การคิดสร้างสรรค์และแนวคิดในการออกแบบ

Creative Thinking and Concept in Design

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการคิดแบบต่าง ๆ เตรียมความพร้อมสู่กระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ การสร้างแนวคิดในการออกแบบเชิงนวัตกรรม จากระดับนามธรรมไปสู่ความคิดที่มีการเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ มีขอบเขต โครงสร้างที่ชัดเจน มีทักษะและสามารถนำเสนอการคิดสร้างสรรค์และถ่ายทอดรูปแบบการคิดงานสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสมที่นำไปสู่แนวทางการออกแบบที่เป็นประโยชน์
เพื่อพัฒนาเนื้อหาของวิชาให้มีความทันสมัย และจากสถาณการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายให้จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ จึงพัฒนาวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในรูปแบบออนไลน์ในช่วง 9 สัปดาห์แรก โดยมีการสอนภาคทฤษฎีสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงแบบออนไลน์และมอบหมายงานภาคปฏิบัติ ด้วยการ work from home ส่งงานและนำเสนอทางออนไลน์ ในส่วนภาคปฏิบัติ ในช่วง 9 สัปดาห์หลังให้สามารถปฏิบัติการในชั้นเรียนได้ จึงได้ทำการพัฒนาปรับปรุงรายวิชานี้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการคิดแบบต่าง ๆ กระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ การสร้างแนวความคิดในการออกแบบเชิงนวัตกรรม วิธีวิเคราะห์กลั่นกรองความคิดจากระดับนามธรรมไปสู่ความคิดที่มีการเรียบเรียงอย่างเป็นระบบและมีขอบเขตโครงสร้างที่ชัดเจน ฝึกทักษะคิดสร้างสรรค์ที่เป็นความคิดของตนเองและถ่ายทอดรูปแบบงานสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรม
แจ้งในวันแรกของการเรียน ถึงกำหนดการ วันเวลา ช่องทางที่สามารถให้คำปรึกษาแนะนำ ทางสื่อออนไลน์
 
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และ สิ่งแวดล้อม
4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 1.  ปลูกฝังให้เข้าใจความหลากหลายของสังคม เคารพต่อกฏข้อกำหนดของวัฒนธรรมองค์กร การตรงเวลา 
 2.  ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง คือ มีความซื่อตรง เชื่อมั่น และเคารพตนเอง เห็นตัวเองมีคุณค่า พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ 
 3.  ปลูกฝังให้เรียนรู้ที่จะพัฒนางานออกแบบของตนเอง ไม่คัดลอกงานขอผู้อื่นมาเป็นงานของตัวเอง  เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร  มีจิตใจสาธารณะ                            
 1.  การเข้าชั้นเรียน  การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนและการส่งงานตามกำหนด
 2.  การมีวินัยในการร่วมกิจกรรม ความตั้งใจการเรียนและการปฏิบัติงาน
 3.  มีการอ้างอิงที่มาจากการสืบค้นข้อมูลจากที่ต่างๆ ในงานที่ได้รับมอบหมาย
 
 
1 มีความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการและทฤษฎีสำคัญในด้านศิลปะและการออกแบบสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
3.สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานได้เป็นอย่างดี
1.  บรรยาย  อภิปรายในชั้นเรียนและการถามตอบ
2. การทำงานกลุ่มและการนำเสนองานที่มอบหมาย
3. เชิญอาจารย์ต่างสถาบันหรือนักออกแบบที่มีประสบการณ์มาวิพากย์และให้ข้อเสนอแนะในการนำเสนอ
 1.  ประเมินผลจากการนำเสนองานภาคข้อมูลและการวิเคราะห์ที่มอบหมาย
 2.  ประเมินผลด้วยการนำเสนอผลการคิดวิเคราะห์งานออกแบบ ทั้งภาคข้อมูล จำนวน 2 ครั้ง และภาคออกแบบ จำนวน 2 ครั้ง
1. ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1.  ให้นักศึกษานำเสนอหัวข้อที่ตนเองสนใจ 
2.  ใช้วิธีการเรียนการสอนที่หลากหลายทั้งรูปแบบออนไลน์เเละการเรียนรู้ทั้งในเเละนอกห้องเรียน ให้ยืดหยุ่นเพื่อพัฒนาและยกระดับความสามารถของผู้เรียน
3.  ใช้วิธีสอนโดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อดึงศักยภาพที่มีของนักศึกษาแต่ละคนให้เป็นที่ประจักษ์
4.  ใช้ระบบการสอนที่ไม่ตีกรอบความคิด เพื่อให้นักศึกษาฝึกวิธีการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง
1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการออกแบบอย่างยั่งยืน
2 วัดผลจากการประเมินผลงานและการนำเสนอผลงาน
3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3 สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. การเสนอโครงงานปฏิบัติตามกลุ่มที่คัดเลือกกันเอง
2.  อภิปรายผลงานแต่ละกลุ่มร่วมกัน
3.  การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละกลุ่ม
 
1.  การอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนและวุฒิภาวะในการเสนอความคิดเห็น 
2.  พฤติกรรมการนำเสนอผลงานและการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันให้เกิดผลสัมฤทธิ์
3.  การตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมาย
1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าและนำเสนอรายงานจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือและมีการอ้างอิงที่ถูกต้อง 
2. การวิเคราะห์และตีความข้อมูล ด้วยภาษาและรูปแบบที่เหมาะสมถูกต้อง 
3 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1 ประเมินจากการนำเสนองาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 MAAAC102 การคิดสร้างสรรค์และแนวคิดในการออกแบบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม - มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ - มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดภาคการศึกษา 10
2 ความรู้ - มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฎิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา - สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา ตลอดภาคการศึกษา, และเน้นสัปดาห์ที่ 8 และ 17 30
3 ทักษะทางปัญญา - มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ - มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ตลอดภาคการศึกษา เน้นสัปดาห์ที่ 15-16-17 40
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ - มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ตลอดภาคการศึกษา 10
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม - สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ตลอดภาคการศึกษา เน้นสัปดาห์ที่ 10-15 10
1. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
2. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). การคิดเชิงวิพากษ์. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
3. เดชา บุญค้ำ. (2554) หนังสือนำทางสำหรับแนวคิดและเครื่องมือการคิดเชิงวิจารญาณ. มูลนิธิการคิดเชิงวิจารณญาณ. เข้าถึงจาก http://www.criticalthinking.org/pages/translations-in-thai/866
4. ทิพย์สุดา ปทุมานนท์ (2555) จิตวิทยาสถาปัตย์สวัสดี. กรุงเทพฯ: ลายเส้น พับบริชชิ่ง จำกัด
5. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2556) การคิดอย่างเป็นระบบ. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการนักวิจัย มทร.ล้านนา เมื่อ 12-13พฤษภาคม 2556.
6. สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ (2554) วิจัย...พลังเปลี่ยนการเรียนคิด: มรรคาแห่งพุทธิพิสัย.พิมพ์ครั้งที่1. เชียงใหม่. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น.
7. สัญฐิตา กาญจนพันธุ์ (2554) ความคิดสีเขียว วาทกรรมและความเคลื่อนไหว. เชียงใหม่. สถาบันวิจัยสังคมและคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
8. สำนักงาน กพ. (2559) การคิดเชิงสร้างสรรค์ หนังสืออิเลคทรอนิค เข้าถึงจาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf
9. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, บุษกร เสรฐวรกิจ, ศิวาพร กลิ่นมาลัย (2556) จิตวิทยาสภาพแวดล้อม: มูลฐานการสร้างสรรค์และจัดการสภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จี.บี.พี เซ็นเตอร์ จำกัด.
10. หัสชัย สิทธิรักษ (2560) รายวิชาการคิดและการตัดสินใจ (เอกสารออนไลน์) โดย Hussachai Sittirug เข้าถึงจาก http://hussachaisit.blogspot.com/2017/02/blog-post_23.html
11. David Bohm (2554) ว่าด้วยสุนทรียสนทนา. (เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข, แปล). กรุงเทพ: สวนเงินมีมา (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 2011)
12. Ellen Lupton (2557) Graphic Design Thinking: ก้าวข้ามการ Brainstrom. (จุติพงศ์ ภูสุมาศ, แปล). นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 2011).
บทความ
13. สุทธิพงษ์ พงษ์วร (2555) ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหาและกิจกรรมการออกแบบ. นิตยสาร สสวท. ปีที่ 40 ฉบับที่ 175: 28-31 (ออนไลน์)
14. สิริชัย ดีเลิศ (2558) กระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอัตลักษณ์เชิงสร้างสรรค์. วารสาร Veridian E-Journal, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 .2558: 1341-1360
15. ศศิมา สุขสว่าง.(2564) การระดมความคิด (Brainstorm) เทคนิคความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม.(ออนไลน์) เข้าถึงจาก https://www.sasimasuk.com เมื่อ 25 พค.2564.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์