ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

English for Communication

              1. รู้ศัพท์ สำนวน  และโครงสร้างภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
              2. สามารถประยุกต์ใช้ภาษาที่ได้เรียนรู้เพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างมีวิจารณญาณ
                    ในโลกยุคปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
              3. มีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษในบริบทจ่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
              4. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสืบค้นและนำเสนอข้อมูลเพื่อพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษ
                   ในการสื่อสารรูปแบบต่างๆ
               5. เห็นคุณค่าของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างทางภาษา
                   และวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข
เพื่อให้เนื้อหามีความทันสมัย เหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกทักษะทาง เพื่อใช้ในการสื่อสารภาษาที่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในโลกยุคปัจจุบัน เข้าใจภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการสืบค้น
เพื่อนำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีวิจารณญาณ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง (เฉพาะรายที่ ต้องการ)
1.1   คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา                         
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
วิธีการสอน

อธิบายรายวิชา รูปแบบการเรียนการสอน และการประเมินผล และให้นักศึกษาอภิปรายเสนอแนะประเด็น บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
วิธีการสอน

อธิบายรายวิชา รูปแบบการเรียนการสอน และการประเมินผล และให้นักศึกษาอภิปรายเสนอแนะประเด็น บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง   ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
ความรู้ที่ต้องได้รับ
  2.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
  2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
  2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง  กิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   การทำงานกลุ่ม การนำเสนอผลการทำงาน และแสดงบทบาทสมมติ  การฝึกฝน ค้นคว้า
ทดสอบย่อยเป็นรายหน่วย การนำเสนอในชั้นเรียน งานมอบหมาย สอบกลางภาคและปลายภาค
 
ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
    3.1  มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทั้งทางด้านวิชาการ  และวิชาชีพ
    3.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
วิธีการสอน อธิบายรายวิชา รูปแบบการเรียน และการประเมินผล และให้นักศึกษาอภิปรายเสนอแนะประเด็น บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เช่น แสดงบทบาทสมมุติ มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
วิธีการประเมินผล

ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน ของนักศึกษา เช่น


ผลงานที่มอบหมาย การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ 
4.1 สามารถสื่อสารและปฏิบัติงานตามแบบแผนได้อย่างถูกต้อง
4.2 สามารถปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
4.3 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหรือซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม
วิธีสอน กำหนดกิจกรรมกลุ่ม กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน   ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากเว็บไซต์ ต่างเพื่อนำมารวบรวมนำเสนอโดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
วิธีการประเมินผล สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของผู้เรียน พฤติกรรมการเรียน  การตรงต่อเวลาและการส่งงาน
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 / 2.2 / 2.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 8 สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 17 สอบกลางภาค 25 % สอบปลายภาค 25 %
2 2.1 / 2.2 / 2.3 สอบย่อยรายบทเรียน ตลอดภาคการศึกษา สอบย่อยรายบทเรียน 20 %
3 1.1 / 1.2 /1.3 /1.4 การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน ตลอดภาคการศึกษา การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน 10%
4 3.1 / 3.2 4.1 / 4.2 /4.3 งานที่ได้รับมอบหมายและการนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา งานที่ได้รับมอบหมายและการนำเสนอ 20 %
เอกสารและตำราหลัก
            หนังสือ  Stretch  2 B   Unit 7 – Unit 12
ไม่มี
เว็บไซต์ต่างๆ  สำหรับค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
   ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  และผู้เรียนกับผู้เรียน
2) ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
3) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.  กลยุทธ์การประเมินการสอน
    การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
    -  อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษา  ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
    -  สังเกตจาการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
    -  ประเมินจากผลการนำเสนอ
   -  ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
การปรับปรุงการสอน
   -  ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
  - กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
  - สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
  - การวิจัยในชั้นเรียน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
          ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่าพัฒนาก้าวหน้าหรือมีการพัฒนาที่ผิดปกติแก้โดยการขอพบนักศึกษา แจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
    สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวน
     เนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขา/ คณะ