผลิต องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต การวัดการเพิ่มผลผลิต เทคนิคและเครื่องมือพื้นฐานในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในหน่วยงาน ผลที่ได้รับจากการเพิ่มผลผลิตทั้งต่อองค์การ พนักงานและภาพรวมในระดับประเทศ การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการหาแนวทางในการนำเครื่องมือคุณภาพไปปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิด การพัฒนาโดยนำกรณีศึกษามาใช้ศึกษาประกอบ
ตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
1. มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีความรับผิดขอบต่อตนเอง สังคม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
-ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัย โดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้อง
-ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยกำหนดงานเป็นกลุ่มย่อย เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
-กำหนดระเบียบลงโทษผู้ทุจริตในการสอบ
-ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา และเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
-ประเมินจากผลงานกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
1. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์และหลักการปฏิบัติที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนในเนื้อหาที่ศึกษา
2. มีความรู้ สามารถบูรณาการร่วมกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้อย่าเหมาะสม
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
-การทดสอบย่อย
-การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
-ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
-ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
1. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดวิเคราะห์ และใช้อย่างเป็นระบบ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์ และวัฒนธรรมสากล
มีการอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นผลการศึกษา และปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเสนอแนวทางการแก้ไข
-ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา โดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
-ประเมินจากผลงาน และการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม  สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
-ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม
-ประเมินจากผลงานนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
1. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสาร และเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม
2. ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
3. มีทักษะในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
-ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้
-มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
-ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
-ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA221 การเพิ่มผลผลิต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.2, 3.3, 4.1, 4.2, 5.2, 5.3, 5.6 - ใบงาน - ทดสอบย่อย ทุกสัปดาห์ 20%
2 1.2, 2.1, 3.2, 4.1, 4.2, 5.3, 5.6 - จัดกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา ทุกสัปดาห์ 20%
3 1.2, 4.2 - การเข้าชั้นเรียน - สรุปประเด็นและตอบข้อซักถาม ทุกสัปดาห์ 10%
4 1.2, 2.1, 3.2, 4.1, 5.2, 5.3 สอบกลางภาค 9 25%
5 1.2, 2.1, 3.2, 4.1, 5.2, 5.3 สอบปลายภาค 17 25%
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการเพิ่มผลผลิต
วันชัย ริจิรวนิช, การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมเทคนิคและกรณีศึกษา, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล, การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผล, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา, การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิต, กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551
ประจวบ กล่อมจิตร, การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มผลผลิตและความปลอดภัย,  กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2555
วิศวชาติ สุวรรณราช, การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผล, กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ, 2546
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด
- สนทนากลุ่มระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน  เพื่อระดมความคิด  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเนื้อหา  ปัญหา  และการสรุปประเด็นความคิด
- ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการนำเสนอ  การทำงานกลุ่ม 
- ให้นักศึกษาร่วมกันประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน และประเมินอาจารย์ผู้สอน
- สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาในการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
- ประเมินจากการร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม  และการนำเสนอผลงานการวิเคราะห์ของนักศึกษา
- การสอบทดย่อย  การสอบกลางภาค  และการสอบปลายภาค
- พัฒนาสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- ปรับปรุงเนื้อหา  และกรณีศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
- ให้นักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชามานำเสนอ
- มีการตรวจแบบฝึกหัด  ตรวจทดสอบย่อย  ตรวจข้อสอบ  และร่วมกันอภิปรายข้อสรุปของการวิเคราะห์
- มีการวัดความรู้นักศึกษา  และแจ้งผลให้ทราบเป็นระยะ
- ให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบการให้คะแนน  การสอบเก็บคะแนนได้
- การทวนสอบการให้คะแนน  จากการสุ่มตรวจโดยอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน
- ปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยทุกปี
- มีการปรับปรุง  ตามข้อเสนอแนะผลการสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชา