การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

Cross Cultural Communication

1.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรม
1.2 เข้าใจความหลากหลายในวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ
1.3 สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัฒนธรรมสากล
1.4 ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรมในการสื่อสารสากล
                 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างในการใช้ภาษาอังกฤษ ในลักษณะสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ โดยเน้นการนำไปใช้ในการ สื่อสารอย่างเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างด้านวัฒธนธรรมการสื่อสารระหว่างประเทศและในแต่ละภูมิภาคการประยุกต์ใช้กลวิธีการสื่อสาร ศิลปะในการฟังพูด วัจนะและอวัจนภาษาอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ในบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติ ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างด้านวัฒธนธรรมการสื่อสารระหว่างประเทศและในแต่ละภูมิภาคการประยุกต์ใช้กลวิธีการสื่อสาร ศิลปะในการฟังพูด วัจนะและอวัจนภาษาอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ในบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติ
 จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
ติดต่อทาง e-mail address ที่ Naruporn.pala@gmail.com
1. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
2. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
3. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
1. ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ
2. กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
3. ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มในช่วงการอภิปรายระดมสมอง
4. ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและช่วยกันระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
1. การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. การประเมินจากแบบทดสอบ
3. การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ได้รับมอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
4. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม
1. มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและดำรงชีวิตประจำวัน
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
1.ศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน
2.ร่วมกลุ่มอภิปรายคำตอบและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
3.ศึกษาความรู้จากสื่อประกอบการสอน เช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ 
4.ฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาโดยการแสดงบทบาทสมมติ การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
1. การสอบย่อย การสอบกลางภาคและการปลายภาค
2. รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบแบบทดสอบ
3. ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
4. ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
1.คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษาและประสบการณ์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
1.ให้นักศึกษาฝึกแก้ไขปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในสถานการณ์การสื่อสาร ตามเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่กำหนด ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย
2.ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเสนอแนะวิธีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ตามบริบทของวัฒนธรรมเฉพาะที่กำหนดในกรณีศึกษาจากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ในสถานประกอบการ
2. การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบนริบทต่างๆ
3. การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จำลอง
1. สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคมของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ
2. จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์
3. ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน
1. การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
2. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
3. การนำเสนอ
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
1. สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
2.  สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคมของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ
2. จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์
3. ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน
1. การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
2. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย
3. พฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษาของนักศึกษาเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 3 5 6 2 3 5 3 3 5
1 BOACC102 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2, 4.5, 6.3, 6.5 ทดสอบกลางภาค ทดสอบปลายภาค 9 17 25% 25%
2 4.5, 6.3, 6.5 พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการส่งงาน พฤติกรรมการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ การร่วมกิจกรรมเดี่ยว/กลุ่มในชั้นเรียน/นอกชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.5, 1.6, 4.5 การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน การนำเสนองาน การฝึกปฏิบัติจากสภาพแวดล้อมจริง แบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน การทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียน รายงานสรุปองค์ความรู้ได้ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมนำไปตอบแบบทดสอบ ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 10% 30%
    - Kristin L. Johannsen, 2018. English for the humanities. Cengage Learning. USA.
    - Student Worksheet ที่พัฒนาโดยอาจารย์ผู้สอน
2.1 Bushell, B. and Dyer, D. 2003. Global Outlook 1. NY. McGraw-Hill / Contemporary.
2.2 Dale, P. and Wolf, J. C. 2006. Speech Communication made Simple. NY. Addison Wesley Longman.
2.3 Green, C. 2005. Creative Reading Book 3. Oxford. Macmillan Education.
2.4 Gajaseni, Chansongklod.  2011.  Learning English with Thai Culture.  Bankgok: Chulalongkorn University.
2.5 Johannsen, K. L. 2006. English for the Humanities. Massachusetts. Thomson ELT.
2.6 Levine, D. R. and Adelman, M. B.  1982. Beyond Language: Intercultural Communication for English as a Second Language. Englewood Cliffs. Prentice-Hall Regents.
2.7 Lee, L. and Gundersen, E. 2001. Select Readings – Intermediate. Oxford. Oxford University Press.
2.8 Novinger, T. 2001. Intercultural Communication: A Practical Guide. Austin. University of Texas.
2.9 Pavli C. 2006. Hot Topic 1,2,3. Canada. Thomson Heinle.
2.10 Viney, P. and Viney, K. 1996. Handshake. Oxford. Oxford University Press.
2.11 Wang, D. and Li, H. 2007. “Nonverbal Language in Cross-cultural Communication”. Sino-US English Teaching. Vol. 4, No. 10 (October 2007). Pp. 66-70.
เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ วัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
     - การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
     - ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
     - สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
     - สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
     - ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
     - ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
     - ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
     - สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
     - สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
       ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
     - ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
     -  มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ
     -  ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
      - ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี