การบัญชีชั้นต้น

Introduction to Accounting

1. เข้าใจความหมาย วัตถุประสงค์ วิวัฒนาการของการบัญชี และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน
2. เข้าใจหลักการ วิธีการบัญชี และรายงานทางการเงินสำหรับสำหรับธุรกิจประเภทกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า กิจการอุตสาหกรรม ตลอดจนเข้าใจวิธีการบันทึกบัญชีส่วนของเจ้าของ และการบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. สามารถบันทึกบัญชีและจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับธุรกิจประเภทกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า กิจการอุตสาหกรรม ตลอดจนสามารถบันทึกบัญชีส่วนของเจ้าของ และการบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. ตระหนักในความสำคัญของการบัญชี และจรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี
เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เป็นปัจจุบันเฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาจะมีการทำรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา (มคอ5) และนำข้อมูลในประเด็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงไปใช้ในภาคการศึกษาต่อไป ทั้งนี้เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี จรรยาบรรณของวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน กรอบแนวคิดสำหรับ รายงานทางการเงิน วงจรการบัญชี การวิเคราะห์รายการค้าและวิธีการบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะ การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท การปรับปรุงและปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด การจัดทำงบทดลอง กระดาษทำการ ตลอดจนการจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการและกิจการซื้อขายสินค้า การบัญชีส่วนของเจ้าของ การบัญชีขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม
 นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1. มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี
2. สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
3. แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม
1. กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการเข้าเรียน การแต่งกาย การส่งงานหรือแบบฝึกหัดตามเวลาที่กำหนด
2.บรรยายสอดแทรกในเนื้อหาวิชา ในระหว่างทำการสอนเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม 
1. ติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ตลอดภาคการศึกษาให้คะแนน 10%
2. สังเกตพฤติกรรมในการเข้าชั้นเรียน การส่งแบบฝึกหัด หรืองานที่มอบหมาย
3. ประเมินจาการทุจริตในการสอบ
4. ประเมินจากการส่งงานหรือแบบฝึกหัดทันตามเวลาที่กำหนด
1. มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
2. มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
3. มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
4. มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
1. การบรรยาย ถาม- ตอบในชั้นเรียน 
2. ฝึกปฏิบัติการบันทึกบัญชีและทำงบการเงินในชั้นเรียน 
3. ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติจากแบบฝึกหัด
1. สอบกลางภาค
2. สอบปลายภาค 
3. งานทีมอบหมาย 
4. การตอบคำถามในชั้นเรียน  
1. มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วย วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
2. มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
3. มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
4. มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
1. บรรยาย ยกตัวอย่าง ถาม - ตอบในชั้นเรียน 
2. ฝึกการคิด วิเคราะห์รายการค้า จากโจทย์แบบฝึกหัด
3. ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติบันทึกรายการค้าและจัดทำงบการเงินในชั้นเรียน 
1.สอบกลางภาคเรียน 
2. สอบปลายภาคเรียน 
3. การตอบปัญหาในชั้นเรียน 
4. ทดสอบย่อย
1. มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
1. มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน 
 
1. ประเมินผลจากแบบฝึกหัดที่มอบหมาย
2. ประเมินผลจากการทดสอบย่อย
1. มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงาน การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
2. มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ
3. มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
1. ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียนโดยใช้ทักษะทางเทคโนโลยี
1. สามารถคำนวณตัวเลขได้อย่างรวดเร็จถูกต้อง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2..ด้านการเรียนรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านการวิเคราะห์ ตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 .3.4 4.1 4.2 4.3 5.1 5.2 5.3
1 BACAC110 การบัญชีชั้นต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1/2.3/3.1/3.2 สอบย่อยครั้งที่ 1 การวิเคราะห์รายการค้า การบันทึกรายการทางการบัญชี 5 10%
2 2.1/2.3/3.1/3.2 สอบกลางภาคเรียน การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด การปิดบัญชีและการจำทงบการเงิน 9 30%
3 2.1/2.3/3.1/3.2 สอบย่อยครั้งที่ 2 การบัญชีของการซื้อขายสินค้า+การบัญชีส่วนของเจ้าของ (ห้างหุ้นส่วน) 12 10%
4 2.1/2.3/3.1/3.2 สอบปลายภาคเรียน ส่วนของเจ้าของ - บริษัท การบัญชีของกิจการอุตสาหกรรม 18 30%
5 2.1/2.3/3.1/3.2 สอบย่อยครั้งที่ 3 สมุดรายวันเฉพาะ การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ้ม 1-17 10%
7 1.1/1.2/1.3/4.2/5.3 งานที่มอบหมาย แบบฝึกหัก พฤติกรรมในชั้นเรียน การแต่งกายถูกระเบียบ การเข้าเรียนตรงเวลา การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ไม่กระทำทุจริตในการสอบ และไม่คัดลอกงานเพื่อน 1-17 5% 5%
Principles of Financial Accounting (IFRS) By John Wild Winston Kwok Ken W.Shaw Barbara Chiappetta. Second Edition. วัฒนา ศิวะเกื้อ, ดุษฎี สงวนชาติ และนันทพร พิทยะ. การบัญชีขั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560.
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญที่นักศึกษาจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์, และสมเดช โรจน์คุรีเสถียร. การบัญชีขั้นต้น. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล. 2552. ธารี หิรัญรัศมี, พลพธู ปียวรรณ วรศักดิ์ ทุมมานนท์, ภาวิณี มะโนวรรณ และวศธร ชุติภิญโญ. การบัญชีขั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด. 2559. ธารี หิรัญรัศมี, พลพธู ปียวรรณ วรศักดิ์ ทุมมานนท์, ภาวิณี มะโนวรรณ และวศธร ชุติภิญโญ. การบัญชีขั้นต้น ฉบับเสริมประสบการณ์. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด. 2559. ศศิวิมล มีอำพล. หลักการบัญชีขั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัท อินโพไมนิ่ง จำกัด. 2558. สุกัลยา ปรีชา. หลักการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด. 2559. อัญชลี พิพัฒนเสริญ. การบัญชีขั้นต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด. 2559. กฤติยา ยงวณิชย์. การบัญชีการเงิน IFRS. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล. 2556. วันชัย ประเสริฐศรี และคณะ. การบัญชีชั้นต้น 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส. 2549. ดวงสมร อรพินท์, กรชร เฉลิมกาญจนา, แพร กีระสุนทรพงษ์, ปริญดา มณีโรจน์ และสมพงษ์ พรอุปถัมภ์. การบัญชีการเงิน. พิมครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557 มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
 
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เว๊ปไซต์ ต่อไปนี้
www.fap.or.th
www.dbd.go.th
www.set.or.th
1) ให้นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ตามแบบประเมินของมหาวิทยาลัย
1) พิจารณาจากผลคะแนนการสอบ (สอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค)
2) พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้ (ใบงาน แบบฝึกหัด รายงาน)
3) พิจารณาจากพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
1) นำผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษาและผลประเมินการสอน มาพิจารณาการปรับปรุงการสอน
2) ผู้สอนควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เข้ารับการอบรมสัมมา ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาการสอน
            1) การทวนข้อสอบและเกณฑ์ที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้
    1) นำเอาผลการประเมินข้อ1 ข้อ2 และข้อ4 มาวิเคราะห์และหาแนวพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้