การจัดการธุรกิจเพื่อสังคม

Social Business Management

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด รูปแบบ วิธีการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์หลักการบริหารธุรกิจที่สามารถนำไปใช้ในธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค และใช้นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความยั่งยืนของธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และเขียนแผนธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เพื่อดำเนินงานเพื่อสังคมได้อย่างเหมาะสม  
1. เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 2. เพื่อปรับปรุงรายวิชาให้ได้เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 3. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่ทันสมัย และ สามารถนำความรู้ไปบูรณาการในงานอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อปรับปรุงกิจกรรม และงานที่ได้รับมอบหมายให้สามารถพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศสื่อ เทคโนโลยี และทักษะชีวิตและอาชีพ) 5. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญในการประกอบการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
แนวคิดพื้นฐาน รูปแบบ และวิธีการดําเนินงานของธุรกิจเพื่อสังคม การประยุกต์หลักการจัดการธุรกิจที่นําไปใช้ในธุรกิจและกิจการเพื่อสังคม การวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคโดยเน้นการใช้นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความยั่งยืน การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม การฝึกเขียนโมเดลทางธุรกิจเพื่อสังคม กรณีศึกษา จากธุรกิจและกิจการเพื่อสังคมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก  (●) และความรับผิดชอบรอง (○)

○ 1.มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสํานึก
สาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริต
ต่อตนเองและผู้อื่น ● 2. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ
สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสํานึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม ○ 3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม ○ 4. มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลําดับความสําคัญ   5. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า
และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
อาจารย์ผู้สอนจะบรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ได้รับมอบหมาย 2.เข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาตามเวลานัดหมาย
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก  (●) และความรับผิดชอบรอง (○)

● 1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สําคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่
ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง ○ 2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสําคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดํารงชีวิตประจําวัน ○ 3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสําคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผนการจัดโครงสร้างองค้การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดําเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ   4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
1. จัดรูปแบบการสอนที่หลากหลายโดนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ 2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน มอบหมายงานให้
3. ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก้เพื่อนร่วมชั้นเรียน
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2. ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย และ การเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมายรายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าในชั้นเรียน
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก  (●) และความรับผิดชอบรอง (○)

● 1.สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง ○ 2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทําให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ ○ 3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป ○ 4. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
1. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน  และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงาน 2. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนรวมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความเห็น
ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
โดยแสดงความรับผิดชอบหลัก  (●) และความรับผิดชอบรอง (○)

○ 1.มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ ● 2. มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง ○ 3. มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆทั้งในบทบาทของผู้นําและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทํางาน
1.สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
1. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 2.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากรายงานหน้าชั้นเรียน
โดยแสดงความรับผิดชอบหลัก  (●) และความรับผิดชอบรอง (○)

○ 1.สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจําวัน ● 2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือ
สื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนําเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค ○ 3. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จําเป็นต่อการทําธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ   4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนําเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุน
การดําเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถใช้สารสนเทศ

 
1. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆจากกรณีศึกษา 2. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4
1 BBABA252 การจัดการธุรกิจเพื่อสังคม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1,2.1.2,2.1.3,3.1.1,3.1.2 - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 8,17 25% 25%
2 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 1.1.4, 3.1.2, 3.1.3, 3.1.4, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 - จัดทำโครงงานและการนำเสนอ - การทำงานกลุ่มและผลงาน - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3 -สังเกตการณ์เข้าชั้นเรียน - สังเกตการณ์ร่วมกินกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
- คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ - กิจการเพื่อแก้ปัญหาสังคม www.tseo.or.th สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ - SE Catalog รวมกิจกรรมเพื่อสังคมในไทย สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน
3. ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 1. การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา 3. การทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ เรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบกลางภาคและปลายภาค และหลังจากการตัดเกรดผลการเรียนในรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในรายวิชาดังนี้ 4.1 การทวนสอบจากการออกข้อสอบ การให้คะแนนสอบ หรืองานที่มอบหมาย และรวมถึงการให้คะแนนพฤติกรรมโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการ สอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะผละผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงกิจกรรม/โครงการ/โครงการที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้นี้กับสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง