กระบวนการคิดและการแก้ปัญหา

Problem Solving and Thinking Process

1.1 เข้าใจแนวคิด ทฤษฎี เทคนิคและกระบวนการพัฒนาการฝึกคิดแบบต่างๆ
1.2 วิเคราะห์ให้เหตุผลในการนำกระบวนการคิดสำหรับการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
1.3 พัฒนาตนในทางบวกผ่านการสร้างแรงบันดาลใจ
1.3 มีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการแก้ปัญหา
1.4 ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการแก้ปัญหา
เพื่อปรับกระบวนการสอนรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและพัฒนาให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เทคนิคและกระบวนการพัฒนาการฝึกคิดแบบต่างๆ ทักษะการคิดเพื่อการแก้ปัญหา หลักการใช้เหตุผล การสร้างแรงบันดาลใจ กระบวนการคิดและแก้ปัญหาโดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นกรณีศึกษา
Study concepts, theories, techniques and processes for developing different types of critical thinking, reasoning principles, and inspiration initiation. Practice problem-solving skills by applying local wisdom, Thai wisdom, modern innovation and technology as a case study.
6 ชั่วโมง/สัปดาห์ ตามการนัดหมายล่วงหน้ากับอาจารย์ผู้สอนแต่ละคน
1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2 )มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1) สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมระหว่างการเรียนการสอน
2) ปลูกฝังให้มีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานให้ตรงเวลา
3) ใช้กิจกรรมในการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
1) การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
2) การส่งรายงานตรงเวลา
3) ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3) สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) กรณีศึกษา
2) การนำเสนอผลงาน
3) ผลงานนิทรรศการ
1) การสอบย่อย
2) การนำเสนอผลงาน
3) รายงาน
4) ผลงานนิทรรศการ
1) มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1) การนำเสนอผลงาน
2) ผลงานนิทรรศการ
1) การนำเสนอผลงาน
2) การจัดทำรายงาน
3) ผลงานนิทรรศการ
1)  มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4)  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
พิจารณาจากการประสานงานกับผู้อื่นหรือการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) กรณีศึกษา
2) การนำเสนอผลงาน
3) ผลงานนิทรรศการ
พฤติกรรมการแสดงออกในระหว่างดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) การนำเสนอผลงาน
2) รายงาน
3) ผลงานนิทรรศการ
1) สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
3) สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดำเนินการสอนที่นักศึกษาต้อง ติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูลและนำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับ
1) กรณีศึกษา
2) การนำเสนอผลงาน
3) ผลงานนิทรรศการ
ประเมินจากผลงานของนักศึกษาในระหว่างดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้
1) การนำเสนอผลงาน
2) รายงาน
3) ผลงานนิทรรศการ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 GEBIN701 กระบวนการคิดและการแก้ปัญหา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3, 1.4, 4.1, 4.2, 4.4, 5.1, 5.3 การสังเกตการแสดงออก การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-8, 10-17 20%
2 1.1, 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 3.2, 4.1, 4.2, 4.4, 5.1, 5.3 การนำเสนอภายในชั้นเรียน การสังเกตจากการอภิปราย 7-8, 10-14 30%
3 2.2, 3.2 การทดสอบ 9 20%
4 1.1, 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 3.2, 4.1, 4.2, 4.4, 5.1, 5.3 การนำเสนองาน/การรายงาน 14-16 20%
5 1.1, 1.3, 1.4, 2.2, 2.3, 3.2, 4.1, 4.2, 4.4, 5.1, 5.3 การแสดงผลงาน 17 10%
1) เอกสารประกอบการเรียนการสอน
2) สไลด์ประกอบการสอนประจำหน่วยเรียน
1) ชนาธิป พรกุล. 2557. การสอนกระบวนการคิด : ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2) ทิพย์วัลย์ สีจันทร์ และคณะ. 2548. การคิดและการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
3) ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. 2558. ศาสตร์แห่งการคิด : รวมบทความเรื่องการคิดและการสอนคิด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
4) วรรณทิพา รอดแรงค้า. 2542. การพัฒนาการคิดของนักเรียนด้วยกิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์.
5) สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. 2545. 21 วิธีจัดการเรียนรู้ :เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
6) Nathan Furr and Jeff Dyer. 2559. กระบวนการคิดและสร้างนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : แอร์โรว์ มัลติมีเดีย.
7) Roger Martin. 2553. คิดแบบบูรณาการ : เพิ่มพลังกระบวนการคิดตามแบบวิถีของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
1) เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.  การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : บริษัท ซัคเซสมีเดียจำกัด. 2553.
2) เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.  การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : บริษัท ซัคเซสมีเดียจำกัด. 2553.
3) วิทยากร  เชียงกูล.  จิตวิทยาความฉลาดและความคิดสร้างสรรค์.  กรุงเทพฯ : สายธาร. 2554.
4) บุญเลี้ยง ทุมทอง.  แนวทางการพัฒนาการสอนกระบวนการคิด.  มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.  2553.
5) ฆนัท  ธาตุทอง.  สอนคิด: การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด.  นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.  2554.
6) ณัฐยา  สินตระกูลการผล.  การสร้างนวัตกรรมให้เป็น Core Competency.  กรุงเทพฯ : บริษัท เอ็กเปอร์เน็ท จำกัด. 2553.
7) สุวิทย์  มูลคำ.  ครบเครื่องเรื่องการคิด.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์. 2545.
8) สุวิทย์  มูลคำ.  กลยุทธการสอนคิดวิเคราะห์.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์. 2550.
9) สุวิทย์  มูลคำ.  กลยุทธการสอนคิดสังเคราะห์.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์. 2550.
10) อารี  พันธมณี.  ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์.  กรุงเทพฯ : ใยไหม. 2547.
11) Bryee, Hudgins B.  Learning and Thinking. Illionis: F.B. Peacock Publishers.  1997.
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสะท้อนการคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังนี้
- การแลกเปลี่ยนสังเกตการณ์การสอน
- ระดับผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้  
การปรับปรุงการสอน  กระทำทุกปีการศึกษา  โดยพิจารณาจากผลการประเมินรายวิชาโดยผู้เรียนและผลประเมินการสอนและปัจจัยอื่นๆ
รายวิชามีการปรับปรุงการสอน โดยพิจารณาจากปัจจัยดังนี้
- ผลประเมินรายวิชาจากผู้เรียน
- ผลประเมินการสอนจากการสุ่มสอบถามในห้องเรียน
- ประเด็นปัจจุบันหรือหัวข้อที่คัดสรรตามความสนใจ
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา  อาศัยทั้งปัจจัยภายในและภายนอกกระบวนการเรียนการสอน  ทวนสอบทั้งกระบวนการ  ผลลัพธ์  และผลสัมฤทธิ์  ดำเนินการดังนี้
- การทวนสอบจากการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียนได้แก่ การเข้าเรียนและการสังเกตพฤติกรรมโดยผู้สอน
- การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ที่ได้เรียนผ่านไปแล้ว โดยผู้สอนที่รับผิดชอบรายวิชา
- การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยนักศึกษา
- การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยผู้สอนร่วม
- การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร
การทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา  ดำเนินการทุกปีการศึกษา  โดยประมวลจากกระบวนการและผลลัพธ์  ดังนี้
- การทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาโดยผู้สอนดำเนินการทุกปีการศึกษา โดยเฉพาะการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
- การทบทวน และวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และการประกันคุณภาพของหลักสูตรฯ คณะฯ และมหาวิทยาลัย