การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเหมืองแร่

Basic Mining Engineering Training

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์พื้นฐานต่างๆ ในงานวิศวกรรม
2. เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการปฎิบัติงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์พื้นฐานต่างๆ ในงานวิศวกรรม
3. เพื่อให้นักศึกษามีการวางแผนและสามารถจัดลำดับขั้นตอนในการปฎิบัติงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์พื้นฐานต่างๆ ในงานที่มอบหมายให้ปฏิบัติ
4. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือกลที่มีใช้อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม และการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยอยู่เสมอ
5. เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของวิชาการฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเหมืองแร่
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ โดยการนำความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการเบื้องต้นของวิชาการฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเหมืองแร่ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
3. เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของนักศึกษาในยุคปัจจุบัน
4. เพื่อให้สอดคล้องกับลักษะคำอธิบายรายวิชาของสภาวิศวกรที่มีการปรับเปลี่ยนและประกาศใช้ฉบับล่าสุด
5. เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก 5 ปี
ศึกษาและปฏิบัติงานพื้นฐาน ด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัด การใช้ตะไบลดขนาดชิ้นงาน เลื่อยมือ ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในงานวิศวกรรมพื้นฐานและฝึกการใช้ ตลอดจนวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือกลที่มีใช้อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม ฝึกปฏิบัติงานหรือโครงงานในสาขาวิศวกรรมเป็นงานเน้นการปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย และการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยอยู่เสมอ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านสื่อออนไลน์
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์      (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานได้อย่างเป็นระบบอย่างเหมาะสม
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 ให้ความสำคัญวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด
1.2.2 การสอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม
1.2.3 ผู้สอนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
1.3.1 การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าขั้นเรียนลากรส่งงานตรงเวลา
1.3.2 พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
1.3.3 การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
มีความรู้ในหลักการทำงานของเครื่องกลพื้นฐานสำหรับงานวิศวกรรม ได้แก่ เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องไส เครื่องเจาะ และเครื่องเจียระไน มีความรู้ในหลักการเชื่อมไฟฟ้าและเชื่อมแก๊ส ตลอดจนวิธีการ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือกล ที่มีใช่อยู่ในโรงงาน ฝึกปฏิบัติงานพื้นฐานทางวิศวกรรม
2.2.1 การบรรยาย ถาม - ตอบ และการสาธิตเกี่ยวข้องกับหัวข้อการเรียนรู้
2.2.2 มอบหมายให้ทำรายงานเรื่อง เครื่องจักรกล พื้นฐานในโรงงานอุตสาหกรรมและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.1 พิจารณาจากรายงานที่มอบหมาย
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล
3.1.1 พัฒนาความสามารถในการนำความรู้มาคิดอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพ
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานผลิตชิ้นส่วนตามที่กำหนดให้ในใบปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานในโรงงานฝึกปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และปลอดภัย
3.3.1 ประเมินผลจากผลงานโดยการวัดขนาดของชิ้นงานที่มอบหมายในแต่ละใบงาน
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล ตามใบงานที่กำหนดให้
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินพฤติกรรม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจการรมของนักศึกษา
5.1.1 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.2 ทักษาในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงานและรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGMN101 การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเหมืองแร่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ภาคปฏิบัติ ผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ข้อที่ 1.4, 1.5, 2.2, 2.4, 2.5, 3.3, 4.3, 4.5, 5.5 และ 6.1 1. วัดตรวจสอบขนาดของชิ้นงานตามใบงานที่กำหนด 2. การเขียนโปรแกรมจำลองการทำงานของเครื่องจักที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 3. การนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา วิธีประเมินผลที่ 1 (70 %) วิธีประเมินผลที่ 2 (10 %) วิธีประเมินผลที่ 3 (10 %)
2 ผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) ข้อที่ 1.1, 3.5, 4.4, 5.4, และ 6.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
สุรพิน  พรมแดน, เอกสารประกอบการสอน และใบงาน การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเหมืองแร่ หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชางานเครื่องมือกลเบื้องต้น ของบริษัท สำนักพิมพ์ เอมพันธ์ สื่อแผ่นใสประกอบการเรียนการสอน วิชางานเครื่องกลเบื้องต้น เรียบเรียงโดย อาจารย์ชะลอ การทวี จัดพิมพ์โดยบริษัท สำนักพิมพ์ เอมพันธ์
- ไม่มี
       เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
- เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาเทคโนโลยีเครื่องมือกล เช่น งานกลึง งานกัด งานเชื่อง
- โปรแกรม Master cam สำหรับงาน CAD/CAM
- โปรแกรม Killer สำหรับจำลองการทำงาน (Simulation)งานกลึง และงานกัดที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CNC)
- โปรแกรม Cimco สำหรับงาน CAD/CAM
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ