การประกันคุณภาพทางการศึกษา

Educational Quality Assurance

รู้ระบบการบริหารงานเพื่อการเพิ่มผลผลิต และความสำคัญของการประกันคุณภาพ เข้าใจกระบวนการดำเนินกิจกรรมการประกันคุณภาพทางการศึกษา เข้าใจมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติและองค์ประกอบการประกันคุณภาพ เข้าใจวิธีการจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพและการเขียนรายงานการประเมินตนเอง รู้วิธีการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาของการศึกษาระดับอาชีวศึกษา เห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพทางการศึกษาของไทย  แก้ไข
 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานคุณภาพ เทคนิคการบริหารงาน เข้าใจในเรื่องความสำคัญของการประกันคุณภาพของการศึกษา หลักการและกระบวนการการดำเนินกิจกรรมการประกันคุณภาพของการศึกษามาตรฐานการศึกษาและองค์ประกอบของการประกันคุณภาพของการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและการเขียนรายงานการประเมินตัวเอง วิธีการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาของอาชีวศึกษา 
ศึกษาเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพของการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ องค์ประกอบในการประกันคุณภาพของการศึกษาทุกระดับรวมทั้งการเตรียมการเพื่อการตรวจสอบประเมินคุณภาพทางการศึกษารายงานการประเมินตัวเองและวิธีการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาของอาชีวศึกษา 
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ E-learning และในห้องเรียน - อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)  แก้ไข
 
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ตระหนักใน ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม มีจรรยาบรรณวิชาชีพตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ 1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และ สิ่งแวดล้อม 1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  แก้ไข
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม 1.2.2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม 1.2.3 เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม 1.2.4 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด 1.2.5 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 1.2.6 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม 1.2.7 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ 
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 1.3.4 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา 1.3.5 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม  แก้ไข
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ 2.1.1 ความสำคัญของการประกันคุณภาพของการศึกษา 2.1.2 หลักการและกระบวนการการดำเนินกิจกรรมการประกันคุณภาพของการศึกษา 2.1.3 มาตรฐานการศึกษาและองค์ประกอบของการประกันคุณภาพของการศึกษา 2.1.4 การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและการเขียนรายงานการประเมินตัวเอง 2.1.5 การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาของอาชีวศึกษา 2.1.6 มีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู
2.2.1 บรรยาย 2.2.2 อภิปรายเรื่อง พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 (เพิ่มเติม) 2545 2.2.3 การทำงานกลุ่มค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคการบริหารคุณภาพ ก. ระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2000 ข. ระบบการบริหารงาน TQM ค. ระบบการบริหารงาน PDCA 2.2.4 ค้นคว้ารายงานการวิจัยด้านการประกันคุณภาพภายใน ของมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ภายในประเทศไทย 2.2.5 จัดทำรายงานการประเมินตนเอง ตามรูปแบบที่กำหนด 
2.3.1 ทดสอบย่อย 2.3.2 สอบกลางภาค 2.3.3 สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.4 ประเมินจากผลงานรายงานกลุ่ม เรื่องเทคนิคการบริหารงานคุณภาพ 2.3.5 ผลการค้นคว้างานวิจัยด้านการประกันคุณภาพภายใน ของมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ภายในประเทศไทย  แก้ไข
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้าน ก. การเขียนองค์ประกอบ กำหนดตัวบ่งตามองค์ประกอบที่กำหนด ข. การค้นคว้ารายงานการวิจัยด้านการประกันคุณภาพภายใน ของมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ภายในประเทศไทย ค. การศึกษาการประกันคุณภาพด้านอาชีวศึกษา 3.1.2 มีทักษะในรับการตรวจประเมินจากหน่วยงานภายในและภายนอก  แก้ไข
3.2.1 บรรยาย 3.2.2 อภิปรายเรื่อง พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 (เพิ่มเติม) 2545 3.2.3 การทำงานกลุ่มค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคการบริหารคุณภาพ ก. ระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2000 ข. ระบบการบริหารงาน TQM ค. ระบบการบริหารงาน PDCA 3.2.4 ค้นคว้ารายงานการวิจัยด้านการประกันคุณภาพภายใน ของมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ภายในประเทศไทย 3.2.5 จัดทำรายงานการประเมินตนเอง ตามรูปแบบที่กำหนด 
3.3.1 ทดสอบย่อย 3.3.2 สอบกลางภาค 3.3.3 สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 3.3.4 ประเมินจากผลงานรายงานกลุ่ม เรื่องเทคนิคการบริหารงานคุณภาพ 3.3.5 ผลการค้นคว้างานวิจัยด้านการประกันคุณภาพภายใน ของมหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ภายในประเทศไทย  แก้ไข
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม  แก้ไข
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล 4.2.2 การนำเสนอรายงาน 
4.3.1 ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2 ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง  แก้ไข
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 5.1.1 สามารถเลือกใช้การสืบค้นได้ทางอินเตอร์เน็ท 5.1.2 สามารถสื่อสารกับผู้สอนผ่านทางระบบ E-Learning 5.1.3 สามารถส่งการบ้านได้โดยทางระบบ E-Learning
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ 5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  แก้ไข
 
5.3.1 ประเมินจากรายงาน การจัดทำแผนการสอนและรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงานผ่านระบบ E-Learning  แก้ไข
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2 ด้านความรู้ 3 ด้านทักษะปัญญา 4 ด้านความสัมพันธ์บุคคล และความรับผิดชอบ 5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยี 6 ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 4 3 1 3 2 1 3 3 4 4 4 4 5 5 5 6 6
1 TEDCC813 การประกันคุณภาพทางการศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1-2.3, •3.1, •3.2 •5.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 17 5% 25% 5% 25%
2 •1.1-1.3, •2.1-2.3, •3.1, •3.2 •4.2-4.4 •5.2, 1.4 4.1,4.3 5.1, 5.3 6.2 (รวมกิจกรรม 2-5) การทำงานกลุ่ม ค้นคว้าและการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย - รายงานการประเมินตนเองของวิทยาลัยเทคนิค - การเขียนรายงานการประเมินตัวเองตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด - การตรวจรายงานการประเมินตนเอง ตลอดภาคการศึกษา 30% (รวมกิจกรรม 2-5)
3 •1.1-1.3, •2.1-2.3, •3.1, •3.2 •4.2-4.4 •5.2, 1.4 4.1,4.3 5.1, 5.3 6.2 การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30% (รวมกิจกรรม 2-5)
4 •1.3 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30% (รวมกิจกรรม 2-5)
5 •1.1-1.3, •2.1-2.3, •3.1, •3.2 •4.2-4.4 •5.2, 1.4 4.1,4.3 5.1, 5.3 6.2 - ผลงานการทำรายงานการประเมินตนเอง - การตรวจรายงานการประเมินตนเอง ตลอดภาคการศึกษา 30% (รวมกิจกรรม 2-5)
6 •1.3 •1.3 การเช็คชื่อการเข้าชั้นเรียน การแต่งกายและการทำผิดวินัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก  1. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 3. กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ 4. มาตรฐานการอาชีวศึกษา 5. คู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาอาชีวศึกษา 6. คู่มือการประกันคุณภาพภายนอกรอบสามของสถานศึกษาอาชีวศึกษา  แก้ไข
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่าน...เว็บบอร์ด...ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา  แก้ไข
กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
การสังเกตการณ์สอนของ...ผู้ร่วมทีมสอน......หรือการสังเกตการณ์จากคณะผู้ประเมิน..... ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้  แก้ไข
การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน  แก้ไข
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ซึ่งได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุง การสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
        ตามข้อ 4
เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ  แก้ไข