ปฏิบัติเครื่องกลไฟฟ้า 2

Electrical Machines Laboratory 2

                1.   มีทักษะในการปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้าซิงโครนัสและเครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
                 2.   มีทักษะในการปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้าไฟฟ้าซิงโครนัส
                3.   มีทักษะในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องกลไฟฟ้าไฟฟ้าซิงโครนัสและเครื่องกล
                     ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
                4. สามารถสรุปรายงานผลในการประลองเกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้าไฟฟ้าซิงโครนัสและเครื่องกลเหนี่ยวนำได้
                  5.   เห็นความสำคัญในการปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้าซิงโครนัสและเครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
เพื่อให้นักศึกษามีทักษะ ความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ  เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการนำไปใช้ในชีวิตการทำงานในอนาคตต่อไป
                ปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในวิชา เครื่องกลไฟฟ้า 2  (รหัสวิชา 04-211-204  )  
 
หมายเหตุ - คำอธิบายรายวิชา  วิชาเครื่องกลไฟฟ้า 2
                   เครื่องกลไฟฟ้า 2   3(3-0-6)  รหัสวิชา 04-211-204    Electrical Machines 2
                                    ศึกษาเกี่ยวกับหลักการทำงาน การพันขดลวด การคำนวณหาพารามิเตอร์
                                การซิงโครไนซ์ วิธีการควบคุม คุณลักษณะและการนำไปใช้งานเครื่องกล
                                ไฟฟ้าซิงโครนัส หลักการทำงาน วงจรสมมูล การทดสอบ การคำนวณหา
                                ค่าพารามิเตอร์ของเครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำ มอเตอร์เหนี่ยวนำ 1 เฟส การ
                                เริ่มเดิน การควบคุมความเร็ว การนำไปใช้งานของเครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
-    อาจารย์ประจำรายวิชา  โดยจะประกาศช่วงเวลากำหนดการให้คำปรึกษาในและนอกเวลาเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิลิขสิทธิ์ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น  มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ ใช้ความรู้ทางด้านเครื่องกลไฟฟ้าและในส่วนที่เกี่ยวข้องในทางที่เหมาะสม โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้งานเครื่องกลไฟฟ้าต่อบุคคลองค์กรและสังคม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
มอบหมายหัวข้องานหรือหัวข้อปัญหา ที่สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาที่กำหนดไว้ในรายวิชาเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ ที่ต้องการทดสอบหรือประลอง ผู้สอนจัดเตรียมเอกสารใบประลอง ให้ตรงตามจุดประสงค์สิ่งที่ต้องการค้นหา หรือเกี่ยวข้องกับหลักการทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ

จัดกลุ่มทำการประลอง หรือทดลองเพื่อนำผลที่ได้ไปทำการเปรียบเทียบกับผลทางทฤษฎีที่เกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
สรุปผลการประลอง และอภิปรายผล  พร้อมวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อให้สามารถนำเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับไปใช้งานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
1  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2 มีการอ้างอิงองค์ความรู้ที่ได้นำมาทำรายงานผลการประลอง อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3 ประเมินผลการสรุปผลการประลองทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย หลังจากการได้ทำการประลองทางเครื่องกล
   ไฟฟ้ากระแสสลับ
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ หลักการแปลงพลังงานกลไฟฟ้า พลังงานและพลังงานร่วม โครงสร้าง หลักการและการวิเคราะห์เกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ เครื่องกลไฟฟ้าแบบซิงโครนัส เครื่องกลไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำหนึ่งเฟสและสามเฟส การป้องกัน เครื่องกลไฟฟ้า และทักษะ ความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ  เพื่อเป็นพื้นฐานในระดับที่สูงขึ้น  และการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งการนำไปใช้งาน        
จัดเตรียมเอกสารใบประลองให้กับนักศึกษา  และสาธิตพร้อมการบรรยายเกี่ยวกับเอกสารการประลองและหลักวิธีการ พร้อมจัดกลุ่มการประลอง  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับผลการประลอง และมอบหมายให้ค้นหาองค์ความรู้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เขียนรายงานการทำงานหรือรายงานผลการประลอง  พร้อมนำมาสรุปในเนื้อหาความรู้ที่ศึกษาและส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1   ทดสอบองค์ความรู้ระดับพื้นฐานทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับโดยการสัมภาษณ์  ซักถาม สังเกตระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน สอบปฏิบัติ  ด้วยการลงมือทำเป็นรายบุคคล  ที่เน้นการวัดหลักการทำงานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
2   ประเมินจากการรายงานผลการค้นคว้าข้อมูล  และการสรุปพร้อมอภิปรายผลการประลอง
พัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
3.2.1   ผู้สอนจัดเตรียมเอกสารใบประลองให้กับนักศึกษา  ทำการค้นคว้าองค์ความรู้ในทางทฤษฎีเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับที่จะทำการประลอง
3.2.2   ผู้สอนตรวจสอบความพร้อมนักศึกษา  พร้อมแก้ไขปรับปรุงและให้ข้อแนะนำ
3.2.3   สาธิต และให้นักศึกษาปฏิบัติการประลอง โดยผู้สอนให้การดูแลและแนะนำอย่างใกล้ชิด
3.2.4   นักศึกษานำผลการประลองที่ได้ มาสรุปเปรียบเทียบกับหลักการในทางทฤษฎี พร้อมหาคำตอบ และนำมาอภิปรายผล
 
3.3.1   การสอบพื้นฐานทักษะการปฏิบัติ โดยสังเกต  และสัมภาษณ์โดยมุ่งเน้นปฏิบัติการที่ถูกต้อง หรือสังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาการสรุปผลการประลองที่ได้
3.3.2   วัดผลจากการประเมินรายงานการประลอง 
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดแบ่งกลุ่มในการปฏิบัติการ
4.2.2   ผู้สอนจัดเตรียมเอกสารใบประลองให้กับนักศึกษา  และนำไปค้นคว้าหลักทฤษฎีทางเครื่องกลไฟฟ้าที่จะทำการปฏิบัติการประลอง เป็นรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3   ผู้สอนสาธิต และให้นักศึกษาทำการปฏิบัติการประลอง เป็นรายกลุ่มภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้สอน
4.2.4   สรุปผลที่ได้  พร้อมนำผลการสรุปผลมาให้ผลสอนตรวจสอบ พร้อมให้คำปรึกษา
4.3.1   ประเมินทักษะของผู้เรียนเองตามหัวข้อทักษะที่กำหนดให้ หรือควรจะต้องมีในรายวิชานี้
           หรือระดับช่างเทคนิคที่ควรมี
4.3.2   ประเมินจากรายงานสรุปผล  และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการปฏิบัติการ
1   ทักษะการต่อวงจร และวิธีการประลองเพื่อค้นหาคำตอบ หรือผลที่เกิดต่างๆ ของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
2   พัฒนาทักษะในการเตรียมการในปฏิบัติการประลองทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
3   พัฒนาทักษะในการต่อวงจรการประลองเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
4   พัฒนาทักษะในการใช้การเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ที่ใช้ประกอบในปฏิบัติการ
5   พัฒนาทักษะปฏิบัติการประลองเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับที่ถูกต้องตามหลักขั้นตอนทางวิชาการ
6    ทักษะในการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติการประลองทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
7   ทักษะในการเก็บบันทึกข้อมูล ในปฏิบัติการประลองทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
8    ทักษะในการสรุปผล รายงานผลการประลองในปฏิบัติการประลองทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
1   ผู้สอนจัดเตรียมเอกสารใบประลองให้กับนักศึกษา  และนำไปค้นคว้าจัดเตรียมการปฏิบัติการประลองทางเครื่องกลไฟฟ้ากระแสสลับ
2   สาธิต และจัดกลุ่มทำการปฏิบัติการประลอง เป็นรายกลุ่มภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้สอน และนำผลที่ได้ไปสรุป พร้อมจัดทำรายงานผลการประลอง
ประเมินจาก การสังเกตการปฏิบัติงาน  ทักษะการต่อวงจร ขั้นตอนการปฏิบัติการ การตอบคำถาม รายงาน และการสรุปพร้อมรายงานผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล