เขียนแบบวิศวกรรม

Engineering Drawing

        เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ มีความเข้าใจ พื้นฐานในการเขียนแบบ อ่านแบบ มีทักษะในงานเขียนแบบ สามารถออกแบบและเขียนแบบสั่งงานได้  โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในงานเขียนแบบ สามารถออกแบบเขียนแบบสั่งงาน ตามมาตรฐานของงานเขียนแบบ และมีความรู้ในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบที่มีการใช้งานในอุตสาหกรรม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนตัวอักษร การมองภาพ การเขียนภาพออร์โธกราฟิก และการเขียนภาพ 3 มิติ การกำหนดขนาดและพิกัด ความเผื่อ ภาพตัด ภาพช่วยและแผ่นคลี่การสเก็ตภาพด้วยมือ การเขียนภาพแยกชิ้นและภาพประกอบ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบและออกแบบ
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
อาจารย์ผู้สอนประจำวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม ในชั่วโมงปฏิบัติการ
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ
ขององค์กรและสังคม
1.1.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร
สังคมและสิ่งแวดล้อม
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานการเขียนแบบ สอนให้นักศึกษาตระหนักในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต เป็นผู้มีความรับผิดชอบและตรงเวลาจากการมอบหมายงาน การส่งงาน การเข้าชั้นเรียน การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 พฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถาม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน
และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และ
การสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหา
ของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือ
ที่เหมาะสม
ทดสอบความรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน สอนบรรยายและสาธิตการใช้งานโปรแกรมในการเขียนแบบ ถาม-ตอบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน ทำแบบฝึกหัดในชั่วโมงปฏิบัติ จัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ในการใช้คำสั่งต่างๆ ในการเขียนแบบ และทฤษฏีเขียนแบบ
2.3.2 ประเมินจากการเขียนแบบงานตามใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 มอบหมายงานการอ่านแบบและเขียนแบบจากแบบงาน (drawing) หรือชิ้นงานจริง
ให้นักศึกษาฝึก
3.2.2 มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด การจินตนาการ
3.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ในการใช้คำสั่งต่างๆ ในการเขียนแบบ และทฤษฏีเขียนแบบ
3.3.2 ประเมินจากการเขียนแบบงานตามใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ
ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อ
สังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคล
และงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัว
ได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น
เพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.2.2 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สังเกตพฤติกรรมการทำงาน การแสดงความคิดเห็นความรับผิดชอบในการทำงาน
การดูแลรักษอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และความตรงต่อเวลาในการส่งงาน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้
สัญญลักษณ์
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
5.2.2 ให้นักศึกษาฝึกอ่านพิกัดจากแบบงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข
5.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ในการใช้คำสั่ง
ต่างๆ ในการเขียนแบบ และทฤษฏีเขียนแบบ
5.3.2 ประเมินจากการเขียนแบบงานตามใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา สำหรับ เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2.1 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
6.3.2 ประเมินจากการเขียนแบบงานตามใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การวัดความรู้ทฤษฏีเขียนแบบและการเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 16, 9, 17 10% 25% 25%
2 การฝึกปฏิบัติตามใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย การฝึกปฏิบัติการ การศึกษาค้นคว้า ตลอดภาคการศึกษา 15 สัปดาห์ ไม่รวมสัปดาห์สอบ 30%
3 การมีส่วนร่วมในการเรียน การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน (*การเข้าเรียนต่ำกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมดจะหมดสิทธิ์สอบปลายภาค) ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาเขียนแบบวิศวกรรม (Engineering Drawing)
Power Point Presentation ทฤษฏีแบบงานทางวิศวกรรม
แบบจำลองชิ้นงานภาพฉาย
วีดีโอสอนการใช้งาน โปรแกรม AutoCAD 2014  https://www.youtube.com  ช่อง ผศ.ธงชัย เบ็ญจลักษณ์
3.1 เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
http:// www.cadthai.com
http:// www.Caddplus.met
3.2 มานพ ตันตระบัณฑิตย์. เขียนแบบวิศวกรรม (ระบบ ISO และเมตริก) . พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย- ญี่ปุ่น), 2541.
3.3 สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การเชียนแบบทาง
เครื่องกล เล่ม 3 ภาพสปริง. มอก.210 เล่ม 1-2525. กระทรวงอุตสาหกรรม
พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : 2541.
3.4 A.W.Boundy. ENGINEERING DRAWING. NewYork : McGraw-Hill Book
Company Sydney. 1993.
3.5 HIRAM E.GRANT. ENGINEERING DRAWING. NewYork : McGraw-Hill Book Inc.
1962.
3.6 THOMAS E. FRENCH ,CHARLES J.VIERCK and ROBERT J. FOSTER.
ENGINEERING DRAWING AND GRAPHIC TECHNOLOGY. NewYork :
McGraw-Hill International Editions General Engineering Series. 1993.
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3 นำผลจากข้อ 1 และ 2 มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน
ในภาคการศึกษาต่อไป
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ