ศิลปะแนวทดลอง

Experimental Art

1.1 สามารถปฏิบัติการค้นคว้าทดลองทางทัศนศิลป์ ด้วยการใช้วัสดุ และวิธีการต่างๆ
1.2 สามารถนำแนวทางการผสมผสานทางทัศนศิลป์มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทดลอง
1.3 สามารถกำหนดแนวคิด การแก้ปัญหาทางกระบวนการสร้างสรรค์
ในการศึกษารายวิชาศิลปะแนวทดลองนี้ ทางผู้จัดทำได้เพิ่มเติมและปรับปรุงแผนการสอนและประเมินผลในรายวิชา สำหรับแนวทางการศึกษา การสร้างสรรค์ การทดลองและผสมผสานในเชิงทัศนศิลป์ให้มีขอบเขตกว้างขึ้นได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปะไทย และสื่อศิลปะ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการเรียนการสอนในวิชาศิลปะแนวทดลองในหลักสูตรทัศนศิลป์ในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความหลากหลายในกระบวนการสร้างสรรค์และสร้างคุณค่าให้แก่ศิลปะร่วมสมัยที่เปิดกว้างและสอดคล้องกับงานสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21
ในการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1/2563 นี้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยยังอยู่ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ จึงมีการปรับการเรียนการสอนในรายวิชาให้เป็นระบบออนไลน์ มีการปรับเปลี่ยนให้มีการนำเสนอผลงานและการส่งงานในลักษณะออนไลน์ โดยผ่านระบบ RMUTL Education  และ Microsoft Teams
 
 
ในการศึกษารายวิชาศิลปะแนวทดลองนี้ ทางผู้จัดทำได้เพิ่มเติมและปรับปรุงแผนการสอนและประเมินผลในรายวิชา สำหรับแนวทางการศึกษา การสร้างสรรค์ การทดลองและผสมผสานในเชิงทัศนศิลป์ให้มีขอบเขตกว้างขึ้นได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปะไทย และสื่อศิลปะ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการเรียนการสอนในวิชาศิลปะแนวทดลองในหลักสูตรทัศนศิลป์ในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความหลากหลายในกระบวนการสร้างสรรค์และสร้างคุณค่าให้แก่ศิลปะร่วมสมัยที่เปิดกว้างและสอดคล้องกับงานสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21
ในการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1/2563 นี้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยยังอยู่ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ จึงมีการปรับการเรียนการสอนในรายวิชาให้เป็นระบบออนไลน์ มีการปรับเปลี่ยนให้มีการนำเสนอผลงานและการส่งงานในลักษณะออนไลน์ โดยผ่านระบบ RMUTL Education  และ Microsoft Teams
ปฏิบัติการค้นคว้าทดลองทางทัศนศิลป์ การใช้วัสดุ  และวิธีการต่างๆ  มาสร้างสรรค์ศิลปะ การผสมผสานวิธีการทางจิตรกรรม ประติมากรรม  หรือภาพพิมพ์ การเน้นความสอดคล้องกันทางรูปแบบ เนื้อหา และเทคนิคที่แสดงออก  มีการกำหนดแนวความคิดการแก้ปัญหาทางกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน  และเป็นผลงานที่มีคุณค่าทางศิลปะ
อาจารย์ผู้สอนจะให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน รายบุคคลตามความเหมาะสมโดยมีการนัดหมายล่วงหน้าในการให้คำปรึกษา
1. ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2. มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
3. มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งจรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบ นำไปสู่การมีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ เช่น สามารถนำองค์ความรู้ ความสามารถ ในรายวิชาไปช่วยกิจกรรมงานของสถาบันและภายนอกมหาวิทยาลัย
การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในรายวิชา กิจกรรมของสถาบัน
1. รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2. มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
3. มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
4. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
ใช้การเรียนการสอน โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาศิลปะทดลอง ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชาในแต่ละหน่วย
ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
1. สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
3. สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
4. มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนอธิบายถ่ายทอดองค์ความรู้หลักทฤษฏีให้สอดคล้องกับหลักการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเข้าใจแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ตามกระบวนการ
 ประเมินจากการนำเสนองาน อภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
1. มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
2. มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นการมอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติของแต่ละหน่วยองค์ความรู้ โดยใช้หลักทฤษฏีมาปรับใช้กับการปฏิบัติผลงานตามระยะเวลาที่ผู้สอนกำหนด
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการฝึกปฏิบัติงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม ความรับผิดชอบต่องานของตนเองและกลุ่ม การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
1. สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
2. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
3. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลโดยอ้างอิงแหล่งข้อมูล ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการแนะนำที่เหมาะสมกับนักศึกษา 
ประเมินจากการสืบค้นข้อมูล โดยการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการค้นหาข้อมูล ประเมินจากการอธิบายและการนำเสนอ
1. มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
2.  มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง              
3. มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)            
ใช้วิธีการสอนฝึกปฏิบัติ ด้วยวิธีการคัดลอกตามแบบ ทำตามใบงาน และการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามรูปแบบของตนเอง
ประเมินจากผลการปฏิบัติงานและสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 2. มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 3. มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ 1. รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 2. มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 3. มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 4. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา 4. มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างสรรค์ 1. สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ 2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3. สามารถบูรณาการความรู้กับสาสตร์อื่นเพื่อสร้างผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ 1. มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 2. มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 1. สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้ชีวิตการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม 1. มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 2. มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 3. มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์
1 BFAVA120 ศิลปะแนวทดลอง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทักษะพิสัย การฝึกปฏิบัติ การนำเสนอผลงานครั้งที่ 1, 2, 3 และ 4 4, 6, 8, 14 50 คะแนน
2 ความรู้ ความรู้ 1.2 3.2 3.3 3.4 การนำเสนอการค้นคว้าผลงานศิลปะ การนำเสนอแบบร่างการสร้างสรรค์ผลงานส่วนตน ความคืบหน้าผลงานส่วนตน ครั้งที่1และ ครั้งที่2 2, 11, 12 และ 13 20 คะแนน
3 ทักษะปัญญา ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เอกสารประกอบการสร้างสรรค์ รวบรวมผลงานตลอดการศึกษา การนำเสนอรวบรวมเป็นรูปเล่ม / ลักษณะออนไลน์ ตลอดภาคการศึกษา 20 คะแนน
4 จริยะธรรม จิตพิสัย ความสนใจ การเรียนสม่ำเสมอ การแต่งกายสะอาด การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
หนังสือ สูจิบัตรการแสดงผลงานทางศิลปะ
หนังสือศิลปะ ทั้งในและต่างประเทศ ฯลฯ
-
- วารสาร ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะร่วมสมัย
ประเมินผ่านระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย
- การสังเกตการณ์ และทีมผู้สอน
- ผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
- การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย จากการสุ่มตัวอย่างผลงานของนักศึกษาจากอาจารย์ต่างหลักสูตร
- ตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินและกระบวนการการให้คะแนน
          - ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          - สลับเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากมุมมองทัศนคติ ที่หลากหลาย