นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศ

Information Systems Innovation and New Technologies

เพื่อให้นักศึกษา
1.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศ
2.รู้และเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศได้
4.ออกแบบ สร้าง ประยุกต์ นำไปใช้ ประเมินและปรับปรุง ในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศได้
5.ตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศ
ที่มีต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศ
 
เพื่อให้นักศึกษามี
             1.ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนเบื้องต้นของกระบวนการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศในรูปแบบ วิธีการ และแนวคิดใหม่ ๆ
             2.ความรู้และทักษะในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เชื่อมโยง สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศในปัจจุบันและอนาคต
ศึกษาหัวข้อที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางระบบสารสนเทศ โดยอาจารย์ผู้สอนสามารถที่จะกำหนดหัวข้อที่น่าสนใจและทันสมัย เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษา
The study of the innovation of new technologies in information systems assigned by the instructor.
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
Accountability  ความรับผิดชอบ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2.ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3.กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
4.สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
1.การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2.การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
3.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
Ability ความรู้ความสามารถ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจ)

บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน

Accountability ความรับผิดชอบ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
1.จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อน               ร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
3.การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1.ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
2.ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
3.ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
Brilliance ความเฉลียวฉลาด  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล
1.การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
2.จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด   การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
1.ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา
2.ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
Learning  การเรียนรู้  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง                   เพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี
1.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
2.มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1.พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
2.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
Ability ความรู้ความสามารถ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
1.สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
3.มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
2.พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา              การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
3.ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
1.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2.จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผล                          การดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
1.ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2.การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 9 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBAIS102 นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2,1.3,2.1,2.2,2.6,2.7,2.8 การเข้าชั้นเรียน พฤติกรรมในชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 2.1,2.2,2.6,2.7,2.8,3.4,4.6,5.2,6.1 สืบค้นหัวข้อ การนำเสนอ การหาทางแก้ปัญหาในกรณีศึกษาที่เหมาะสม การจัดทำรายงาน การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 3.4,4.6,6.1 การทำกิจกรรมกลุ่ม การศึกษาดูงาน ณ สถานประกอบการ ตลอดภาคการศึกษา 40%
-
วศิน   เพิ่มทรัพย์ และ วิโรจน์   ชัยมูล. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ.    
           กรุงเทพฯ :  โปรวิชั่น, 2548.
สัลยุทธ์ สว่างวรรณ. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่นอินโดไชน่า, 2545.
โอภาส   เอี่ยมสิริวงศ์. วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2547.
วิโรจน์ ชัยมูลและสุพรรษา  ยวงทอง.คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ:
              โปรวิชั่น, 2552.
กิดานันท์   มลิทอง. เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ:  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
วศิน   เพิ่มทรัพย์ และ วิโรจน์   ชัยมูล. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ.    
           กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2548.
สัลยุทธ์ สว่างวรรณ. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่นอินโดไชน่า2545.
ประสิทธิ์  ทีฆพุฒิ และ ครรชิต  มาลัยวงศ์. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ.  สำนักพิมพ์ดอกหญ้า. 2549.
ณัฐกร  สงคราม. 2553. การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ  แซ่เอี๊ยบ. 2554. หลักการทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:
             มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). เอกสารสาระการเรียนรู้ ชุดวิชาการ
           จัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ.  กรุงเทพ: เอส แอนด์ จี กราฟฟิค.
ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549). ระบบสารสนเทศเพื่อ
        การจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
กิดานันท์  มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพ : ห้างหุ้นส่วน จำกัด    
                อรุณการพิมพ์.
วีระ สุภากิจ. (2539). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติในโรงเรียน. กรุงเทพฯ:    
               สุวีริยาสาส์น.
ศุภชัย  สุขะนินทร์. (2545). เปิดโลก e-Learning: การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
               จำกัด (มหาชน).
Turban, E., Mclean, E, & Wetherbe, J. (2006).  Information technology for management: Transforming  
               business in the digital economy (5th ed.).  NY: John Wiley & Sons, Inc.
Kenneth C.Laudon , Jane P.Laudon.  Management Information System.New  Jersey :  Prentice-Hall, 2002.
Larry Long. Management Information systems. New  Jersey :  Prentice-Hall ,1989.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านระบบสารสนเทศ
http://www.onec.go.th                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.)
http://www.moe.go.th                 กระทรวงศึกษาธิการ
http://www.school.net.th             โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
http://www.uni.net.th                  สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
http://www.nectec.or.th               ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
http://www.tiac.or.th                  ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี
http://www.drkanchit.com           เว็บไซต์การเรียนรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
http://www.thaicai.com               เว็บไซต์การเรียนรู้ออนไลน์
http://www.thejournal.com          เว็บไซต์วารสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
http://www.thaiwbi.com              เว็บไซต์การเรียนการสอนออนไลน์
http://www.ku.ac.th/magazine_online       วารสารออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://www.tj.co.th                     วารสาร Telecom Journal
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ