หลักการตลาดในงานธุรกิจดิจิทัล

Principles of Marketing for Digital Business

1. เข้าใจบทบาทการตลาดที่มีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม
2. รู้องค์ประกอบของโครงสร้างระบบการตลาด และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ การตลาดในงานธุรกิจดิจิทัล
3. รู้หลักเกณฑ์การเลือกตลาดเป้าหมายในงานธุรกิจดิจิทัล
4. เข้าใจการประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่ของการตลาดในงานธุรกิจดิจิทัล
5. มีจริยธรรมการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการตลาดในงานธุรกิจดิจิทัล เข้าใจบทบาทและสภาพแวดล้อมทางการตลาด สามารถเลือกใช้กลยุทธ์ทางการตลาด และประยุกต์ใช้ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศทางการตลาดได้ ทั้งนี้ยังได้มีการปรับปรุงเนื้อหา กรณีศึกษา และตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับการจัดการการตลาด และสถานการณ์ทางธุรกิจในยุคดิจิทัล
          ศึกษาบทบาทและความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ และการพัฒนา แนวความคิดทางการตลาดในงานธุรกิจดิจิทัล กิจกรรมและหน้าที่ต่าง ๆ ทางการตลาด ระบบ ข้อมูลสารสนเทศและการวิจัยการตลาดในงานธุรกิจดิจิทัล ลักษณะและพฤติกรรมการซื้อของแต่ละตลาด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดส่วนประสมการตลาด การวางแผนกลยุทธ์การตลาดที่ เหมาะสมสำหรับแต่ละส่วนประสม เข้าใจการประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่ในกิจกรรมการตลาด จริยธรรมการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่ม 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต  
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญของงานที่ได้รับมอบหมายได้  
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม  
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการใช้ความรู้ทางวิชาชีพ ที่มีต่อบุคคล องค์กร และสังคมได้  
1.1.7 มีจิตสาธารณะและจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม  
1.1.8 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
1.2.2 ปลูกฝังให้นักศึกษามี วินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตาม ระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
1.2.3 การมอบหมายงานกลุ่มโดยเน้นให้เป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
1.2.4 เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชั้นเรียน
1.3.1 ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชา
1.3.2 ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการทำงานที่มอบหมาย
1.3.4 พฤติกรรมการกระทำที่แสดงออก และการทุจริตในการสอบ
2.1.1 หลักการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิผล
2.1.2 หลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในงานอาชีพ
2.1.3 หลักการคิดวิเคราะห์ การหาเหตุผล เพื่อการแก้ปัญหาและการจัดการ
2.1.4 หลักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการปรับตัวในสังคม
2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา
2.2.2 เรียนรู้จากสถานการณ์หรือกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง โดยมอบหมายให้ทำรายงาน การค้นตว้าและ นำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.3จัดกิจกรรมในชั้นเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ และฝึกปฏิบัติติร่วมกัน
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 การสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
2.3.3 การค้นคว้าและการนำเสนองาน
2.3.4 งานมอบหมาย เช่น การบ้าน การทดสอบย่อย 
3.1.1 ทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.1.2 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อการทำงาน
3.1.3 ทักษะการคิดวิเคราะห์ การหาเหตุผล เพื่อการแก้ปัญหาและการจัดการ โดยใช้หลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3.1.4 ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการพัฒนาตน ตามหลักศาสนา วัฒนธรรม และหน้าที่ความเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมสมัยใหม่
3.1.5 ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดเชิงบวกเพื่อการพัฒนาตนอย่างยั่งยื
3.2.1 การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.2 การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
3.3.1 ประเมินจากการนำเสนอรายงาน ผลการอภิปรายกรณีศึกษา
3.3.2 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบโดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหาอธิบายแนวคิดการแก้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา
3.3.3 ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงาน
4.1.1 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพ ได้อย่างมีประสิทธิผล
4.1.2 แก้ไข คิดวิเคราะห์ หาเหตุผล และจัดการกับปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนและเป็นนามธรรม ในงานอาชีพโดยใช้หลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
4.1.3 พัฒนาตนให้มีคุณลักษณะเหมาะสมกับงานอาชีพ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีคุณภาพตามหลักศาสนา วัฒนธรรม และหน้าที่ความเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมสมัยใหม่
4.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.2.2 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
4.2.3 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการ อภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
4.2.4 การมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน 
4.3.1 การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค 4.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่ม 4.3.3 การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน 4.3.4 สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
5.1.1 วางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการทางด้านเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ ความปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5.1.2 ปฏิบัติงานอาชีพ เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ตามหลักการและแบบแผนที่กำหนด โดยใช้/เลือกใช้/ปรับใช้กระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
5.1.3 เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ในการงานอาชีพตามหลักการ และกระบวนการ โดยคำนึงถึงความประหยัด และความปลอดภัย
5.1.4 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ พร้อมรับ และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเรียนรู้ตลอดชีพ
5.2.1 มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2.2 ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3.1 งานมอบหมาย และผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
5.3.2 ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การเขียนอ้างอิงในผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - งานที่มอบหมาย - การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า - การนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 30%
2 ด้านความรู้ การสอบกลางภาค 8 30%
3 ด้านความรู้ การสอบปลายภาค 14 30%
4 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2558). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2562). การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- เอก บุญเจือ. (2533). ระบบสารสนเทศทางการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 5. เชียงใหม่: ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไม่มี
เว็บไซต์และแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาหลักการตลาดในงานธุรกิจดิจิทัล
- นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมภายใน หรือภายห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา
- มีการประเมินการสอนโดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการคณะจากการสังเกตการสอน และการสัมภาษณ์นักศึกษา
- ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามที่ สกอ.กำหนด ทุกภาคการศึกษา ให้ผู้สอนเข้ารับการอบรมกลยุทธ์การสอน การวิเคราะห์ผู้เรียน อย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง
- มีการประชุมผู้สอนเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
- มีคณะกรรมการประเมินข้อสอบ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา และความเหมาะสมของการให้คะแนนในแต่ละรายวิชาในหลักสูตร
- มีการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คณะกรรมการของหลักสูตร การรายงานรายวิชาหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา การทบทวนเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอน และเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชา ต่อหัวหน้าหลักสูตร และคณะกรรมการประจำหลักสูตรร่วมพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปเพื่อวางแผนปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป