สัมมนาทางโลจิสติกส์

Seminar in Logistics Management

1. เข้าใจวิธีการและหลักการจัดสัมมนา มีทักษะในการจัดสัมมนา
2. สัมมนากรณีศึกษาและปัญหาสำคัญ ๆ ทางด้านโลจิสติกส์ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน
3. บูรณาการทฤษฎี ความรู้ และประสบการณ์ทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ที่ได้จากการศึกษา
4. ประยุกต์ใช้กรณีศึกษาหรือสถานการณ์จริง เพื่อหาแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้นักศึกษาสามารถบูรณาการวิชาการความรู้ทางด้านการจัดการโลจิสติกส์กับข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้น และสามารถฝึกทักษะในการจัดสัมมนาได้
ศึกษาและสัมมนาปัญหาสำคัญ ๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เน้นทางด้านโลจิสติกส์ โดยบูรณาการทฤษฎี ความรู้และประสบการณ์ที่ได้ศึกษามา เพื่อเสริมสร้างให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกีบสภาพปัญหาต่าง ๆ ของการจัดการเกี่ยวกับโลจิสติกส์ การศึกษาหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ นอกเหนือจากเนื้อหาที่จัดไว้ โดยมุ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการเชิญผู้ชำนาญการพิเศษ ในหัวข้อนั้น ๆ เข้าร่วมสอนในการสัมมนาในแต่ละหัวข้อที่น่าสนใจเหล่านั้น ตลอดจนฝึกปฏิบัติทักษะการจัดสัมมนาวิชาการ
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Social network เช่น ตั้งกลุ่ม Facebook, Line, Microsoft team รายวิชาสัมมนาทางโลจิสติกส์ เพื่อให้คำปรึกษา สั่งงาน      ส่งงาน และตรวจงาน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ภาวะผู้นำ และสร้างจริยธรรม ในการดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
2.มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
3.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4.เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5.เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6.สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจลการลงทุนบุคคลองค์กรและสังคม
7.มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. บรรยาย ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์กรณีศึกษาทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ ในฐานะนักวิชาการ (วิทยกรในการสัมมนา)
2. ฝึกปฏิบัตินำเสนอโดยผ่านกรณีศึกษาทางด้านโลจิสติกส์ ในฐานะนักวิชาการ (วิทยากรในการสัมมนา)
3. อภิปรายกลุ่ม
4. กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องทางด้านการจัดการโลจิสติกส์
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 การมารับคำปรึกษางานที่ส่ง
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
นักศึกษาจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์กรณีศึกษาทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ ในฐานะนักวิชาการ (วิทยากรในการสัมมนา) โดยนักศึกษาสามารถวิเคราะห์ได้ว่าศาสตร์ทางด้านการจัดการโลจิสติกส์มีบทบาทและความสำคัญในการดำเนินธุรกิจในองค์กรต่าง ๆ อีกทั้งสามารถนำเสนอเนื้อหาในฐานะนักวิชาการ (วิทยากรในการสัมมนา)ได้ ตลอดจนสามารถจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการได้
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่มโดยการวิเคราะห์กรณีศึกษาทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ในฐานะนักวิชาการ (วิทยากรในการสัมมนา) การนำเสนอรายงาน ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดสัมมนาทางวิชาการ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 การนำเสนองานในฐานะนักวิชากร (วิทยากรในการสัมมนา) สอบปลายภาค การส่งงาน การจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการ
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา 
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาเกิดทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติในบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบในด้านการเป็นนักวิชาการ (วิทยากรในการสัมมนา) อีกทั้งสามารถวิเคราะห์ประเด็นกรณีศึกษาทางด้านการจัดการโลจิสติกส์
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาหาข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง การเรียนการสอน และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 สอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่การเกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์
3.3.2 วัดผลจากการประเมินการเรียนการสอน การนำเสนอผลงานในฐานะนักวิชาการ (วิทยากรในการสัมมนา) และการจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการ
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าข้อมูลข่าวสารและนำมาสื่อสารกันภายในชั้นเรียนเพื่อทำการวิเคราะห์ในระหว่างชั้นเรียน
4.2.2 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.4 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog, e-mail, facebook
5.1.5 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA409 สัมมนาทางโลจิสติกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1-8, การปฏิบัติข้อ 1.2 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-8 และ 10-16 การจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการ 7 30%
2 การปฏิบัติข้อ 2.2 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-8 และ 10-16 การจัดโครงการสัมมนาทางวิชาการในชั้นเรียน ในฐานะที่นักศึกษาเป็นวิทยากรทางด้านการจัดการกับกรณีศึกษาที่นำมาศึกษาและวิเคราะห์ 11-16 40%
3 การปฏิบัติข้อ 2.1 ตั้งแต่สัปดาห์ 1-8 และ 10 การสอบปลายภาคการศึกษา 17 20%
4 ทฤษฎีและปฏิบัติ สัปดาห์ที่ 1-17 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- ไพพรรณ เกียรติโชคชัย. การจัดการสัมมนาสู่ความเป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 4 .กรุงเทพมหานคร : การศึกษา , 2548.
- เกษกานดา สุภาพจน์.การจัดสัมมนา.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร:ศูนย์ส่งเสิรมวิชาการ,2549.
ไม่มี
-เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาสัมมนาการจัดการ
-เอกสารสรุปเล่มโครงการในการจัดสัมมนาทางวิชาการ
-เอกสารสรุปเล่มการจัดสัมมนาทางวิชาการในการนำองค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้ ในองค์การทางธุรกิจ
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ประเมินจากผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา โดยทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย และรวมถึงการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดย ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ 4