การเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

Mobile Application Programming

1. เข้าใจแนวคิดการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2. สามารถนำหลักการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปทำงานจริงได้
สามารถประยุกต์ใช้หลักการการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรียนรู้สถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์ คุณลักษณะและข้อจำกัดของอุปกรณ์เคลื่อนที่ เครื่องมือและภาษาที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ หลักการของโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ส่วนติดต่อระบบสำหรับโปรแกรมประยุกต์ การใช้หน่วยความจำและส่วนเก็บบันทึกข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ การสื่อสารกับระบบภายนอก การเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์ การจำลองการทำงานเพื่อทดสอบและแก้ไขบนระบบคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงของระบบ การฝึกปฏิบัติสร้างโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย  ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น สำนึกในหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งเคารพในสิทธิ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
1. อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในการสอน 2. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย 3. เน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและการแต่งกายให้เป็นตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 4. การเป็นแบบอย่างที่ดีของอาจารย์
1. ประเมินการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย การเข้าร่วมกิจกรรม 2. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 3. ประเมินจากพฤติกรรมการเรียนและการสอบ
 
1.   เข้าใจความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2.   ประยุกต์ใช้ทฤษฏีการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 3.   แสวงหาความรู้แหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องการเขียนโปรแกรมอุปกรณ์เคลื่อนที่
1. เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning 2. จัดให้มีการเรียนรู้จากฝึกหัดท้ายบท
1.  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.  ประเมินจากงานที่ส่ง
1.   สามารถคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 
2.   สามารถนำความรู้ ไปเชื่อมโยงกับการทำงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.  จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ฝึกทักษะการคิด เกี่ยวกับการออกแบบหน้าติดต่อบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2.  จัดทำแบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
1. การใช้ข้อสอบหรือแบบฝึกหัดที่ให้นักศึกษาคิดแก้ปัญหา 2. การส่งงานแบบฝึกหัดท้ายบทตามกำหนดเวลา
 
1.   สามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 2.   รับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
1.  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการทำงาน 2.  สอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
1. ประเมินความรับผิดชอบตามงานที่ได้รับมอบหมาย 2. ประเมินตามผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
ก้าวทันเทคโนโลยีปัจจุบันและสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อการสืบค้น ศึกษาด้วยตนเอง นำเสนอ และสื่อสาร
จัดการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกทักษะการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดทำแบบฝึกหัดเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 
ประเมินจากงานที่ส่ง ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบข้อเขียนประเมินผลความรู้กลางภาคเรียน 9 20%
2 สอบข้อเขียนประเมินผลความรู้ปลายภาคเรียน 17 20%
3 งานที่ได้รับมอบหมาย (แบบฝึกหัด คำถามท้ายบท) 1-8, 10-16 30%
4 จัดทำมินิโปรเจค เพื่อประยุกต์ความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมด สัปดาห์ที่ 15 เป็นต้นไป 20%
5 เช็คชื่อ การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 1-8, 10-16 10%
เอกสารประการสอนวิชาการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ให้นักศึกษาเข้าประเมินผลการเรียนการสอนทางเว็บไซต์
สังเกตการสอน
ประเมินจากผลการประเมินผู้สอนและผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากได้รับผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และสรรหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
 
ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ 3 และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4