วงจรไฟฟ้า

Electric Circuits

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบวงจรไฟฟ้า กฎของโอห์มและเคอร์ชอฟฟ์ สัญญาณแบบซายนูซอยดัล จำนวนเชิงซ้อน การวิเคราะห์วงจรตามหลักการวงจรโนด การวิเคราะห์วงจรตามหลักการวงจรเมช ทฤษฎีบทของเทเวนินและนอร์ตัน การตอบสนองต่อเวลา วงจรไฟฟ้าสามเฟส การแปลงวงจรสามเฟสระหว่างแบบสตาร์กับแบบเดลต้า การปรังปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า การถ่ายทอดกำลังไฟฟ้าสูงสุด และวงจรรีโซแนนซ์ ตลอดจนเพื่อการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปศึกษารายวิชาขั้นสูงอื่นๆต่อไป
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจในวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้เรียนและสื่อทางสังคมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ความเข้าใจเกี่ยวกับศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบวงจรไฟฟ้า กฎของโอห์มและเคอร์ชอฟฟ์ สัญญาณแบบซายนูซอยดัล จำนวนเชิงซ้อน การวิเคราะห์วงจรตามหลักการวงจรโนด การวิเคราะห์วงจรตามหลักการวงจรเมช ทฤษฎีบทของเทเวนินและนอร์ตัน การตอบสนองต่อเวลา วงจรไฟฟ้าสามเฟส การแปลงวงจรสามเฟสระหว่างแบบสตาร์กับแบบเดลต้า การปรังปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า การถ่ายทอดกำลังไฟฟ้าสูงสุด และวงจรรีโซแนนซ์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ต่อการเรียน โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลการทดลองปฏิบัติงานด้านอิเล็กทรอนิกส์และแก้ไขในปัญหาในการทำงาน มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
  กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับองค์ประกอบวงจรไฟฟ้า กฎของโอห์มและเคอร์ชอฟฟ์ สัญญาณแบบซายนูซอยดัล จำนวนเชิงซ้อน การวิเคราะห์วงจรตามหลักการวงจรโนด การวิเคราะห์วงจรตามหลักการวงจรเมช ทฤษฎีบทของเทเวนินและนอร์ตัน การตอบสนองต่อเวลา วงจรไฟฟ้าสามเฟส การแปลงวงจรสามเฟสระหว่างแบบสตาร์กับแบบเดลต้า การปรังปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า การถ่ายทอดกำลังไฟฟ้าสูงสุด และวงจรรีโซแนนซ์
บรรยายและแสดงตัวอย่างการคำนวณ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดในห้องเรียนและนำเสนอวิธีการวิเคราะห์วงจรในแบบฝึกหัดหลังการบรรยายแต่ละหัวข้อเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตามเจตนาของผู้สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี ประเมินจากการเข้าเรียนและการปฎิบัติการทดลองวงจรไฟฟ้าตามบทเรียนแต่ละบทในห้องเรียน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าบนพื้นฐานและทฤษฎีทางไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง
บรรยายและแสดงตัวอย่างการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากวงจรไฟฟ้าด้วยสัญญาณแบบต่างๆ ให้ผู้เรียนมีการปฎิบัติการทดลองวงจรไฟฟ้าตามบทเรียนแต่ละบทในห้องเรียน วิเคราะห์กรณีศึกษาในการนำวงจรไฟฟ้าไปใช้ให้เหมาะสม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และต้องอาศัยความเข้าใจ วัดผลจากการประเมินการปฎิบัติการทดลองวงจรไฟฟ้าตามบทเรียนแต่ละบทในห้องเรียน สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและการอธิบายความเข้าใจให้ผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน
มอบหมายการบ้านแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเวลาเพื่อให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสปรึกษาและแบ่งปันความาเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้เรียนวิชาวงจรไฟฟ้าด้วยกัน
ประเมินจากการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินจากการปฎิบัติการทดลองวงจรไฟฟ้าตามบทเรียนแต่ละบทร่วมกันในห้องเรียน ประเมินจากคะแนนสอบย่อย 
ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารด้าน การแปล ภาษาอังกฤษ โดยการใช้ตำราภาษาอังกฤษในกระบวนการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าจากตัวอย่างและแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน พัฒนาทักษะการอธิบายวิธีการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าจากแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนในห้องเรียน พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ และการใช้ โปรแกรมเพื่อช่วยการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าและคำนวณ เช่น PSpice และ MATLAB
 1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเอกสาร ตำราเรียน และอินเตอร์เน็ต
2. แสดงตัวอย่างการวิเคราะห์เชิงตัวเลขบนกระดานและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินจากการประเมินการปฎิบัติการทดลองวงจรไฟฟ้าตามบทเรียนแต่ละบทในห้องเรียนด้วยเทคโนโลยี
มีทักษะการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าจริงในเบื้องต้น มีทักษะในการเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า
ให้ผู้เรียนคิดรูปแบบวิธีการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าด้วยตนเองจากกรณีศึกษา มอบหมายงานให้ผู้เรียนจำลองวงจรไฟฟ้าในโปรแกรมเพื่อช่วยในการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น
ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ประเมินจากการประเมินการปฎิบัติการทดลองวงจรไฟฟ้าตามบทเรียนแต่ละบทในห้องเรียน ประเมินจากการทดสอบย่อย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 4 1 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDEE401 วงจรไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1,2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 4 สอบปลายภาค 3 6 8 11 15 17 5% 5% 25% 5% 5% 25%
2 1.1, 1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2, 4.1 – 4.6, 5.3-5.4 วิธีการวิเคราะห์ปัญหา การปฏิบัติการทดลองใบงาน ตลอดภาคการศึกษา 25%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
Charles K. Alexander and Matthew N. O. Sadiku (2012). Fundamentals of Electric Circuits, 5th edition McGraw-Hill. รศ. ดร. สุริภณ สมควรพาณิชย์ และ รศ. ขนิษฐา แซ่ตั้ง, หนังสือหลักการเบื้องต้นทางวงจรไฟฟ้า 1. รศ. ดร. สุริภณ สมควรพาณิชย์ และ รศ. ขนิษฐา แซ่ตั้ง, หนังสือหลักการเบื้องต้นทางวงจรไฟฟ้า 2.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
3. ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ