กลวิธีการเขียนรายงานและการนำเสนอ

Report Writing and Presentation

1.1  เกิดความรู้และเข้าใจหลักการเขียนรายงานทางวิชาการได้อย่างถูกต้อง
1.2 สามารถเขียนรายงานทางวิชาการได้ถูกต้องตามขั้นตอน
1.3  มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
1.4  มีทักษะในการนำเสนอรายงาน  โดยใช้รูปแบบ  เครื่องมือ  และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1.5 สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆ
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจหลักการเขียนรายงานเชิงวิชาการ  ขั้นตอนและส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการ  การพิมพ์รายงานทางวิชาการ  วิธีการนำเสนอรายงาน  หลักการเขียนการอ้างอิง และสร้างจิตสำนึกในด้านการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างมีจริยธรรม คุณธรรม
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการเขียนรายงานทางวิชาการ ขั้นตอนและส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการ  การพิมพ์รายงานทางวิชาการ  วิธีการนำเสนอรายงานทางวิชาการ  หลักการเขียนการอ้างอิง รวมถึงคุณธรรม และจริยธรรมในการทำรายงานทางวิชาการ 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ  3  ชั่วโมงต่อสัปดาห์  (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1. อาจารย์ประพฤติตนเป็นแบบอย่าง
2. กำกับดูแลอย่างจริงจัง  จนเกิดเป็นนิสัย
สังเกตพฤติกรรม
1. มีความรู้ ความเข้าใจทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในรายวิชาที่ศึกษา
- สอนแบบบรรยาย
- มอบหมายงานค้นคว้าเขียนรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- สอบข้อเขียน
- ดูเนื้อหาและแหล่งข้อมูลในผลงานที่ค้นคว้า
มีทักษะการปฏิบัติด้วยการบูรณาการความรู้ทางวิชาการไปใช้กับรายวิชาอื่นๆ
จัดให้มีการปฏิบัติในรายวิชา
สอบปฏิบัติ
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี
2. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
- จัดกิจกรรมใน/นอกชั้นเรียน
- มอบหมายงานกลุ่ม
- การประเมินจากเพื่อนร่วมกลุ่มกิจกรรม
- ประเมินผลจากกิจกรรมกลุ่ม
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
2. สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม
มอบหมายให้ทำรายงานทางวิชาการ และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการนำเสนอผลงาน
- การใช้ภาษาในการเขียนและบรรยายรายงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 GEBLC202 กลวิธีการเขียนรายงานและการนำเสนอ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค 9 25%
2 สอบปลายภาค 17 25%
3 ทดสอบย่อย และการนำเสนอผลงาน 1-16 30%
4 มอบหมายงานค้นคว้าทำรายงาน และแบบฝึกหัด 1-16 20%
- พาหุรัตน์ คงเมือง ทัยสุวรรณ์.  2561.  การเขียนโครงร่างการวิจัย.  สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ,  นนทบุรี
- สมนึก  ภัททิยธนี.  2557.   หลักการเขียนรายงานวิจัย 5 บท.  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,  มหาสารคาม. 
- ฉัตรรัตน์  เชาวรัตน์.  2547.  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ.  คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.  173 น.
- ชญาภรณ์  กุลนิติ.  2553.  สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 350 น.
- ชนะ  เวชกุล.  2529.  การเขียนรายงานจากการค้นคว้า.  โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.  158 น.
นวลศรี  จารุทรรศน์.  2552.  เอกสารประกอบการสอน การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. 
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง, ลำปาง.
175 น.
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). สืบค้น 11 มิถุนายน 2019, จาก http://library.cmu.ac.th/citation.html
การประเมินผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา :
        1.1 แบบประเมินผู้สอน  และแบบประเมินรายวิชาทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
        1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
        1.3 การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
      2.1 สังเกตพฤติกรรมความสนใจต่อการเรียนของนักศึกษา  (การซักถาม การร่วมอภิปราย การแสดงความคิดเห็น)
      2.2 จากกิจกรรมกลุ่มย่อยในชั้นเรียน   นอกชั้นเรียน  แบบฝึกหัด  งานมอบหมายในชั่วโมง
      2.3 จากการสังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม   การมีจิตอาสา   ความรับผิดชอบ  ตรงต่อเวลา
      2.4 จากผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
       3.1 ปรับปรุงเอกสาร ตำราที่ใช้ในการเรียนทุกปีการศึกษาเพื่อแก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
       3.2 ให้นักศึกษานำเสนอสิ่งที่ต้องการให้เพิ่มเติมในวิชานี้
       3.3 นำผลการประเมินที่ได้จากนักศึกษามาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น
      4.1 สังเกตการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งด้านการเรียน การมีวินัย การเข้าเรียนและการส่งงานตรงต่อเวลาความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย       
      4.2. ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
        5.1 มีการปรับปรุงเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ ให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์
        5.2 ปรับปรุงกิจกรรมต่างๆให้มีข้อบกพร่องน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
        5.3 พัฒนาเทคนิคการสอน   สื่อเทคโนโลยีการศึกษา ให้ทันสมัย น่าสนใจ  และนักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน