กระบวนการคิดและการแก้ปัญหา

Problem Solving and Thinking Process

1.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และกระบวนการพัฒนาการฝึกคิดแบบต่าง ๆ
1.2 สามารถใช้ทักษะการคิดเพื่อการแก้ปัญหา และหลักการใช้เหตุผล
1.3 เสริมสร้างแรงบันดาลใจ ในการนําภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการดำเนินชีวิต
1.4 ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด และแก้ปัญหา โดยนําภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นกรณีศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องตาม มคอ. 2 และเพื่อให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐาน TQF
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เทคนิคและกระบวนการพัฒนาการฝึกคิดแบบต่างๆ ทักษะการ คิดเพื่อการแก้ปัญหา หลักการใช้เหตุผล การสร้างแรงบันดาลใจ กระบวนการคิดและ แก้ปัญหา โดยนําภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นกรณีศึกษา 
Study concepts, theories, techniques and processes for developing different types of critical thinking, reasoning principles, and inspiration initiation. Practice problem-solving skills by applying local wisdom, Thai wisdom, modern innovation and technology as a case study.
6 ชั่วโมง
˜1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
    1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
š1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
˜1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. สอนให้มีระเบียบวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการกำหนดกฎระเบียบการเข้าเรียน เช่น
- กำหนดเวลาเข้าเรียน
- การแต่งกาย
- การส่งงาน
- การรับผิดชอบคะแนนสอบของตนเอง
- การทำงานกลุ่มร่วมกัน
วิธีการวัด โดย การปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ ได้แก่
- เข้าเรียนสม่ำเสมอ
- แต่งกายตามระเบียบมหาวิทยาลัย
- ส่งงานครบ
- มีการติดตามคะแนนสอบของตนเอง
- มีส่วนร่วมในงานกลุ่ม
การประเมินผล โดย ความถี่ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ แล้วประมวลเป็นคะแนนจิตพิสัยร้อยละ 10
   2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
˜2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
š2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
มีการให้ความรู้โดย (2.1)
- การให้ความรู้พื้นฐานทางด้าน กระบวนการคิดในการพัฒนาทางวิชาการและเทคโนโลยี ได้แก่ ทักษะการคิดรูปแบบต่างๆ การให้เหตุผล และ แรงบันดาลใจ
- บูรณาการความรู้กับวิชาชีพ และศาสตร์อื่นๆ
วิธีการวัด โดยการประเมินการใช้ความรู้พื้นฐาน โดยพิจารณาจาก
- การใช้ความรู้พื้นฐานมาเป็นหลักในการถอดบทเรียนกิจกรรม และการนำความรู้พื้นฐานมาใช้ในโครงงาน
-มีการบูรณาการในวิชาชีพและศาสตร์อื่นๆ ที่เป็นปัจจุบัน
การประเมินผล โดยการให้คะแนน ตาม
- มีแสดงการใช้ความรู้พื้นฐานในหัวข้อต่างๆ ตามแต่ละกิจกรรม
- มีแสดงถึงการบูรณาการความรู้กับวิชาชีพและศาสตร์ปัจจุบัน
    3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
˜3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
มีฝึกทักษะทางปัญญาโดย การถอดบทเรียนจาก
- การทำกิจกรรม
- การทำโครงงาน
วิธีการวัด โดย
- มีการแสดงระบบกระบวนการคิดในแต่ละกิจกรรม และในโครงงาน
การประเมินผล โดยการให้คะแนนตามความครบถ้วนของการแสดงระบบกระบวนการคิด ได้แก่
- มีขั้นตอนกระบวนการคิด
- มีหลักการคิดในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะ มีการให้เหตุผลที่ชัดเจน
˜4.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
š4.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
š4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
มีการฝึกทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์โดย
- การทำงานกลุ่ม
- การเรียนรู้ การรับฟังผู้อื่น มารยาทในการฟังผู้อื่น
- มารยาทการใช้และรับผิดชอบพื้นที่สาธารณะร่วมกัน
วิธีการวัด โดย การสังเกตจาก
- การทำงานร่วมกัน
- มารยาทในการพูดและการฟังผู้อื่น
- มารยาทในการใช้และรับผิดชอบพื้นที่สาธารณะร่วมกัน
การประเมินผล โดยการให้คะแนนจาก
- ความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน
- การพูด-การรับฟัง และการมีส่วนรวมในแสดงความคิดเห็น
- ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน
˜5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
    5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
š5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีการฝึกทักษะทางตัวเลขและเทคโนโลยีโดย
- การเลือกรูปแบบวิธีนำเสนอโครงงาน
- การใช้ภาษาในการสื่อสารได้เหมาะสม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
วิธีการวัด พิจารณาจาก
- รูปแบบการนำเสนองาน
- การใช้ภาษาได้เหมาะสม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
การประเมินผล โดยให้คะแนนจาก
- มีรูปแบบการนำเสนอที่เร้าใจ
- มีการใช้ภาษาเขียนและภาษาพูดได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม 1.1 1.4 ความรู้ 2.2 ปัญญา 3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4.1 ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1 การเข้าชั้นเรียน การเอาใจใส่ในงาน กิจกรรมในแต่ละหน่วยเรียน การทำงานกลุ่ม รูปแบบการนำเสนอ ภาษาที่ใช้เหมาะสม ถูกต้อง การเข้าชั้นเรียน การเอาใจใส่ในงาน ทุกสัปดาห์ กิจกรรมในแต่ละหน่วยเรียน ทุกสัปดาห์ การทำงานกลุ่ม ทุกสัปดาห์ รูปแบบการนำเสนอ ภาษาที่ใช้เหมาะสม ถูกต้อง 10 12 14 15 การเข้าชั้นเรียน การเอาใจใส่ในงาน 10% กิจกรรมในแต่ละหน่วยเรียน 50% การทำงานกลุ่ม 20% รูปแบบการนำเสนอ ภาษาที่ใช้เหมาะสม ถูกต้อง 20%
1.1  ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและห้องนอกเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน    ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย 
1.2  ให้นักศึกษาประเมินการสอน โดยการสอบถามประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอน
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 ผลการประเมินจากการสอบถามประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอน
- เน้นการทำกิจกรรม การถอดบทเรียน การทำโครงงาน ทั้งนี้เพื่อฝึกให้มีกระบวนการคิดในการแก้ปัญหาได้
การทบทวนการออกแบบวัดความรู้ตรงตามวัตถุประสงค์ในแต่ละบท
การทบทวนตรวจสอบการให้คะแนนผลการเรียนนักศึกษา
ทำการทบทวนเนื้อหาในบทปฏิบัติการให้สอดคล้องกับ มคอ. 2 และเป็นไปตามกรอบสมรรถนะมาตรฐาน TQF
นำผลการประเมินที่ได้จากการประเมินของนักศึกษามาใช้ปรับปรุงในภาคการศึกษาถัดไป