นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

Innovation and Information Technology for Educational

1.1  เข้าใจหลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.2  ออกแบบและสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละประเภท
1.3  ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา
1.4  ประเมินและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.5  สามารถทำการวิเคราะห์ปัญหาจากใช้ ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาไปประยุกต์ใช้ได้ว่าใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์
1.6  รู้หลักการพัฒนาและการบริหารจัดการนวัตกรรมการศึกษา
1.7  รู้เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลและเครือข่ายการเรียนรู้
1.8  วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
1.9  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และการเรียนการสอนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
 
เนื่องจากเป็นรายวิชาแกนทางด้านการศึกษาที่แต่ละหลักสูตรในกลุ่มครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีการจัดการเรียนการสอนปรากฏในเล่ม มคอ.2 เหมือนกัน และมีการจัดการเรียนการสอนในหลายเขตพื้นที่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ดังนั้นเพื่อให้การกำหนดสาระการเรียนรู้ ทักษะที่พึ่งเกิดกับนักศึกษาที่จะไปเป็นครูผู้สอนในอนาคตที่จบในหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมีมาตรฐานและกรอบแนวทางในการพัฒนา การสร้าง การใช้ สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาไม่แตกต่างกันจึงเกิดการร่วมระดมความคิดเห็นพัฒนาปรับปรุงรายละเอียดต่าง ๆ ใน มคอ.3 ให้มีแนวทางไปทิศทางเดียวกันอิงตามแนวคิดการปรับปรุงผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยมีความมุ่งหวังให้เกิดสิ่งต่อไปนี้กับผู้สอน และผู้เรียน

ความชัดเจนในกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นำกระบวนการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ร่วม ได้แนวทางการสอนที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการสอน วิธีการประเมิน และผลที่คาดว่าจะเกิดหลังจากมีการจัดการเรียนการสอน เพิ่มแนวทางที่มีความเหมาะสมและสอดรับกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และ มคอ.2 ของหลักสูตรในด้าน Learning Outcome ที่เป็นไปตามทิศทางมาตรฐานบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

 
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประเภทของสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การออกแบบ การสร้าง การประยุกต์ใช้ การประเมินหาประสิทธิภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้และการสื่อสาร การพัฒนาและการบริหารจัดการนวัตกรรมการศึกษา การวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมการศึกษา แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้ การประเมินสื่อนวัตกรรม
 
อาจารย์สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษา โดยสามารถปรึกษาอาจารย์ได้ผ่านช่องทางใดทางหนึ่งดังต่อไปนี้
1. ให้คำปรึกษานักศึกษาแบบ Face to Face ให้นักศึกษาสามารถเข้ามาปรึกษาอาจารย์ในห้องพักครู ในช่วงเวลาหลังเลิกเรียนในรายวิชาเพื่อให้คำปรึกษาสำหรับนักศึกษารายบุคคลที่มีปัญหา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
2. ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่าน Social Media โดยการตั้งกลุ่มสนทนา ซึ่งมีสมาชิกในกลุ่มที่ประกอบด้วยอาจารย์และนักศึกษา และให้คำปรึกษาผ่านแอพลิเคชันต่างๆ เช่น Line, Facebook เป็นต้น โดยจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ
3.       ให้คำปรึกษานักศึกษาผ่านทางโทรศัพท์ โดยสามารถโทรศัพท์เพื่อปรึกษาอาจารย์ประจำวิชาได้เป็นรายบุคคล
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการไม่ละเมิดงานของผู้อื่น โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับสื่อผสมที่นิยมในปัจจุบัน
1.2.2 อภิปรายกลุ่ม/ทำงานเดี่ยว/กลุ่ม หรือส่วนตัวส่งเป็นชิ้นงาน
1.2.3 นำเสนองานสื่อที่แสดงข้อมูลที่อธิบายได้เพื่อเป็นชิ้นงาน
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากสื่อผสมที่นักศึกษาเขียนตามการใช้งานจริง
1.3.4 ประเมินผลงานการพัฒนาชิ้นงานหน้าห้องเรียนและให้สมาชิกสอบถามและแนะนำ 
          2.1.1 มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
          2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
          2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหาเข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญูหา
          2.1.3 สามารถวิเคราะห์ออกแบบติดตั้งปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด
          2.1.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์รวมทั้งการนำไปประยุกต์
          2.1.5 รู้เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
          2.1.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
          2.2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
          2.2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย  อภิปราย ฝึกปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอใบงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษาจากงานมอบหมายหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปเป็นชิ้นงานและนำเสนอ โดยเป็นโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบปฏิบัติย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางปฏิบัติงานและทฤษฏีเนื้อหา
2.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมาย และนำเสนอผลการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากกรณีศึกษาที่นักศึกษาค้นคว้าและสร้างเอง หรือมีโจทย์จาก Problem – based Learning จากชีวิตประจำวัน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน มีการวิเคราะห์แนวคิดอย่างมีขั้นตอนตามมาตรฐาน เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีให้ถูกต้อง
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถสืบค้นตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาพัฒนาชิ้นงานตามบทเรียนต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาจากการที่นักศึกษาได้ค้นคว้าเอง และนำเสนอผลงานของตนเอง
3.2.2 อภิปรายลักษณะงานโปรแกรม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีอย่างที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติและการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยออกในรูปแบบผลงานนักศึกษาที่ได้ปฏิบัติจริง
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่เกี่ยวกับชิ้นงานที่สั่งเป็นส่วนประกอบ 
3.3.2 วัดผลจากการประเมินงานชิ้นงาน  การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาระหว่างปฏิบัติงาน
          4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
          4.1.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
          4.1.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
          4.1.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
          4.1.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
          4.1.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องคุณสมบัติต่าง ๆ นี้สามารถวัดระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การทำใบงาน และวิเคราะห์โจทย์นำมาพัฒนาชิ้นงานได้ 
4.2.3 การนำเสนอผลงานโปรแกรมที่ใช้และชิ้นงาน
4.3.1  ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ระเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานของนักศึกษา
4.3.3  ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.1.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสร้างชิ้นงานตามแนวคิดมาเป็นรูปแบบผลงานซอฟต์แวร์  และทำรายงานรูปเล่มรวบรวมผลงานโดยเน้นการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีสื่อผสมที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน ผลงาน  และรูปแบบการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีนำเสนอตามผลงานในลักษณะงานของนักศึกษา
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย  วิธีการตอบ และชิ้นงานที่นักศึกษาส่ง
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนใด้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม
6.2.1  มอบหมายงานออกแบบและสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการต่างๆ ได้เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละประเภท
6.2.2  มอบหมายให้ประเมินและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาที่นักศึกษาสร้างขึ้น
6.3.1  ประเมินผลงานของนักศึกษา
6.3.2  ประเมินจากการรายงานและนำเสนอ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขฯ ุ6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCC810 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2, 2.1, 2.3, 3.1 ทดสอบปฏิบัติย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบปฏิบัติย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 12 16 10% 25% 10% 25%
2 1.1,1.2, 2.1-2.3 4.4, 5.1-5.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอผลงาน รายงานผลตามใบงาน การทำงานกลุ่ม/เดี่ยวและผลงาน สรุปผลการทำงานและการส่งงานตามที่มอบหมายตรงเวลา ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1,1.2, 3.1 4.4 5.1 , 5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย/นำเสนอ เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
วารสาร,  วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน JOURNAL OF LEARNING AND TEACHING INNOVATION, กรุงเทพ ฯ 
พิมพันธ์ เดชะคุปต์,  สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยการวิจัยปฎิบัติการในชั้นเรียน, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้อง 
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อสื่อสารเนื้อหาให้ผู้เรียนศึกษาก่อนล่วงหน้า
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา เพื่อนำผลมาปรับปรุงการเรียนการสอน
1.3 ข้อเสนอแนะนำผ่านสังคมออนไลน์ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสาร 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน (หากมี)
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา ที่มีการสอบเก็บคะแนนแต่ละครั้งนำมาประเมิน
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ ให้งานตามที่มอบหมายและสังเกตพฤติกรรม
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน เพื่อปรับปรุงและแก้ไขกรณีในห้องเรียนและการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน 
4.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ