ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

Accounting Information System

เพื่อให้นักศึกษา ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐานวงจรรายได้วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารเงินประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจรทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง

 
เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ศึกษาเป็นพื้นฐานทางด้านการใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศกับงานบัญชี และพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ต้องนำมาใช้กับงานบัญชีซึ่งเป็นสิ่งที่นักบัญชีไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ระบบบัญชีเป็นระบบที่ทำงานอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ส่วนสารสนเทศจะถูกจัดเก็บอยู่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งในโลกปัจจุบันสามารถใช้อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่ทันสมัยมาใช้ในการเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ใช้คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการประมวลผล และสามารถนำเสนอข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดแก่ผู้ใช้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นนักศึกษาจะสามารถประยุกต์และสามารถใช้ระบบสารสนเทศที่เชื่อมกับการทำงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีฐานข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งองค์กร
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐานวงจรรายได้วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารเงินประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจรทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
-อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของสาขา  
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดําเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทําคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการ ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้
1.1.1  มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.1.2  มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
1.1.3  สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.1.4  มีจิตสํานึก และพฤติกรรมที่คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1.2.1  สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
1.2.2  ให้ความสําคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.3  เปิดโอกาสให้นักศึกษาจดั กิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทําประโยชน์ให้กับชุมชน
1.2.4  การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษาจากงานวิจัย เรื่อง “The Effect of Accounting Information System Quality in the Effectiveness of Internal Control and Reliable Decision Making to Enhance the Performance of Thai Industrial Firms” เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นถึงผลงานจริงว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชีในยุคปัจจุบันสําคัญมากกับองค์กร
1.3.1 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาการทํางานทัน ตามกําหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินการกระทําทุจริตในการสอบ
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
1.3.4 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนํามาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.1.3  มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.1.4  สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.2.1 ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการอภิปราย การทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยาย และ สอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จําลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2.2.2  การถาม-ตอบ ปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
2.2.3  มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทํารายงานหรือโครงการ
2.2.4  การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
2.2.5 ใช้กรณีศึกษาจากงานวิจัย เรื่อง “The Effect of Accounting Information System Quality in the Effectiveness of Internal Control and Reliable Decision Making to Enhance the Performance of Thai Industrial Firms” เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นถึงผลงานจริงว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชีในยุคปัจจุบันสําคัญมากกับองค์กร
2.3.1  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้าและการนําเสนอ
2.3.2  การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือการสอบปฏิบัติ

2.3.3 การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือ การฝึกงานใน องค์กรธุรกิจ

2.3.4 การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสํารวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนํามาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง

3.1.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทาง วิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ
3.1.3 สามารถติดตามประเมินผลและรายงานผลได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
3.2.1 ส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบจากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์ จําลอง

3.2.2 จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญาความคิดการวิเคราะห์และ สังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา

3.2.3 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญเปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้ารายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
3.3.1 ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัดโจทย์ปัญหากรณีศึกษาหรือสถานการณ์จําลองที่ ได้รับมอบหมาย

3.3.2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา

3.3.3 ประเมินจากรายงายผลการศึกษาค้นคว้ารายงานทางเอกสารและการนําเสนอหน้าชั้น เรียนรวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพสร้างสรรค์ โดยคํานึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ

4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ วัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี

4.1.3 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สามารถให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไข ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นํา หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายการทํางานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นําการเป็นสมาชิก กลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน
4.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.2.3 ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
4.3.1 ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน

4.3.2 ประเมินการเป็นผู้นําและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจาก งานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน 
4.3.3 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
5.1.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปล ความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหรือข้อโต้แย้ง

5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขยีนรู้จักเลือกและใช้รูปแบบการ นําเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน

5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บ รวบรวม ข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
5.2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคํานวณเชิงตัวเลข
5.2.2 มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5.2.3 ให้อภิปรายและนําเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนําเสนอในรูปแบบรายงาน
5.2.4 มอบหมายกรณีศึกษาให้นํามาวิเคราะห์และนําเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.3.1 ประเมินจากรายงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตตร์
5.3.2 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนําเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5.3.3 ประเมินจากการสอบข้อเขียน

5.3.4 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนําเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็น รายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1. 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BACAC134 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 10 30 10 30
2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนําเสนองาน รายงาน การทํางานกลุ่ม การอ่านและสรุปบทความระบบสารสนเทศทางบัญชี การส่ง งานตามที่มอบหมาย 15
3 การเข้าช้ันเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในช้ันเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5
เอกสารคำสอน วิชา ระบบสารสนเทศทางบัญชี ตามหลักสูตรการบัญชีบัณฑิต. กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว (ปรับปรุง ๒๕๖๒). ระบบสารสนเทศทางบัญชี. ตาก:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก. ๕๘๗ หน้า
-  Power Point Slide ประจำบทเรียน   
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทําโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนําแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทําเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจําหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการ สอนและรายละเอียดวิชา เพื่่อ ให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับ อาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มา จากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ