สหกิจศึกษาทางวิชาชีพบัญชี
Co-operative Education in Professional Accounting
จุดมุ่งหมายของรายวิชาสหกิจศึกษาทางวิชาชีพบัญชี ได้แก่
1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการบัญชี กับสถานการณ์จริง
2. เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางการบัญชีในสถานการณ์จริง
3. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และปรับตัวเพื่อให้เข้ากับผู้อื่นที่จะทำให้อยู่ร่วมกันได้ในสังคมการทำงาน
4. เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาบุคลิกภาพ เช่น มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสง่างามในตนเอง และมีมารยาทกาลเทศะทางสังคม
รายวิชาสหกิจศึกษาทางวิชาชีพบัญชี ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรู้ความสามารในวิชาชีพบัญชี ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ รวมถึงสามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาด้วยหลักการและเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและความรับผิดชอบต่อสังคม
เน้นการปฏิบัติงานทางด้านวิชาชีพบัญชีในสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ โดยมีการวางแผนร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการ นักศึกษาจะต้องเข้าไปปฏิบัติงานเต็มเวลาเสมือนเป็นพนักงานของหน่วยงานนั้นโดยมีพนักงานที่ปรึกษาสถานที่ประกอบการมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติของนักศึกษามีการกำหนดลักษณะงาน (Job Description) แผนการปฏิบัติงานให้กับนักศึกษา นักศึกษาจะต้องจัดทำรายงานภายหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานเพื่อการประเมินผลการศึกษา
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล ตามความจำเป็นของนักศึกษาแต่ละราย
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
นักศึกษาฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ
ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา โดยใช้เกณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการสหกิจศึกษา
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
นักศึกษาฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ
ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา โดยใช้เกณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการสหกิจศึกษา
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่าง สร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
นักศึกษาฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ
ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา โดยใช้เกณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการสหกิจศึกษา
4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
นักศึกษาฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ
ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา โดยใช้เกณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการสหกิจศึกษา
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
นักศึกษาฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ
ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา โดยใช้เกณฑ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโครงการสหกิจศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1.คุณธรรม จริยธรรม | 2.ความรู้ | 3.ทักษะทางปัญญา | 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 | 3 | 2 | 3 | 4 | 1 | 1 | 2 | 3 |
1 | BACAC139 | สหกิจศึกษาทางวิชาชีพบัญชี |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1/2/3/4/5 | ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษา (พี่เลี้ยง) และอาจารย์ที่ปรึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม โดยใช้เกณฑ์ตามข้อกำหนดของโครงการสหกิจศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาฝึกประสการณ์ภาคสนาม สรุปผลการประเมิน และรายงานผลต่อคณะฯ | 4-5 | - |
2 | 1/2/3/4/5 | ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาช่วงระหว่างฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบฟอร์มการประเมินของหลักสูตร | 1-4, 6-12 | - |
3 | 1/2/3/4/5 | ประเมินผลนักศึกษาหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบประเมิน โดยพิจารณาจากรายงานผลการประเมินตนเองของนักศึกษา บันทึกผลการนิเทศ รายงานการฝึกงานจากพี่เลี้ยง และผลการนำเสนอการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษา | 13-15 | - |
เอกสารประกอบการฝึกสหกิจ
1.1 ประเมินผลจากแบบสอบถามการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากนักศึกษา
1.2 ประเมินผลจากการสัมภาษณ์ พนักงานพี่เลี้ยงหรือสถานประกอบการ หรือแบบฟอร์มการฝึกประสบการณ์
1.3 ประเมินผลจากการสัมภาษณ์อาจารย์ที่ปรึกษา บันทึการให้คำปรึกษา ผลการดำเนินงานของนักศึกษาหลังให้คำปรึกษา แบบฟอร์มรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
1.2 ประเมินผลจากการสัมภาษณ์ พนักงานพี่เลี้ยงหรือสถานประกอบการ หรือแบบฟอร์มการฝึกประสบการณ์
1.3 ประเมินผลจากการสัมภาษณ์อาจารย์ที่ปรึกษา บันทึการให้คำปรึกษา ผลการดำเนินงานของนักศึกษาหลังให้คำปรึกษา แบบฟอร์มรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
อาจารย์ที่ปรึกษาภาคสนาม ประมวลผลการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษา จากข้อเสนอแนะและผลการประเมินของพี่เลี้ยง รายงานผลต่อหัวหน้าหลักสูตร เพื่อร่วมพิจารณานำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับการใช้รอบปีการศึกษาถัดไป และแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร
-
ติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ตรงตามสาขาวิชา โดยการสำรวจสอบถามจากผู้ประกอบการและบัณฑิต
นำผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษา เข้าที่ประชุมของหลักสูตรการบัญชี เพื่อพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาสหกิจศึกษาทางวิชาชีพบัญชีต่อไป