คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล

Data Warehouse and Data Mining

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคลังข้อมูล เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล เครื่องมือที่ใช้สำหรับทำเหมืองข้อมูล รวมถึงสามารถเลือกใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในคลังข้อมูลและเทคนิคเหมืองข้อูล สามารถนำความรู้ ความเข้าใจในคลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล ไปเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนในวิชาอื่น ๆ
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการทำคลังข้อมูล องค์ประกอบและสถาปัตยกรรมของคลังข้อมูล ตัวแบบข้อมูลพหุมิติ การออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูล เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาคลังข้อมูล และการประยุกต์ใช้คลังข้อมูลในองค์การ เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล การสร้างกฎและตัวจำแนก การค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล การจัดกลุ่มข้อมูล การใช้เครื่องมือสำหรับทำเหมืองข้อมูล
วันพุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์อาคาร 3 
1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  
- กำหนดข้อกำหนดของรายวิชาเช่น การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน 
- ยกตัวอย่างประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องในรายวิชา
- ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเเละทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญูหา
3. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบ   ต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด
4. สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
5. รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
6. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
7. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
8. สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  
- บรรยายเนื้อหาบทเรียนประกอบสื่อการสอน
- เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามในประเด็นที่สงสัย
- ยกตัวอย่างพร้อมให้นักศึกษาร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นภายในชั้นเรียน
- ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ
-ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
-ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
-ประเมินจากงานที่มอบหมาย
1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม  
- ยกตัวอย่างพร้อมให้นักศึกษาร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นภายในชั้นเรียน
- ฝึกปฏิบัติตามโจทย์ที่มอบหมาย
- มอบหมายงานและนำเสนอหน้าชั้น
-ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
-ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
- ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- มอบหมายงานและนำเสนองานในชั้นเรียน
- ประเมินจากพฤติกรรมขณะนำเสนอผลงาน
1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
2. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่ออย่างเหมาะสม
- ฝึกปฏิบัติตามโจทย์ที่มอบหมาย
- มอบหมายงานและนำเสนอหน้าชั้น  
- ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอ ความสามารถในการอธิบาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCT209 คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 , 4.4 การเข้าชั้นเรียน การส่งตรงงานเวลาที่กำหนด ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1, 2.2, 2.4, 2.8, 3.1, 3.3, 3.4 การสอบกลางภาคละสอบปลายภาค 8 และ 17 50%
3 3.1, 3.3, 3.4 ผลงานที่ได้รับมอบหมาย ทุกสัปดาห์ 10%
4 3.1, 3.3, 3.4, 4.1, 4.4, 5.1, 5.2, 5.3 รายงานและการนำเสนองาน 16 20%
5 2.1, 2.2, 2.4, 3.1 การสอบย่อย 5 และ 12 10%
Han, J., Pei, J., & Kamber, M. (2011). Data mining: Concepts and techniques (3rd ed.). Elsevier Science.
รัฐสิทธิ์ สุขะหุต. (2560). คลังข้อมูลเพื่อการจัดการข้อมูลสมัยใหม่. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคดาต้า ไมน์นิง เบื้องต้น. ปทุมธานี: เอเชียดิจิตอลการพิมพ์
 
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
- แบบประเมินความพึงพอใจการเรียนการสอน โดยฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัย  
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา
- การพิจารณาผลงานที่มอบหมาย
- รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยพิจารณาจากประเด็นในการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา
- การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน  
- มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง
- ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนก่อนรายงานผลการเรียน
พิจารณาผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา และวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น เช่น การปรับปรุงเนื้อหา ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอนให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป