การสื่อสารเคลื่อนที่

Mobile Communication

เพื่อให้เข้าใจหลักการและแนวคิดพื้นฐานของระบบการสื่อสารไร้สาย สามารถอธิบายความสำคัญของเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบการสื่อสารไร้สาย เช่นการเข้ารหัส การมอดูเลต การส่งสัญญาณในระบบสื่อสารไร้สาย เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับโครงข่ายระบบสื่อสาร มาตรฐานสำหรับการสื่อสารไร้สาย การเชื่อมโยงการสื่อสารระบบการสื่อสารไร้สาย สามารถเปรียบเทียบสมรรถนะและข้อดีข้อเสียของเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบสื่อสาร เพื่อนำไปใช้งานในระบบสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเป็นพื้นฐานในการศึกษาเทคนิคและระบบใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ในอนาคต
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักการของระบบสื่อสารไร้สาย สามารถวิเคราะห์ ออกแบบและประยุกต์ใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบสื่อสาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการทำงานในระบบการสื่อสารโทรคมนาคมได้อย่างสูงสุด และเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจในหลักการระบบสื่อสารไร้สาย เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ศึกษาเกี่ยวกับระบบการสื่อสารแบบไร้สาย  ทฤษฏีและหลักการของระบบการสื่อสารแบบเคลื่อนที่  ลักษณะและผลกระทบของการแพร่กระจายคลื่นวิทยุ  เทคนิคการมอดูเลต  การเข้ารหัสเสียงพูด (speech coding)  การเข้ารหัสช่องสัญญาณ  การเฟดดิ้งและไดเวอรซิตี้  เทคนิคการมัลติเพล็กซ์  อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระบบการสื่อสารแบบเคลื่อนที่  มาตรฐานสำหรับการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ในปัจจุบัน  3G 4G 5G และอื่นๆ  ระบบเซลลูลาร์  เทคนิคการเข้าถึงหลายทางและการตรวจจับผู้ใช้งานหลายคน  ปริมาณของช่องสัญญาณ  ช่องสัญญาณแบบผู้ใช้หลายคน  ระบบ MIMO  และระบบอัลตราวายแบนด  ระบบการสื่อสารไร้สายแบบต่างๆ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้ดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งอาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้ 1.1.1    มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.1.2    มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 1.1.3    มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.1.4    เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  
1.2.1    สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม 1.2.2    เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม 1.2.3    ให้ความสำคัญในวินัย ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด 1.2.4    เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 1.2.5    สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม 1.2.6    ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ 1.2.7    ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ  
1.3.1    ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 1.3.2    ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 1.3.3    ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 1.3.4    ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา 1.3.5    มีการอ้างอิงเอกสารหรือแหล่งที่มาของหลักการทฤษฎีและแนวคิดที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม  
มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการระบบสื่อสารไร้สาย การเข้ารหัส การมอดูเลต  การส่งสัญญาณในระบบการสื่อสารไร้สาย โครงข่ายของระบบการสื่อสารไร้สาย มาตรฐานการสื่อสารไร้สาย การเชื่อมโยงระบบการสื่อสารไร้สาย ติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบสื่อสารไร้สายโครงข่ายสื่อสารอย่างเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ศึกษากับเทคโนโลยีต่าง ๆ มาพัฒนา บูรณาการและประยุกต์ใช้ให้เข้ากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
บรรยาย  อภิปราย การทำรายงานและการนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาข้อมูลและบทความที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1    ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความเข้าใจหลักการ การคำนวณเพื่อการวิเคราะห์ 2.3.2    ประเมินจากการรายงานและการนำเสนอรายงาน  
พัฒนาความคิด วิเคราะห์ เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญญาและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเรียนได้อย่างเป็นระบบ และสามารถบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
3.2.1    การมอบหมายงาน/การบ้าน ที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา 3.2.2    การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงาน ทางเอกสาร 3.2.3    การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ  
3.3.1    สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และการคำนวณเพื่อการวิเคราะห์ บรูณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชาการวิศวกรรมสายส่งและโครงข่ายการสื่อสาร 3.3.2    ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน  3.3.3    ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 3.3.4    สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา การเลือกใช้วิธีการในแก้ไขปัญหาในงาน/การบ้านที่ได้รับมอบหมาย  
4.1.1    พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2    พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานหรือข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.1.3    พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา 4.1.4    สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม  
4.2.1    มอบหมายงานรายกลุ่มหรือรายบุคคล หรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา 4.2.2    การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน  
4.3.1    ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2    ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3    ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง  
5.1.1    ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข 5.1.2    พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล การเขียน จากการทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.3    พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของรายงาน/การบ้านที่มอบหมายให้ 5.1.4    พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ 5.1.5    พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม 5.1.6    พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.1.7    พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้  
5.2.1    มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  5.2.2    นำเสนอโดยรูปแบบและการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลและนำเสนอรายงานได้อย่างเหมาะสม  
5.3.1    ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.3.2    ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอรายงาน 5.3.3    ประเมินจากการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม  
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 2.1, 2.3, 3.1, 5.2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อย สอบปลายภาค 9 6, 14 17 30% 10% 30%
2 1.3, 2.1, 2.3, 3.1, 6.1 การส่งรายงานความก้าวหน้าตามที่ได้รับมอบหมาย การส่งงานและรายงานตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.3, 6.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. Theodore S. Rappaport, Wireless Communications Principles and Practice. Prentice Hall PTR, 1996
            2. Zheng Pei, Zhao Feng, Tipper David, Tatuya Jinmei, Shima Keiichi, Qian Yi, Perterson Larry L., Ni Lionel M., Manjunath D., Li Qing. Kuri Joy, Kumar Anurag, Krishnamurthy Prashant, Guibas Leonidas, Garg Vijay K., Farrel Adrian Davie Bruce S., Wireless Networking Complete, Morgan Kaufmann Publishers in an imprint of Elsevier, 2010
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1    การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2    แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1    มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม 4.2    การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4