การพยากรณ์ธุรกิจ

Business Forecasting

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อธุรกิจ ตลอดจนการอาศัยข้อมูลทางสถิติ เพื่อใช้ในการพยากรณ์ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้งการประเมินผลการพยากรณ์เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อธุรกิจ ตลอดจนอาศัยข้อมูลทางสถิติเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจได้
ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ตลอดจนการอาศัยข้อมูลทางสถิติ เพื่อใช้ในการพยากรณ์ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้งการประเมินผลการพยากรณ์เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Line  สมาชิกกลุ่มในรายวิชา - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย 30 นาที/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
วิธีการสอน บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.3.1 ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา 
1.3.2 การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำแบบฝึกหัด และรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
ความรู้ที่ต้องได้รับ มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการตลาด มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการตลาด โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการจัดการการตลาดและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
2.2.2 ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ 
2.2.3 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หรือรายงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.1 ประเมินจากสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 
2.3.2 ประเมินจากงานและแบบฝึกหัดที่มอบหมาย และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีการซับซ้อนได้ด้วยตนเอง สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
3.2.1 การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดที่ได้มอบหมาย โดยให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 
3.2.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาทางการธุรกิจ
3.3.1 ประเมินจากแบบฝึกหัด กรณีศึกษา หรือรายงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน 
3.3.2 ประเมินจากกรณีศึ
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่ม ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา 
4.2.2 มอบหมายงานกลุ่ม
4.3.1 ประเมินจากแบบฝึกหัด รายงานที่นำเสนอ 
4.3.2 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.2.1 มอบหมายงาน ให้ค้นคว้าข้อมูลโดยให้ความสำคัญกับการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 
5.2.2 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเหมาะสมทั้งในรูปแบบรายงาน และการนำเสนอ
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย และวิธีการอภิปราย
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฎิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 4 5 2 1 1 2 1 2 1
1 BBABA655 การพยากรณ์ธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.2 การทดสอบ - การสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค 9,17 20% 30%
2 2.1.3 , 3.1.2 , 4.1.2 , 5.1.4 การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า -แบบฝึกหัด -การนำเสนอรายงาน - การทำรายงาน/งานที่มอบหมาย - การส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1.4 การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. อัจฉรา จันทร์ฉาย. (2544). การพยากรณ์เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2. อัจฉรา จันทร์ฉาย. (2557). เทคนิคการพยากรณ์เพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 3. นิภา นิรุตติกุล. (2558). การพยากรณ์การขาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 4. ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์. (2556). เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ : การวิเคราะห์อนุกรมเวลา.นครปฐม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล. 5. สมเกียรติ เกตุเอี่ยม. (2548). เทคนิคการพยากรณ์. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ. 6. John E Hanke. (2014). Business forecasting. Harlow : Pearson Educated Limited.
-
หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ Marketeer Brandage ฯลฯ วารสารนิตยสารบทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการตลาด Website ด้านการตลาด สถานการณ์ทางการตลาด และทางธุรกิจ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้ 
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น 
4.2 การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการตลาดให้มีความหลากหลายมากขึ้น