ปฏิบัติการพิเศษทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม

Special Practice inTelecommunication Engineering

1. รู้จักนวัตกรรมและแนวโน้มที่น่าสนใจทางด้านเทคโนโลยีและพัฒนาการทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม
2. เข้าใจแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม
3. เข้าใจหลักการทางด้านเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารทางดาวเทียม
4. เข้าใจหลักการทางด้านเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารทางแสง
5.เข้าใจหลักการทางด้านเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารแบบเครือข่าย Wireless LAN 
6. สามารถวิเคราะห์และออกแบบระบบทางด้านการสื่อสารได้ทุกรูปแบบ
7.สามารถบอกข้อดีและจำกัดของการสื่อสารทางด้านโทรคมนาคมแต่ละรูปแบบได้
8.เห็นความสำคัญของวิชาการหลักการของระบบสื่อสาร
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านการพัฒนาการทางด้านนวัตกรรมและแนวโน้มที่น่าสนใจ ทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม  ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารแบบไร้สาย เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารทางแสง เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารแบบเครือข่าย Wireless LAN ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบสมัยใหม่ และเพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์และออกแบบระบบทางด้านการสื่อสารได้   เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ไปประกอบอาชีพในภายภาคหน้าและนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น
ปฏิบัติการเกี่ยวกับวิศวกรรมโทรคมนาคมสมัยใหม่ หรือเทคโนโลยีทันสมัยทางวิศวกรรมโทรคมนาคม ตามความเห็นของอาจารย์ผู้สอน
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามความต้องการของผู้เรียน
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
          1.1.1    เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
          1.1.2    มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
          1.1.3    มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
          1.1.4    สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรม
ต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
           1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1   สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
          1.2.2   สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
          1.2.3   เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
          1.2.4   ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
          1.2.5   เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
          1.2.6   ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
           1.2.7   ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
 1.3.2   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
 1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
 1.3.4   ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
 


1.3 วิธีการประเมินผล
          1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
          1.3.2   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
          1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
          1.3.4   ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
          1.3.5   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
 
           2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
           2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
           2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
           2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
           2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
 
บรรยาย  อภิปราย การทำรายงาน  การนำเสนอรายงาน มอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการฝึกปฏิบัติโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค การสอบปฏิบัติ  ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดทักษะความเข้าใจหลักการและการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์
2.3.2   ประเมินจากการรายงานและการนำเสนอรายงาน
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรม และความรู้ในสาขาวิชา ในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
           3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
           3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
           3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
           3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1  การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์
        3.2.2 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร
3.2.3   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และการคำนวณเพื่อการเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์
3.3.2   ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน
3.3.3   วัดผลจากการประเมินจากรายงาน  การนำเสนอผลงาน
3.3.4   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
      นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา  ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้
           4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
           4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
           4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
           4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
           4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล  
4.2.2   การนำเสนอรายงาน
 
4.3.1   ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2   ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
           5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
           5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
           5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
          5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
          5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิต ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรม ดังข้อต่อไปนี้
6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
 
 
               จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยดังข้อต่อไปนี้
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3 สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภายในและภายนอก
6.3.1  มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2  มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
6.3.3 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5 1. 2. 3. 4. 1.มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี 1. 2. 3. 4. 5.
1 ENGEE226 ปฏิบัติการพิเศษทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.3, 3.1, 5.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 17 20% 20%
2 1.3, 2.1, 3.1, 5.2 การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.3, 4.1-4.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 40%
          1. Abbas Jamalipour. “Broad-band Satellite Networks—The Global IT Bridge.”Proceedings of  The IEEE. (January 2001)
          2. erard Maral, and Michel Bousquet. Satellite Communications Systems: Systems,
         3. G. Maral, and M. Bousquet. Satellite Communications Systems. 3rd ed. Great Britain Wiley, 1998.
         4. Gerd Keiser, Optical Fiber Communications. McGraw-Hill, 1991.
         5. Roger L. Freeman, Fiber-Optic Systems for Telecommunications. John-Wiiley&Sons, 2002.
         6. Paul E. Green jr., Fiber To The Home. John-Wiiley&Sons, 2006.
         7. Cancer Information, “General Information About Gastric Cancer”, Fox Chase Cancer Center, 2007
            8. Stamatios V. Kartalopoulos, Introduction to DWDM Technology. IEEE Press, 2000.
         9. Song Guo – InTech, Advanced Wireless LAN,2012
        10. H. V. Poor, G. W. Wornell - Prentice-Hall, Wireless Communications: Signal Processing Perspectives, 1998
        11. Mohammad Matin (ed.) - InTech , Wireless Sensor Networks: Technology and Applications,2012
        12. David Tse, Pramod Viswanath - Cambridge University Press , Fundamentals of Wireless Communication, 2005
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4