การออกแบบเวบไซต์และอินเตอร์เฟซ

Website and Interface Design

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง สามารถการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงานที่ดี รวมถึงการมีทักษะทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ   1.2 นักศึกษาสามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   1.3 นักศึกษาสามารถสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์   1.4 นักศึกษามีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   1.5 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา    1.6 นักศึกษามีความ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  รวมถึงมีจิตอาสา และจิตสำนึกสาธารณะที่ดี 
ไม่มี เนื่องจากเป็นวิชาใหม่
ปฎิบัติเว็บไซค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแนวคิด โครงสร้าง องค์ประกอบเว็บไซต์ เวบบราวเซอร์ รวมถึงดารสร้างภาพนิ่ง การจัดการรูปแบบข้อความกราฟฟิกและมัลติมีเดีย ทดลองอัพโหลดเว็บไซต์
อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการและนัดหมายล่วงหน้า)
1.1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 
1.1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 
1.1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
บรรยายโดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพ  เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต ความมีวินัยในวิชาชีพ รวมถึงฝึกให้มีกระบวนการคิดที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษากิจกรรมจิตอาสา และการมีจิตสำนึกสาธารณะที่ดี
ประเมินจากการเข้าชั้นเรียน การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน  
ประเมินจากความตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมาย  
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม 
ประเมินจากผลงาน และการรายงานหน้าห้อง
2.1.1 มีความรู้และเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในด้านแอนิเมชัน 
2.1.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านการออกแบบอย่างเป็นระบบ 
2.1.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านการออกแบบ
บรรยายและอภิปรายเกี่ยวกับการเรียนรู้ธรรมเนียมปฎิบัติ มาตรฐานกฎระเบียบเงื่อนไข ที่เกี่ยวข้องกับสายงานวิชาชีพ โดยเน้นหลักการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน มีการมอบหมายงานทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม
ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำหรือกิจกรรมในชั้นเรียน 
3.1.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญา 
3.1.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 
3.1.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางการออกแบบได้ 
3.1.4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
ใช้การมอบหมายงานให้นักศึกษา ฝึกการสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล ตามเงื่อนไขโจทย์ที่หลากหลายในแต่ละงาน โดยมีการนำเสนองานในลักษณะการอภิปรายเดี่ยวและกลุ่ม ถึงกระบวนการทำงาน อุปสรรค์ และการแก้ปัญหาการทำงานอย่างสร้างสรรค์ จากนั้นให้นักศึกษาในห้องร่วมแสดงความคิดเห็นจากผลงานของเพื่อนในชั้นเรียน
ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ ประเมินจากการนำเสนองาน 
4.1.1 มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 
4.1.2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ 
4.1.3 สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
มอบหมายงานเดี่ยว, งานกลุ่ม มีการสลับตำแหน่งหน้าที่ในแต่ละกิจกรรมให้หมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม    มีการแสดงความคิดเห็น 
การประเมินตนเองและเพื่อนในการปฏิบัติงาน  พฤติกรรมในชั้นและการทำกิจกรรมกลุ่มจากภาพเบื้องหลังการทำงาน  การตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมาย  พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และงานกิจกรรมของหลักสูตร คณะฯ มหาวิทยาลัย  ประสิทธิภาพผลงานกลุ่มในชั้นเรียน
5.1.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
5.1.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
5.1.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานเว็บไซต์
ฝึกฝนให้มีการนำเสนอผลงาน และอภิปรายผลการปฏิบัติงาน กระบวนการทำงาน การพบปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขในการทำงานทีละกลุ่ม เปิดโอกาสในเพื่อนในห้อง ได้ซักถาม เสนอข้อคิดเห็น รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน โดยให้แต่ละกลุ่มตอบคำถามหรือไขข้อสงสัย
การเลือกใช้ภาษาในการอธิบาย และการถามตอบแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน   ประเมินจากความสามารถในการสื่อสาร ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของกิจกรรม   ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอของนักศึกษา
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ  
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง  
6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีการทำตามแบบ สามารถประยุกต์ใช้กรณีศึกษาในการสร้างสรรค์ผลงาน ตามแนวทางของการปฏิบัติงาน ได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง รวมถึงสามารถสร้างผลงานโดยเน้นความสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม
ประเมินกระบวนการปฏิบัติงาน   ความถูกต้องตามหลักการ   ประสิทธิภาพของงานและความตรงต่อเวลา   ความคิดสร้างสร้างสรรค์ของผลงาน   มีการกำหนดแนวทางการทำงานที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบ   สามารถนำไปใช้งานได้/มีความเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 2 3 1 1 2 3 1 2 3
1 BAACD120 การออกแบบเวบไซต์และอินเตอร์เฟซ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1(1) ,1(2) การเข้าเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การแสดงพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์ในการทำงานและการอ้างอิงข้อมูล ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1(1) ,2(2) ,2(3) ,3(2) ,3(4) ,4(1) ,5(3) ,6(1) ,6(2) ผลงานรายบุคคล (แบบฝึกหัด ชิ้นงาน งานในคาบ) / ผลงานกลุ่ม 1 ,2 ,4 ,6 ,10 ,13 ,14 60%
3 3(2), 6(2) การนำเสนอ 16 10%
4 4(1), 6(1) ,6(2) การสอบปฎิบัติ 9 ,17 20%
-
สุภชัย ชนะไชยะสกุล. (2549). Web Flash สรrางเว็บแอนิเมชั่นสวยๆดrวยตนเอง. นนทบุรี: ไอดีซี.
อนรรฆนงคA คุณมณี. (2551). Basic to Flash ActionScript. นนทบุรี: ไอดีซี.
ธวัชชัย ศรีสุเทพ. (2544). คัมภีรA web design. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
อัศวิน โอกาดrา. (2555). Flash CS5 Animation&Interaction. กรุงเทพฯ : เน็ตดีไซนA.
เว็บไซตA ที่เกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต
1.1     ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้ 
ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน 
1.2     ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้ 
ความรู้ความสามารถโดยรวม และประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรายวิชานี้ ความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชานี้ ข้อเสนอแนะอื่นๆ
2.1     ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ ๑ 
2.2     สุ่มสังเกตการสอนและประเมินการจัดการเรียนการสอน(โดยเพื่อนอาจารย์) ในประเด็นต่อไปนี้ 
ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความรู้ความสามารถทางวิชาการในหัวข้อที่สอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์การศึกษาหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน 
2.3     ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเองในประเด็นต่อไปนี้ 
ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
3.1     ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณา         รวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละคาบการสอน 
3.2     ประชุม/สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการ            ศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้ 
ผลการศึกษาของนักศึกษา ผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ผลการประเมินการสอน บันทึกของกลุ่มอาจารย์ผู้สอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากได้ จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษารวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรง คุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
เมื่อสิ้นสุดทุกปีการศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะจัดประชุม / ติดต่อขอความคิดเห็นจาก อาจารย์ที่ร่วมสอน รวมทั้งพิจารณาสรุปผลการประเมินการสอน ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เพื่อกำหนดประเด็น ที่เห็นสมควรจัดให้มีการปรับปรุงในการศึกษาต่อไป ทั้งเนื้อหา ลำดับการสอน วิธีการสอนและการประเมินผล