โครงงานออกแบบอุตสาหกรรม

Industrial Design Project

    1.1 มีทักษะเกี่ยวกับ โครงงานรายบุคคล
    1.2 เข้าใจกระบวนการที่วางแผนโครงานและ เขียนรายงานเป็นรูปเล่ม
    1.3 มีทักษะการนำเสนอผลงาน
    1.4 เข้าใจการดำเนินโครงงาน และจัดแสดงผลงาน
    1.5 มีเจตคติที่ดีในการจัดทำโครงงาน 
    เพื่อให้นักศึกษาบูรณาการทุกรายวิชาที่ได้เรียนมา จัดทำโครงงานรายบุคคลตามกระบวนการที่วางแผน เขียนรายงานเป็นรูปเล่ม นำเสนอผลการดำเนินโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม  และจัดแสดงผลงานเป็นที่ประจักรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต 
    ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ โครงงานรายบุคคลตามกระบวนการที่วางแผน เขียนรายงานเป็นรูปเล่ม นำเสนอผลการดำเนินโครงงาน และจัดแสดงผลงาน
   1. อาจารย์ที่ปรึกษา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
   2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
    1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม
    1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
    1.1.3 มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา  และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
    1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
    กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม  ต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่นการยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
    1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
    1.3.1 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
    1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
    1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
    นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบศิลปะประยุกต์ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
    2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
    2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
    2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
    ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฎิบัติได้จริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ใช้ในทางการออกแบบศิลปะประยุกต์  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
    ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
    2.3.1 การสอบความก้าวหน้าของโครงงานฯ
    2.3.2 การสอบป้องกัน
    2.3.3 ประเมินจากภาคเอกสารโครงงานฯรายบุคคล
    2.3.4 ประเมินจากโครงงานฯที่นำเสนอ
    2.3.5 ประเมินจากผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และการจัดนิทรรศการ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิด  การเขียนอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการศึกษาป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี 
3.2.1 บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การสังเกต ถาม-ตอบ แบบฝึกตามบทเรียน ฝึกการวิเคราะห์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาใช้วิธีการแก้ปัญหาและการทำโครงงาน โดยและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาใช้
3.2.3 การเคารพกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ขององค์กร และสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบตามบทเรียน
3.3.2 จากการปฏิบัติงานตามบทเรียนภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.1.4 พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรมต่อตนเองและสังคม
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
ถาม-ตอบ สังเกต การทดสอบ การฝึกปฏิบัติตามบทเรียนภายในห้องเรียนและภายในห้องเรียน
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
4.3.4 ประเมินจากการฝึกปฏิบัติวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหากระบวนการกลุ่ม
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
5.1.6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
5.3.3 ประเมินจากการใช้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและทักษะการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6.1.1. สามารถออกแบบและใช้เครื่องมือปฏิบัติงานสองมิติ
6.1.2. สามารถสร้างหรือผลิตหุ่นจำลอง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
6.1.3. สามารถออกแบบโดยใช้ทักษะด้านแนวคิดทางการ ออกแบบ ด้านความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย
มอบงานทุกสัปดาห์ให้นักศึกษาปฏิบัติงานโครงการออกแบบอุตสาหกรรม ทั้งทางด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ และออกแบบเครื่องเรือน
6.3.1 ผลงานของนักศึกษาในรายสัปดาห์
6.3.2 สอบความก้าวหน้าโครงงาน
6.3.3 วัดผลจากการประเมิน การนำเสนองานที่มอบหมาย สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมถาม - ตอบ การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 43023458 โครงงานออกแบบอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.2,2.1.1,2.1.2,2.1.3,3.1.1,3.1.2,5.1.1,5.1.2,6.1.1,6.1.2 สอบความก้าวหน้าของโครงงาน 4 15 %
2 1.1.2,2.1.1,2.1.2,2.1.3,3.1.1,3.1.2,5.1.1,5.1.2,6.1.1,6.1.2 สอบป้องกัน 9 45 %
3 1.1.2,2.1.1,2.1.2,2.1.3,3.1.1,3.1.2,5.1.1,5.1.2,6.1.1,6.1.2 ส่งผลงานทั้งหมด 10-13 10 %
4 4.1.1,4.1.2,4.1.3,4.1.4 จัดนิทรรศการ 14-16 20 %
5 1.1.1,1.1.2 จิตพิสัยและประชุมสรุปปิดโครงการฯ ส่งรูปเล่มงานวิจัย 3 เล่ม 10-16 10 %
ดลต์  รัตนทัศนีย์.  ขบวนการออกแบบทางศิลปะอุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ:  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2528
ทวิส  เพ็งสา. รูปร่างและประโยชน์ใช้สอย.กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2528
ธีระชัย  สุขสด. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,2554
นวลน้อย  บุญวงษ์. หลักการออกแบบ.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2539
สาคร  คันธโชติ  การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,2544
กองบริการอุตสาหกรรม. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กระดาษบางประอิน, 2518.
เจ.ดับบริว  เกียไซโน และคณะ. เขียนแบบเทคนิค. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด. 2533.
เจริญ   เจษฎาวัลย์  และคณะ. วิธีเขียนรายงาน. กรุงเทพฯ: บริษัทพอดี จำกัด. 2538.
จิระพล  ฉายัษฐิต. พรีเซนเตชั่นอย่างมั่นใจ. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.  2537.
ชลูด   นิมเสมอ. องค์ประกอบศิลปะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. 2531.
ชวิน   เป้าอารีย์. เขียนแบบ Engineering  Drawing. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. 2513.
บุญเลิศ  บุตรขาว. กายวิภาคฉบับนักศึกษาศิลปะ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. 2531.
พาศนา  ตัณทลักษณ์. หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิทักษ์อักษร. 2526.
มนตรี  ยอดบางเตย. ออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนบุคส์สโตร์. 2538.
วัฒนะ   จูฑะวิภาค. การออกแบบ. กรุงเทพฯ: บริษัทสารมวลชนจำกัด. 2517.
วิบูลณ์   ลี้สุวรรณ. ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปาณยา. 2527.
วิรุณ  ตั้งเจริญ. การออกแบบ. กรุงเทพฯ: วิฌวลอาร์ต. 2527.
ไม่มี
เอกสารคู่มือ
    การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
    1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
    1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
   ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
   2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
   2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
   2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
    หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
    3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
    ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
     4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
    จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
    5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
    5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์